"อานนท์ แสนน่าน"ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้นแบบฝ่าวิกฤตโควิด

"อานนท์ แสนน่าน"ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้นแบบฝ่าวิกฤตโควิด





ad1

"อานนท์ แสนน่าน"ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นต้นแบบชวนเกษตรกรร่วมฟันฝ่าวิกฤตโควิด19 ชี้ชุมชนต้องอยู่รอดด้วย"ศาสตร์พระราชา"หมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา”

นายอานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ในฐานะประธานหมู่บ้านเทิดไท้องค์ราชันแห่งประเทศไทย กล่าวว่า เกษตรกร เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวกับการเกษตร ในสวนและไร่นาขุดยก รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการประมง เพื่อผลิตเป็นอาหาร เส้นใยธรรมชาติ และเชื้อเพลิงต่าง ๆ เกษตรกรที่มีฐานะมักมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง แต่สำหรับเกษตรกรที่มีฐานะปานกลางและค่อนข้างต่ำถึงยากจนมักเช่าที่ดินทำกินมากกว่า สำหรับในประเทศไทยพบว่าฐานะของเกษตรกรมีรายได้ลดลงและมีหนี้สินเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้แนวโน้มประชากรในต่างจังหวัดรุ่นใหม่ยังละทิ้งอาชีพเกษตรกรและหันไปประกอบอาชีพอื่นอีกมากขึ้นอีกด้วย

แม้อาชีพเกษตรกรจะถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ทำเท่าไหร่ก็ไม่รวยยกเว้นนายทุนแต่จริงๆ แล้วยังมีเกษตรกรอีกหลายรายที่ทำงานพร้อมสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัวได้อย่างน่าทึ่งเพียงแค่พวกเขาปรับปรุงหรือพลิกแพลงวิธีเดิมๆ ที่เคยทำอยู่ให้กลายเป็นเกษตรรูปแบบใหม่"ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"

นายอานนท์ กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า พอเพียง คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ความพอประมาณ คือ การดำรงชีวิตให้เหมาะสม ซึ่งเราควรจะมีความพอประมาณทั้งการหารายได้

และพอประมาณในการใช้จ่าย ความพอประมาณในการหารายได้ คือ ทำงานหารายได้ด้วยช่องทางสุจริต ทำงานให้เต็มความสามารถ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนความพอประมาณในการใช้จ่าย หมายถึง การใช้จ่ายให้เหมาะกับฐานะความเป็นอยู่ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเกินตัว และในขณะเดียวกัน ก็ใช้จ่ายในการดูแลตนเอง และครอบครัวอย่างเหมาะสม ไม่อยู่อย่างลำบาก และฝืดเคืองจนเกินไป

เสนาะ วรรักษ/รายงาน