พัฒนาฝีมือแรงงานน่าน พัฒนาทักษะดิจิทัลกุล่มชาติพันธุ์ มุ่งสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยี

พัฒนาฝีมือแรงงานน่าน พัฒนาทักษะดิจิทัลกุล่มชาติพันธุ์  มุ่งสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยี





ad1

น่าน- พัฒนาฝีมือแรงงานน่าน พัฒนาทักษะดิจิทัลกุล่มชาติพันธุ์  มุ่งสร้างรายได้ผ่านเทคโนโลยีกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัล รุ่นที่ 1  จำนวน 25 คน  ที่โรงเรียน บ้านปางเป๋ย ตำบลสะเนียน อ.เมืองน่าน


นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดการการฝึกอบรม โครงการความร่วมมือการพัฒนาทักษะสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัล สำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม  ผู้มีรายได้น้อย และแรงงานนอกระบบ ในหลักสูตรการสร้างโอกาสทางรายได้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัล รุ่นที่ 1  จำนวน 25 คน  ที่โรงเรียน บ้านปางเป๋ย ตำบลสะเนียน อ.เมือง จังหวัดน่าน  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากตัวอำเภอเมืองน่าน

 และเป็นพื้นที่เป้าหมายที่อยู่ในพิกัด Zone C+ ตามข้อกำหนดพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายของ กสทช. พร้อมกับออกตรวจเยี่ยมการออกหน่วยบริการประชาชน  นำโดยนายสัญชัย ภัทรวรากุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานนาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่และผู้ผ่านการฝึกอบรมสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานน่าน ออกให้บริการซ่อมบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ให้แก่ประชาชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเข้าถึงบริการของภาครัฐในภารกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ เพื่อลดรายจ่ายให้แก่ประชาชน

ทั้งนี้ นายประทีป ทรงลำยอง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน  กล่าวว่า การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่กลุ่มชาติพันธุ์ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัล สำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าผ่านนออนไลน์ เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชน ตามนโยบาย นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

  ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเท่าเทียมทางสังคม เป็นการสร้างโอกาสและการพัฒนาศักยภาพให้แก่ประชาชน กำลังแรงงาน ผู้มีรายได้น้อย คนพิการ เด็ก คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ให้สามารถเข้าถึงและใช้งานบริการโทรคมนาคมพื้นฐาน และมีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินชีวิตประจำวัน และประกอบอาชีพสร้างรายได้แก่ตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน ตามนโยบาย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

สำหรับหมู่บ้านปางเป๋ย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเป้าหมายแบบชี้เป้า คืออยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากจุดที่มีการให้บริการสัญญาณเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิน 15 กิโลเมตร ซึ่งโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกล สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐรวมถึงมีโอกาสได้รับการพัฒนาทักษะความรู้โดยเฉพาะทักษะด้านดิจิตอล จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น และจังหวัดน่านเป็นอีก 1 จังหวัดที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการทั้งสิ้น 19  รุ่น รวม 380 คน จากเป้าหมายทั้งหมดที่ต้องดำเนินการทั่วประเทศภายใน 2 ปีนี้

ระรินธร เพ็ชรเจริญ ผู้สื่อข่าวจังหวัดน่าน