“ไอติม”มองรัฐจัดทำงบฯ ยังไม่ตรงจุด ตั้งคำถาม 3.185 ล้านล้านพอหรือไม่ยุตศก.ฝืดเคือง

“ไอติม”มองรัฐจัดทำงบฯ ยังไม่ตรงจุด ตั้งคำถาม 3.185 ล้านล้านพอหรือไม่ยุตศก.ฝืดเคือง





Image
ad1

“ไอติม” มองรัฐจัดทำงบฯ ยังไม่ตรงจุด ตั้งคำถามวงเงินงบ 3.185 ล้านล้านบาท นั้นเพียงพอหรือไม่ ในสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง


 
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้จัดการการสื่อสารและการรณรงค์นโยบายพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการจัดกิจกรรม “Hackathon งบ 66” เพื่อชวนประชาชนร่วมออกแบบงบประมาณฉบับก้าวไกล ที่ประชาชนอยากเห็น ว่า เพราะขณะนี้อยู่ในช่วงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566

ซึ่งตนมองว่าเป็นปีที่สำคัญมากสำหรับประชาชน โดยเห็นถึง2 ส่วนหลัก คือ เฉพาะหน้าที่จะทำอย่างไรให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กลับมาฟื้นฟูโดยเร็วที่สุด

โจทย์แรกที่สำคัญคือจะทำอย่างไรให้จัดสรรงบประมาณเพื้อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ดีที่สุด ขณะเดียวกันโจทย์ที่ 2 คือโจทย์แห่งยุคสมัยความท้าทายใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เข้ามา ทั้งสังคมสูงวัยภาวะโลกรวน และความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นจากการเข้ามาของเทคโนโลยี ที่ต้องทำอย่างไรให้จัดสรรงบประมาณที่พร้อมรับมือ

ส่วนการเตรียมการตรวจสอบงบประมาณ ส.ส.และทีมนโยบายของพรรคก้าวไกลมีการศึกษางบประมาณอย่างเข้มข้น จึงต้องการเสริมความเข้มข้นจึงจัดกิจกรรม “Hackathon งบ 66”

เพื่อเชิญชวนประชาชนมีพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น ว่าต้องการเห็นการจัดสรรงบประมาณอย่างไร มาประกอบกับการศึกษาของส.ส.และทีมนโยบาย เพื่อประกอบเป็นเนื้อหาการอภิปรายในสภาฯ

โดยมองว่าในปีนี้ต้องการทำสัญญา แต่อีกมุมต้องการตั้งคำถามถึงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่มีการจัดสรรงบประมาณบางส่วนที่ยังไม่ตรงจุด แต่อีกมุมก็ต้องการตั้งความหวังให้กับประชาชนเช่นเดียวกัน

หากก้าวไกลเป็นรัฐบาล? การจัดสรรงบประมาณจะออกมาในรูปแบบใด ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตประชาชนได้อย่างไร ขณะที่การตั้งคำถามการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลนั้น มี 3 ประเด็นหลัก 1.การตั้งคำถามถึงวงเงินงบ 3.185 ล้านล้านบาท นั้นเพียงพอหรือไม่ในสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง

ซึ่งงบประมาณดังกล่าวต่ำกว่าในปีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19  2.การจัดลำดับความสำคัญจะเห็นได้จากเบี้ยผู้สูงอายุที่มีการปรับขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่เห็นการตั้งงบขึ้นมาฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียนที่ประสบปัญหาการเรียนรู้ถดถอย

สวัสดิการเด็กแรกเกิดของพ่อแม่มือใหม่ การจัดลำดับทำได้ดีเพียงพอหรือไม่ 3.การจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่ถูกต้องและเหมาะสมในการขับเคลื่อนภารกิจ