พบพนักงานดิลิเวอรี ชายอายุ 34 ปี ติดเชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันหายแล้ว รอผลวิเคราะห์เพิ่มเติม วอนอย่าตระหนก แต่อย่าประมาทคิดว่าไม่รุนแรง

พบพนักงานดิลิเวอรี ชายอายุ 34 ปี ติดเชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม

พบพนักงานดิลิเวอรี ชายอายุ 34 ปี ติดเชื้อโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันหายแล้ว รอผลวิเคราะห์เพิ่มเติม วอนอย่าตระหนก แต่อย่าประมาทคิดว่าไม่รุนแรง





ad1

วันนี้ (4 เม.ย.2565) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสายพันธุ์ โควิด-19 โดยระบุว่า ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับ องค์การอนามัยโลก (WHO) ตรวจพบโอมิคอรนลูกผสมที่ชื่อว่า XE โดยศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้เปิดเผยว่า พบผู้ติดเชื้อ XE ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง โอมิครอน BA.1 + BA.2 ในประเทศไทย

นพ.ศุภกิจ ระบุว่า การผสมต่างสายพันธุ์ของ โควิ-19 จะใช้ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย X ซึ่งบางสายพันธุ์เคยตรวจพบมานานแล้ว เช่น XA ซึ่งผสมระหว่าง B.1.1.7 หรืออัลฟา ผสมกับ B.1.177 พบตั้งแต่เดือน ธ.ค.2563 หรือ XB ซึ่งเกิดจากการผสมระหว่าง B.1.634 + B.1.631 ซึ่งพบตั้งแต่เดือน ก.ค.2563 และ XC ซึ่งผสมระหว่าง AY.29+B.1.1.7 พบเมื่อปี เดือน ส.ค.2564

“การผสมพันธุ์กัน หากไม่มีอิทธิฤทธิ์เรื่องแพร่พันธุ์ การหลบวัคซีน นับว่าไม่ได้มีความหมายอะไรมาก เป็นธรรมชาติของไวรัสที่จะกลายพันธุ์ได้ ซึ่งลูกผสมเหล่านี้อาจหายไปจากโลกแล้ว เพราะไม่ได้มีการรายงานเพิ่มเติม”


ทั้งนี้ โอมิครอนลูกผสมอย่างโอมิครอน BA.1 + BA.2 แม้ว่าจะเป็นการผสมกันระหว่างสายพันธุ์เดียวกัน แต่อาจจะมีหลายชื่อ เช่น XG หรือ XH ที่เป็นลูกผสมระหว่าง BA.1 + BA.2 เช่นกันแต่ชื่อต่างกัน เนื่องจากรหัสพันธุกรรมต่างกัน

นพ.ศุภกิจ เปิดเผยอีกว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนลูกผสม 1 คน ซึ่งจากการวิเคราะห์และตรวจสอบพบว่า ใกล้เคียงกับรหัสพันธุกรรมของสายพันธุ์ XJ และมั่นใจว่าไม่ใช่สายพันธุ์ XE แน่นอน สำหรับสายพันธุ์ XJ เป็นเชื้อที่มีรายงานพบครั้งแรกในประเทศฟินแลนด์ ทั้งนี้ยังต้องรอผลการวิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมจึงจะสรุปได้ว่าเป็นสายพันธุ์ XJ หรือไม่


คนไข้ที่คาดว่าติดเชื้อสายพันธุ์ XJ เป็นชายไทย อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานเดลิเวอรี โดยมีความเสี่ยงเมื่อไปส่งสินค้าอาจพบเจอผู้คนจำนวนมาก และมีโอกาสจะติดเชื้อแบบกลายพันธุ์หรือผสมพันธุ์ได้ง่าย จึงทำให้ติดเชื้ออย่างน้อย 2 สายพันธุ์ในตัวก่อนจะมีลูกผสมออกมา

“คนไข้รายนี้ ได้รับการตรวจเชื้อตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. โดยโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน กทม.ส่งตัวอย่างมาให้ตรวจสายพันธุ์ พบประวัติฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม”

อย่างไรก็ตาม เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวอย่างข้อมูลที่องค์การอนามัยโลกเปิดเผยออกมา เนื่องจากประเทศอังกฤษได้วิเคราะห์ว่าเมื่อเทียบกับ BA.2 มีตัวอย่างของสายพันธุ์ XE เพิ่มขึ้นเร็วกว่าเดิม 10% ทำให้เป็นข้อมูลที่องค์การอนามัยโลก ต้องจับตาดูว่าจะมีคุณสมบัติแพร่เร็วขึ้น รวมถึงความรุนแรงและการหลบภูมิหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังมีข้อมูลจำกัด

สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.-1 เม.ย.2565 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตรวจวิเคราะห์สายพันธุ์ COVID-19 จำนวน 1,933 คน ไม่พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อัลฟาและบีตา แต่ตรวจพบเชื้อเดลตา 3 คน คิดเป็น 0.16% และพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน 1,930 คน คิดเป็น 99.84%

“ทั้งผู้ที่ติดเชื้อในประเทศ และเดินทางมาจากต่างประเทศพบว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอนมากกว่า 99% แล้ว โดยสถานการณ์จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แทบไม่มีสายพันธุ์อื่นหลงเหลือในประเทศไทยแล้ว”

ล่าสุด โอมิครอนที่ระบาดในประเทศไทย แบ่งเป็น โอมิครอน B.1.1.529 จำนวน 15 คน BA.1 จำนวน 150 คน และ BA.2 จำนวน 1,765 คน ซึ่งจะเห็นว่าขณะนี้ผู้ติดเชื้อโอมิครอน BA.2 เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุด คิดเป็น 92.2% แล้ว

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การพบสายพันธุ์ลูกผสม ทางองค์