"ทรัมป์"เปิดสงครามภาษีโลกวงการค้ายางสะเทือนฉุดราคาผันผวน

"ทรัมป์"เปิดสงครามภาษีโลกวงการค้ายางสะเทือนฉุดราคาผันผวน





Image
ad1

“ยางใต้” วิกฤติ โรคใบร่วงระบาด แรงงานทิ้ง ยางขาด 60-70 % กระทบการดำรงชีพ เศรษฐกิจการค้า โรงงานอุตสาหกรรมยางปิด พักคนงาน การยางราคาผันผวนโดนัลด์  ทรัปม์ เรื่องสงครามการค้า “วงการค้ายาง”  ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ค่อแนข้างลำบาก

เจ้าของสวนยาง บ้านควนอินนอโม หมู่ 7 ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เกษตรกรอาชีพสวนยางมีปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวแปรที่ส่งผลกระทบหนักคือสภาพภูมิอากาศ เช่น ฝนตกชุก ร้อนจัด ฝนตกชุกไม่สามารถกรีดยางได้ตามเป้าหมายประมาณ 20 วัน / เดือน แล้งจัดน้ำยางสดหดหายนไปกว่าครึ่ง เป็นต้น

“ด้วยสภาพปัจจุบันเนื่องจากฝนตกชุกตั้งแต่ปลายปี 2567 มาจนถึงขณะนี้ไม่สามารถกรีดยางได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งจะส่งผลต่อการประกอบอาชีพจะไม่มีรายได้ได้ส่งผลต่อกำลังซื้อมาก”

เจ้าของสวนยาง กล่าวอีกว่า ยางตามสูตรปิดหน้ายางช่วงหน้าแล้งและฤดูใบร่วงประมาณ 60 วัน และหน้าฝนอีก 60 วัน จะต้องหยุดกรีด และในส่วนกรีดยางได้ตาม 150 วัน / ปี กรีดวันเว้นวัน แต่ส่วนใหญ่ชาวสวนยางจะกรีด 2 และ 3 วัน เว้น 1 วัน และส่วนหนึ่งกรีด 4 วัน และ 5 วัน เว้น 1 วัน

“1 ปี 365 วันปัจจุบันกรีดยางได้จริงประมาณ 100 วัน เนื่องจากมีฝนมากกว่าแล้ง หรือเรียกได้ว่า ฝน 8 แดด 4 การกรีดยางได้ 100 วัน ที่จะสามารถดำรงชีพอยู่ได้ต้องราคา 80 บาท และ 100 บาท / กก. ซึ่งราคายาง 80 – 100 บาท เคยมีมาก่อน ซึ่งขณะนั้นชาวสวนยางพอมีเงินเหลือบ้าง”

เจ้าขอวสวนยาง กล่าวอีกว่า แต่สภาพปัจจุบันชาวสวนยางจะต่างกันมาก และเพื่อให้ชาวสวนยางอยู่ได้ ก็จะต้องมีงานผสมผสานเสริมซึ่งกันและกัน  จะประกอบอาชีพสวนยางหน้าเดียวนั้นก็ไม่ได้อีกแล้ว

ทางด้าน นายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ ผู้จัดการ กลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรแปรรูปยางพาราภาคใต้เพื่อส่งออกรายใหญ่ เปิดเผยว่า  สภาพอาชีพสวนยางทางภาคใต้ค่อนข้างจะยากลำบากแต่ละบางพื้นที่และบางพื้นที่มาจากปัจจัยที่สำคัญสุดคือสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเกิดฝนตกชุก เกิดโรคใบร่วงเชื้อรา จนส่งผลให้แรงงานขาดแคลนทิ้งสวนยางเป็นป่ารกร้าง

“สภาพการทิ้งสวนยางเพราะรายได้ไม่พอต่อรายจ่ายโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเฉพาะ อ.เบตง จ.ยะลา ฯลฯ จะมีการปล่อยทิ้งสวนยางให้รกร้างถึง 60 – 70 % เพราะจากสภาพภูมิอากาศฝนตกชุกกรีดยางได้ไม่เต็มที่สามารถกรีดประมาณ 80 วัน และ 120 วัน / ปี 365 วันเต็มที่ ต่างกับ จ.พัทลุง นครศรีธรรมราช จ.สงขลา ฯลฯ ที่สามารถกรีดได้ถึง 150 วัน 250 วัน / ปี ทั้งนี้อยู่กับการกรีดวันเว้นวัน 2-3 เว้นวัน”

นายกัมปนาท กล่าวอีกว่า  ประเด็นฝนตกชุกเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะส่งผลต่อการประกอบอาชีพโดยตรง ทางแก้ก็สามารถทำได้คือทำสวนยางกางร่ม แต่จะต้องใช้ต้นทุนอุปกรณ์จะมีต้นทุน 20 -40 บาท / ต้น พอจะสามารถกรีดยางได้แม้ว่าจะเกิดฝนตกชุกก็ตามในภาคใต้ แต่ยกเว้น อ.เบตง จ.ยะลา ฯลฯ เนื่องสภาพอากาศเย็นชื้นหน้ายางจะเปียก หากกรีดจะส่งผลให้ยางได้รับความเสีย

จากปัจจัยยางไม่สามารถกรีดได้ตามเป้าหมาย ส่งผลให้น้ำยางสดทางภาคใต้หดหายไปถึง 60–70 %  และได้ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อที่ถดถอยลงมา ส่งผลเศรษฐกิจการค้าบริโภคอุปโภค ตลอดจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมแปปรูปผลิตยาง ต้องปิดโรงงานไปแล้วจำนวน 1 แห่ง ส่วนที่เหลือประคับประคองไปได้ในระดับหนึ่งและมีการพักงานคนงาน

ส่วนยางที่พอไปได้คือโรงงานยางรมควันของกลุ่มสหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มยาง ที่แปรรูปผลิตยางรมควัน ยางแท่ง ที่มีอยู่ประมาณ 300 โรงในภาคใต้ จ.พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี จ.สงขลา

“ส่วนเรื่องการตลาด ยางตลาดยังไปได้ดี มีเท่าไหรก็จำหน่ายหมดไม่เหลือ เหมือนสินค้าพืชพันธุ์อย่างอื่น ๆ เพราะตลาดโลกยังมีความต้องการสูง ยางยังไปได้ดี”

นายกัมปนาท ยังกล่าวถึงราคายางว่า การตลาดต่างประเทศก็ไม่นิ่งจากที่โดนัล ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เกี่ยวกับนโยบายมาตรการภาษี จะส่งผลต่อยางด้วย เพราะยางส่งไปยังประเทศจีน และประเทศจีนแปรรูปล้อยางส่งออกต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐ แคนาดา ฯลฯ พร้อมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนฉุดราคาลงมาด้วย

“การตลาดการค้ายางวันนี้ค่อนข้างท้าทายที่ลำบากมาก ทั้งผู้ผลิตยางไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย”.