เร่งผลักดันโขลงช้างป่ามากกว่า100 ตัว กลับคืนเขาอ่างฤาไนคืนแปดริ้ว

เร่งผลักดันโขลงช้างป่ามากกว่า100 ตัว กลับคืนเขาอ่างฤาไนคืนแปดริ้ว





ad1

เมื่อวันที่  7 ธ.ค.66   ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานความคืบหน้า  จากกรณีที่มีเหตุการณ์ช้างป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน  จ.ฉะเชิงเทรา ( ในป่าราบต่ำผืนสุดท้ายของไทยเขตป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จ.ฉะเชิงเทรา,จ.สระแก้ว,จ.จันทบุรี,จ.ระยอง และ จ.ฉะเชิงเทรา)   จำนวนมากกว่า 100 ตัว(บวก)    ยกโขลงออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์     เข้ามาในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน มาไกลข้ามถิ่นที่อยู่เดิม     ซึ่งเป็นไร่อ้อย บริเวณหมู่ที่ 4 และหมู่ที่ 11 ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้  ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยนายอรรถพล  เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ร่วมกับนายเผด็จ  ลายทอง ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า นายธานนท์  โสภิตชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 นายก้องเกียรติ  เต็มตำนาน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 นายสมเกียรติ สุสัณพูลทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี  ร่วมกันลงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และเข้าร่วมประชุมที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อรับทราบข้อมูลจากหน่วยงานและชุมชนในพื้นที่ 

ประกอบด้วย นางสาวภัทริน ภู่มณี นายกองค์การบริการส่วนตำบลวังท่าช้าง นายธนุวัฒน์ เมืองจันทร์  ปลัดอำเภอกบินทร์บุรี นายวัชรธรรม พรมสามสี กำนันตำบลท่าช้าง และนายแอ็ด ตะเภาพงษ์ ตัวแทนราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ ที่ประชุมได้ร่วมกันวางแผนเพื่อแก้ไขและบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น โดยรอ.รชฎฯได้ให้กำลังใจชุมชนและเจ้าหน้าที่ ในการแก้ไขปัญหาและผลักดันช้างป่าให้กลับคืนสู่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน จ.ฉะเชิงเทรา  

โดยมีนายธนานนท์ โสภิตชา ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ปราจีนบุรี เป็นประธานร่วมประชุม ร่วมกับสนง.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)ร่วมประชุมหารือ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้จัดตั้งศูนย์บัญชาการระดับพื้นที่ เพื่ออำนวยการแก้ไขปัญหาและกำหนดมาตรการในการผลักดันช้างป่ากลับคืนสู่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน โดยเป็นการบูรณาการสนธิกำลังร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดปราจีนบุรี และองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยใช้ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง (อบต.)  เป็นสถานที่ตั้งศูนย์บัญชาการ มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 เป็นผู้บัญชาการ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า  เป็นหัวหน้าคณะทำงาน 

โดยสนธิกำลังเจ้าหน้าที่จากสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี) จำนวน 100 คน สำนักบริหารที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา) จำนวน 100 คน และจังหวัดปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี องค์การบริหารส่วนตำบลเขาไม้แก้ว และองค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้างจำนวน  50 คน รวมทั้งสิ้น 250 คน ในการจัดตั้งชุดปฏิบัติการเพื่อดำเนินการเฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า ให้กลับคืนสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป  โดยให้มีการรายงานผลเป็นประจำทุกวัน ออกปฏิบัติงานในทันทีอย่างต่อเนื่องจนกว่าภารกิจจะสำเร็จ มีนายทันติกร พวงสกุล (นักวิชาการกรมป่าไม้)ผู้ช่วยหัวหน้าเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชเขาอ่างฤาไน เป็นผู้รายงานพฤติกรรมของชาติป่าไปที่ประชุมได้รับทราบ

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 66 นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมคณะประกอบด้วย นางมาละนี จินดารัตน์ หน.สนง.ปภ.จ.ปราจีนบุรี พ.อ.ธนเดช แม่นปืน ผู้แทน กอ.รมน.จ.ปจ. นายเอก วงศ์จินดา ผู้แทนสนง.ประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี ออกตรวจเยี่ยมมอบนโยบาย แนวทางการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างขวัญ กำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานชุดผลักดันช้างป่าตำบลเขาไม้แก้ว และตำบลวังท่าช้าง

โดยมีนางวัชราภรณ์ แตงหมี นายอำเภอกบินทร์บุรี นายประยูร สมโภชน์ นายก อบต.เขาไม้แก้ว นายวัชรธรรม พรมสามสี กำนันตำบลเขาไม้แก้ว นายสมภพ ปราตรัย กำนันตำบลวังท่าช้าง ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 , 11 ต.เขาไม้แก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่ บ้าน หมู่ที่ 11,4 ต.วังท่าช้าง และเจ้าหน้าที่ อบต.เขาไม้แก้ว ให้การต้อนรับคณะ 

พร้อมทั้งบรรยายสรุปการดำเนินการผลักดันช้างออกจากพื้นที่    สาธิตการใช้โดรนติดตามช้างป่าในพื้นที่    และนำคณะตรวจดูพื้นที่    ที่มีช้างป่าเข้ามาทำลายผลิตผลทางการเกษตรของประชาชน  ได้แก่ ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง จำนวน 3 จุด ดังนี้ จุดที่ 1 บริเวณไร่อ้อย บ้านคลองตามั่น หมู่ที่ 8 ต.เขาไม้แก้ว จุดที่ 2 บริเวณไร่อ้อยบ้านวังกวาง หมู่ที่ 11 ต.วังท่าช้าง  จุดที่ 3 บริเวณสวนมันสำปะหลัง บ้านวังกวาง หมู่ที่ 11 ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี

ล่าสุดเวลา 01.30 น. วันนี้ (7 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า   ตั้งแต่ หัวค่ำ ( 6ธ.ค.) จรดกลางดึกนี้   (7ธ.ค.)  เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่าง ๆ   ประมาณ 150 คน  ได้ปล่อยขวนแถว ผลักดันโขลงช้างป่า แม้ดึกดื่นยังอยู่ในพื้นที่  พร้อม กำลังผลักดันช้าง ทั้งนี้เหตุที่ต้องทำงานกลางคืนจรดดึกนี้ ช่วงช้างหากิน กลางวันแดดร้อนช้างจะพักผ่อนไม่หากิน  จะอยู่กับที่ หากโดนรบกวนจะเกิดความโกรธ  อาจแสดงอาการดุร้าย จะเป็นอันตราย  เจ้าหน้าที่จึงทำงานกลางคืน    

ค่อนรุ่งวันนี้ ( 7ธ.ค.)    แล้วค่อยเริ่มผลักดันกันต่อในข่วงเย็นพรุ่งนี้ (8ธ.ค.) ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะผลักดันช้างเข้าป่าอ่างฤาไนจนครบทุกตัว

แต่โขลงช้างป่า  ยังคงอยู่ในเขามะก่องตลอดคืนนี้  ได้ผลักดันกลับถิ่นแต่ได้รับแจ้งว่า  พบมีโขลงช้างป่า รวมจำนวนมากกว่า 60 ตัว(+)  ที่ข้ามฝั่งมาจากห้วยกระโดด อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา   มุ่งหน้ายกโขลงเข้ามาหน้าเขามะก่อง ฝั่ง ต.ทุ่งพระยา อ.สนามชัยเขต  เพื่อข้ามฝั่งเข้ามาหากิน  มุ่งหน้าต่อไปเข้ามาพื้นที่ป่าสะเดา ต.วังท่าช้าง อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี เท่ากับยิ่งผลักดันกลับคืนถิ่นเดิมแปดริ้ว แต่กลับเพิ่มประชากรช้างป่าเพิ่มเข้าขึ้นอีก


โดย...มานิตย์   สนับบุญ/  ปราจีนบุรี