จาก Facebook สู่ Meta จุดเริ่มต้น หรือ จุดจบ

หุ้น

จาก Facebook สู่ Meta จุดเริ่มต้น หรือ จุดจบ





ad1

Facebook เป็นสื่อโซเชี่ยล มีเดียที่ยอดนิยม ที่เราใช้พูดคุย สื่อสาร กับคนที่เรารัก ผ่านแพลตฟอร์มนี้ แต่ก่อนที่เราจะไปรู้ลึกถึง ว่า ทำไม Meta ถึงไปตกตระกำลำบากได้ถึงขนาดนี้ เราจะขอย้อนไปถึงวันก่อตั้ง Facebook ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 มี มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก กับ เพื่อนร่วมห้อง ในมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด  ตอนแรกเฟสบุ๊คนั้นเป็นเพียงแค่สื่อสังคมมีเดีย ที่ใช้ในการสื่อสารพูดคุยกันในรั้วมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเท่านั้น แต่หลังจากนั้นมาร์ค กับ เพื่อน ก็ได้พัฒนาเรื่อยมา ให้คนทั่วโลกสามารถใช้ได้ โดยที่เฟสบุ๊คนั้นจะมีรายได้มาจากการยิงโฆษณา จากในเพจ รวมถึงโฆษณาจากการลงคลิปของแต่ละท่าน ทำให้เฟสบุ๊คนั้นมีรายรับ และ มีกำไร จากการยิงสปอตโฆษณา ของในแต่ละเพจ ซึ่งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2012 เฟสบุ๊คได้ทำการเสนอขายหุ้นใหม่ หรือ IPO ให้กับประชาชนครั้งแรก บนตลาดหุ้น แนสแด็ก (Nasdaq) นับตั้งแต่นั้นมา จนถึงตอนนี้ และ ได้เข้าซื้อ Instagram ในวันที่ 9 เมษายน 2012 ที่มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก

และใน วันที่ 26 ตุลาคม 2021 ในรายงานผลประกอบการในไตรมาสที่ 3/2021 เฟสบุ๊คมีรายได้ทั้งหมดอยู่ที่ 29,010 ล้านดอลลาร์ ถือว่าเพิ่มขึ้น 35 % เมื่อเทียบกับปี 2020 ที่รายได้อยู่ที่ 21,470 ล้านดอลลาร์
 

รวมถึงหุ้นนั้นก็ดูสดใส แบบไร้ที่ติ ซึ่งทำจุดสูงสุดอยู่ที่  378.69 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ หุ้น ในวันที่ 7 กันยายน ปี 2021 นับได้ว่าเป็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเฟสบุ๊คเป็นอย่างมาก

 หลังจากนั้น ในวันที่ 29 ตุลาคม 2021 มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก ได้ทำการรีแบรนด์บริษัทตัวเองจากเดิม Facebook สู่ Meta และได้ทำการชูโรงว่า เขาจะพัฒนา และ พาทุกคนเข้าสู่โลกที่มีชื่อว่า Metaverse ไม่ว่าจะเป็น ประชุมงาน คุยกับเพื่อน รวมถึง สามารถซื้อที่ดิน ในโลกเสมือนจริงเพื่อเก็งกำไรได้อีกด้วย 

นับว่าเป็นการเริ่มต้นอีกก้าวกระโดดของ เฟสบุ๊ค ในนามว่า เมต้า อย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งหนัก 

 แต่แล้วหลังจากเปิดตัว Meta ไปได้ไม่นาน ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า Metaverse ที่ว่านี่ สามารถตอบโจทย์การใช้งานในอนาคตได้จริงหรือไม่ รวมถึงแว่นVR รุ่นไฮเอนด์ Quest pro ที่มีราคาอยู่ที่ 57,000 บาท เป็นการเปิดตัวแว่น VR ที่สูงมาก เพื่อรองรับการใช้งาน ในโลก Metaverse ตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา โลกในเผชิญกับเหตุการณ์เงินเฟ้อ และ สงครามระหว่างประเทศยูเครน-รัสเซีย ทำให้หุ้น Meta  นั้นร่วงลงมาจากที่เคยทำจุดสูงสุด จนมาเหลือที่ 90.79 ในวันที่ 31 ตุลาคม 2022 สืบเนื่องมาจาก เมต้า นั้นขาดทุนอย่างหนัก ในไตรมาส 3/22 นั้น ทำรายได้ไปเพียง 406 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยที่ลดลงจากไตรมาส 2/22 จาก 452 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงMeta นั้น เผชิญกับคู่แข่งโซเชี่ยลมีเดียจากจีน คือ ติ๊กตอก (Tiktok) ที่ชูจุดเด่น คือ การทำวีดีโอคอนเท้นสั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นไลฟ์ขายของ เป็นต้น และประการต่อมา เฟสบุ๊ค ถูกปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานจาก แอปเปิล ทำให้เฟสบุ๊คไม่สามารถเอาข้อมูล ไปวิเคราะห์เพื่อยิงโฆษณาต่อไปได้ ทำให้ขาดรายได้จากการยิงโฆษณาไปอย่างมหาศาล รวมถึงกำไรที่ได้จากการ ศึกษาวิจัย และ พัฒนา จาก Metaverse นั้น 

ได้เพียงแค่ 285 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นรายรับที่น้อยมากๆ ตั้งแต่ การรีแบรนด์บริษัทตัวเองจาก Facebook ไปยัง Meta แถมในล่าสุด 9 พฤศจิกายน 2022 มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก ได้ส่งจดหมายถึง พนักงาน Meta บางคนที่จะต้องถูกเลิกจ้าง เป็นจำนวน 11,000 คน นับเป็นการเลิกจ้างพนักงานเทคโนโลยีที่สูงที่สุด เป็นครั้งแรกในรอบ18ปี ตั้งแต่ก่อตั้งเฟสบุ๊คมา และ มาร์ค นั้น ยังยอมรับอีกด้วยว่า เขาคาดการณ์ และ ประเมินการเติบโตของบริษัท ที่ผิดไป ทำให้สถานการณ์ของ เมต้า นั้น ยิ่งแย่ลงไปอีก

และได้มีข่าววงในว่า มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก ได้ทำการส่งจดหมายถึงพนักงานของ เมต้า ทุกท่านว่า จะต้องได้รับบททดสอบในการทำงานอย่างหนัก ถ้าใครไม่เก่งจริง จะต้องถูกเชิญออกจากองค์กร ยิ่งทำให้แรงกดดันภายใน บริษัท Meta Platform นั้นยิ่งครุกกรุ่นมากขึ้นไปอีก และ สุดท้ายนี้ มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก จะบริหาร และ แก้แนวทางการดำเนินงานของ Meta ไปในทิศทางไหน รวมถึง เขาต้องตอบให้ได้อีกว่า Metaverse ที่เขาพูดถึงนั้น จะสร้างมลูค่าเม็ดเงินให้บริษัท และ รวมถึงผู้ถือหุ้น Meta 

ทุกท่านได้ยังไงกัน อีกทั้งยังต้องต่อสู้ในการพัฒนาแพลตฟอร์มของตนเอง ให้สามารถสู้ และ เหนือกว่า โซเชียลมีเดีย ที่เรียกว่า ติ๊กตอก ที่กำลังจะมาแทนที่ Meta ในอนาคต หรือ นี่จะเป็นจุดจบ CEO ของ Meta Platform ที่มีชื่อว่า “มาร์ค ซักเกอร์เบริ์ก” กันแน่ จะเป็นยังไง ในตอนต่อไปผมจะมาเล่าให้ฟังกันอีกรอบ

      ที่มา : นวะวัฒน์ เจริญสุข                                                           นักเขียนและนักลงทุนอิสระ                            เผยแพร่ : วิชชุดา ดวงพรหม