รำลึก 6 ตุลา การปราบปรามประชาชน 45 ปีผ่านมา รากเหง้าเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น

พิธา

รำลึก 6 ตุลา การปราบปรามประชาชน 45 ปีผ่านมา รากเหง้าเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเป็นเช่นนั้น





ad1

06 ต.ค. 2564  นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หน.พรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์ในวัน 6 ตุลารำลึกว่า   ตนเองได้เข้ามาร่วมกิจกรรมร่วมรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลา มาเป็นปีที่สามแล้ว ในฐานะนักการเมืองหน.พรรคก้าวไกล  ร่วมกับตอนที่เป็นนศ. อยู่ที่ท่าพระจันทร์มาตลอด 4 ปี ก็จะมีเหตุการณ์ 6 ตุลา พอสรุปได้ว่า ทุกๆปีก็จะมีเหตุการณ์ 6 ตุลา หมุนกลับมาสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตจนกระทั่งสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ต.ค. ที่มีคนเสียชีวิต  41    คนเจ็บ 145     คนถูกจับ  3097 มาถึงพฤษภาทมิฬ 35, พฤษภา 53  รวมถึงเหตุการณ์ปัจจุบันความรุนแรงที่กิดขึ้นในดินแดง และมาจนถึงปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละปีๆ ถึงแม้สถานการณ์จะดูแตกต่างกันไป แต่รากเหง้าของปัญหาเมื่อ 45 ปีที่แล้วจนถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ถูกชำระ เป็นความรุนแรงของรัฐที่ใช้ปราบปรามคนที่เห็นต่างกว่า รัฐไม่อนุญาตให้คนที่มีความฝัน มีอุดมการณ์แตกต่างกว่าชุดความคิดที่รัฐต้องการที่จะทำ ที่สำคัญวัฒนธรรมลอยนวล ประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้มีการชำระ จนถึงวันนี้ยังไม่มีผู้ที่ต้องผิดต่อการสุญเสีย 41 คนที่เสียชีวิต บาดเจ็บ 145 ราย และ3097 คนที่ถูกความรุนแรงทางกฎหมาย จนมาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยังมีหนุ่มสาว เยาวชน ในปีนี้ที่ได้รับความรุนแรงบนท้องถนน ได้รับความรุนแรงทางกฎหมาย ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ ยังมีเยาวชนที่โดนคดี 112 ถึง 148 คน ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ยังมีคดีความทางการเมืองสำหรับคนที่เห็นต่างกว่า 2,000 คดี  เพราะฉนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาในฐานะประสบการณ์ส่วนตัวและประสบการณ์นักการเมือง รู้สึกได้เลยว่ารัฐไทยยังไม่คิดที่จะฟัง ไม่คิดที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ต้องการที่จะรับฟังความฝันใหม่ๆ ไม่รับฟังความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ไม่มีความคิดที่จะประณีประณอม กลับยังต้องการที่จะใช้ความรุนแรงไม่ว่าจะในแง่บนท้องถนน หรือนิติสงครามที่ยังต้องการใช้ความรุนแรงปราบปรามกับประชาชน 45 ปีรากเหง้าเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็ยังเป็นอย่างนั้น

 

เพราะฉนั้นถ้าพวกเราคนอยู่ในยุคสมัยนี้ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง พรรคก้าวไกล มีข้อเสนอสองสามข้อ ข้อแรกต้องยุติทำความรุนแรงกับประชาชน ยุตินิติสงคราม ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมามันสะท้อนความแข็งตัวของรัฐ ยิ่งใช้ความรุนแรงต่อสู้กับอนาคตเมื่อไหร่ การชุมนุมแต่ละครั้งก็จะมีการปะทุและรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น การใช้คดีต่างๆในช่วงใช้พรก.ฉุกเฉิน ปราบปรามประชาชนก็ไม่ได้เกิดผลลัพท์การเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่เมื่อเทียบกับ 6ตุลาฯ 35 หรือหรือปี 53  มีความจำเป็นต้องเปิดพื้นที่ปลอดภัย ในการที่จะให้คนในยุคนี้ได้พูดคุยความจริง เปิดใจให้ความรู้สึกของคนในยุคสมัยนี้มันได้ถุกสะท้อนพูดคุยการประณีประณอมไม่ใช่ถูกประหัตประหารเหมือนเป็นศัตรูของรัฐ  สุดท้ายปัญหาที่เกิดขึ้นทุกอย่างคิดว่าต้องแก้กันที่กระบวนการทางการเมือง ให้มีการพูดคุย ให้มีการยอมรับว่าการที่มีคนเห็นต่างในประเทศไทยในระบบประชาธิปไตยเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ หากสามารถทำได้อย่างนี้ผมก็เชื่อว่าผลลัพท์ของความขัดแย้งทางการเมืองตลอด 45 ปีที่ผ่านมาจะถูกชำระ และทำให้ประเทศไทยเดินต่อไปได้ครับ.