เยาวชนมุสลิมนับหมื่นคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เเต่งกายด้วยชุดมลายูถิ่นเนื่องแน่นในกิจกรรม” Melayu Raya”

เยาวชนมุสลิมนับหมื่นคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เเต่งกายด้วยชุดมลายูถิ่นเนื่องแน่นในกิจกรรม” Melayu Raya”





ad1

เยาวชนมุสลิมนับหมื่นคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เเต่งกายด้วยชุดมลายูถิ่น มารวมตัวที่หาดวาสุกรี ในปีที่สองยังคงเนื่องแน่นในกิจกรรม” Melayu Raya”

บรรยากาศการจัดกิจกรรมรวมพลเยาวชนแต่งชุดมลายูถิ่น เพื่ออนุรักษณ์ประเพณี วัฒนธรรมการแต่งกายของมลายูปาตานีที่เคยมีมาครั้งในอดีต เพื่อคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ในมาตภูมิแห่งนี้ ปีนี้เป็นปีที่สอง หลังจากได้มีการจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วมีเจาวชนเข้าร่วมเป็นจำนวน จนสะเทือนให้กับหน่วยงานความมั่นคง จึงกลายเป็นดราม่าเกิดขึ้น จนผู้จัดกิจกรรมในครั้งนั้นต้องเข้าชี้แจงเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมดังกล่าวให้กับศุนย์สันติวิธีจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี พลตรีธิรา เดหวา เป็นผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธีในขณะนั้นและร่วมรับฟังการชี้แจงด้วยตัวเอง แต่เรื่องดูทีท่าจะไม่ยอมยุติ

ทางผู้จัดกิจกรรมถึงขั้นต้องขึ้นยื่นหนังสือต่อประธานกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎร เพื่อร้องข้อความเป็นธรรม จากนั้นทั้งสองฝ่ายต้องขึ้นไปชี้แจงข้อเท็จจริงให้กับคณะกรรมาธิการทางการทหารรับทราบ จนกระทั่งเรื่องดังกล่าวได้เงียบลงในระดับหนึ่ง จนกระทั่งเรื่องดังกล่าวแดงขึ้นมาอีกครั้ง หลังผู้บัญชาการภูธรจังหวัดปัตตานีถูกเด้นสายฟ้าแล็บนอกฤดูกาลคาดว่ามีการเชื่อมโยงกับที่พนักงานสอบสวนไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาแกนนำที่จัดกิจกรรมรวมพลแต่งชุดมลายูถิ่นที่หาดวาสุกรีในครั้งนั้น เนื่องจากพนักงานสอบสวนไม่พบความเชื่อมโยงกับฐานความผิดใดซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของพนักงานอัยการในขณะนั้น

อย่างไรก็ตามปีนี้เป็นที่สองคณะผู้จัดในนามภาคีเครือข่ายที่นำโดย Civil Society Assembly For Peace-CAP จัดขึ้นปีนี้เป็นครั้งที่สอง หลังเทศกาลอีดิ้ลฟิตตรีสองวันหรือหลังเทศกาลฮารีรายอที่สอง โดยจัดขึ้น ณ จุดเดิมหาดวาสุกรี อ.สายบุรี จ.ปัตตานีภายใต้ชื่องาน”Malayu Raya” โดยมีเยาวชนทุกสารทิศจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเนืองแน่น ไม่สันคลอย อาจเป็นเพราะปีนี้ได้รับแรงบันดาลใจ กำลังใจ จากพลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ที่ประกาศผ่านสื่อว่าให้กับสนับสนุนให้มีการแต่งเครื่องแต่งกายมลายูถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น และพร้อมจะคอยทำหน้าที่อำนวยความสะดวกของการจัดกิจกรรมรวมพลของเยาวชนแต่งชุดมลายูในปีนี้ สร้างความปลื้มใจ ยินดีให้กับคณะผู้จัดและเยาวชนที่เดินทางร่วมงานในครั้งนี้

นอกจากนั้นโดยการจัดงานในปีนี้ มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยบริเวณด้านหน้าทางเข้ามีการติดป้ายประกาศห้ามนำธงที่มีลักษณะสุ่มเสี่ยงที่อาจจะกระทบต่อความมั่นคงเข้าร่วมงาน ยกเว้นธงประจำหมู่บ้าน ชมรม หรือ กลุ่ม เข้าภายในได้ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่หมิ่นเหม่สุ่มเสี่ยงต่อความมั่นคง ห้ามนำอาวุธเข้ามาภายในงานเเละต้องตระหนักถึงความหลากหลายเเละการอยู่ร่วมกัน

ด้านนาย มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ปธ.สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ ผู้จัดงานระบุว่า ก่อนการจัดงานได้พูดคุยกับ กอ.รมน.ทำให้การวางกฎระเบียดชัดเจนมากขึ้น หลังปีที่ผ่านมา กอ.รมน.ตั้งคำถามถึงการรวมตัว ทั้งสองฝ่ายจึงพยายามเจรจาหาทางออก จนได้ข้อตกลงร่วมกัน พร้อมเน้นย้ำเจตจำนงของงานที่ต้องการรักษาอัตลักษณ์การเเต่งกายของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ที่ถูกหลงลืมไปให้คงอยู่ เเละกระตุ้นให้เยาวชนภูมิใจเเละให้กับกลุ่มเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ต่างๆได้มีพื้นที่สาธารณะในการแสดงออกทางวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ การรวมตัวของเยาวชนปีนี้ หากประเมินด้วยสายตามากกว่าปีที่เเล้ว

อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ก่อนการจัดงาน ทางจนท.มีความพยายามขอให้เปลี่ยนสถานที่จัดงาน เเต่ทางคณะผู้จัดยืนยันจะจัดจุดเดิม เเละได้ขออนุญาตถูกต้องจากทางเทศบาลตำบลตะลุบัน เเละทางอำเภอสายบุรีเจ้าของพื้นที่เเล้ว ในปีนี้ได้มีตัวแทนพรรคการเมืองระดับชาติเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้กำลังใจและร่วมสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด

ส่วนบรรยากาศทั่วไปได้มีเยาวชนจากทั่วสารทิศเดินทางพร้อมชุดแต่งกายมลายูพร้อมธงประจำชุมชนพื้นที่เดินทางหมู่คณะเรี่ยวขบวนช่างสวยงามเกินที่บรรยาย