ถึงคิว “ซอส - ซีอิ๊ว - ผงซักฟอก” ขึ้น 10% คนเงินเดือน 15,000 หรือต่ำกว่า เหลือไม่พอจ่าย!

ถึงคิว “ซอส - ซีอิ๊ว - ผงซักฟอก” ขึ้น 10%

ถึงคิว “ซอส - ซีอิ๊ว - ผงซักฟอก” ขึ้น 10% คนเงินเดือน 15,000 หรือต่ำกว่า เหลือไม่พอจ่าย!





ad1


- ค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้คนไทยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากขึ้นหลายเท่าตัว ล่าสุดถึงคิววัตถุดิบพื้นฐาน สำหรับดำรงชีพประจำวันอย่าง “ซอส - ซีอิ๊ว - ผงซักฟอก” จ่อปรับขึ้นราคาขึ้น 10% จากต้นทุนการผลิตที่แพงขึ้น ตามหลายกลุ่มสินค้าที่ทยอยปรับราคาขึ้นแล้ว 
.
▪️ ผู้ผลิตยื่นขอปรับราคาแล้ว 18 กลุ่มสินค้า!
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเดือน เม.ย. นี้ “สมาคมค้าส่ง-ค้าปลีกไทย” แจ้งว่าได้รับแจ้งจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค บางรายการและบางยี่ห้อ แจ้งปรับราคาขึ้นอีก ทั้งที่เป็นราคาขายส่งถึงยี่ปั๊วซาปั๊ว และราคาขายปลีกถึงผู้บริโภค โดยล่าสุดได้รับแจ้งจากผู้ผลิต เครื่องปรุงรสยี่ห้อยอดนิยม เช่น ซอสปรุงรส - ซีอิ๊วขาว และผงซักฟอก แจ้งปรับราคาขึ้น 10% ขณะที่ “กรมการค้าภายใน” เผยว่าภาพรวมมีผู้ผลิตยื่นขอปรับราคาแล้ว 18 กลุ่มสินค้า แต่ยังไม่มีอนุมัติและขอความร่วมมือให้ตรึงราคาไว้ก่อน โดยอยู่ระหว่างพิจารณาให้สอดคล้องกับต้นทุน 
.
ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อความสามารถในการใช้จ่าย สอดคล้องกับผลวิเคราะห์ของ “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” ที่ชี้ว่าสัญญาณการใช้จ่ายในภาพรวมของผู้บริโภค ในทุกกลุ่มรายได้ “ปรับลดลง” เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า โดยเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง ใช้จ่ายลดลง 1 - 25% และกลุ่มผู้มีรายได้น้อยกว่าเดือนละ 15,000 บาท ส่วนใหญ่ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องลดปริมาณซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดการเดินทาง และกินข้าวนอกบ้าน รวมถึงประหยัดใช้พลังงานด้วย
.
▪️ สงกรานต์นี้ไม่มีเงิน “กิน-เที่ยว” นอกบ้าน!
.
สำหรับเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 คาดว่ามูลค่าการใช้จ่าย ภาพรวมจะลดลงเกือบทุกประเภท โดยใน กทม. หดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน และเม็ดเงินใช้จ่ายรายกิจกรรมส่วนใหญ่ลดลง โดยเม็ดเงินใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงสังสรรค์ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม มีสัดส่วนลดลงมากที่สุดที่ 40% หรือราว 9,500 ล้านบาท เพราะส่วนใหญ่มีแผนทำอาหารกินเองที่บ้าน โดยลดปริมาณการซื้อวัตถุดิบเท่าที่จำเป็น และราคาไม่สูงมากเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
.
“ประเมินว่าเม็ดเงินการใช้จ่ายรวม ในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ปี 2565 ของคน กทม. จะอยู่ที่ประมาณ 23,400 ล้านบาท ลดลง 2.5% หดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน เพราะคนส่วนใหญ่ฉลองสงกรานต์ลดลงจากปีที่แล้ว และลดการใช้จ่ายเหลือเท่าที่จำเป็น เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 5,600 บาท ลดลงจากปีก่อน” ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุ