ผบ.ฉก.นราธิวาสสั่งเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดนเข้มข้น

ผบ.ฉก.นราธิวาสสั่งเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดนเข้มข้น





ad1

นราธิวาส-ผบ.ฉก.นราธิวาส  ลาดตระเวนทางน้ำ ติดตามความคืบหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน ตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย-มาเลเซีย

ที่ ห้องประชุมหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส  ค่ายกัลยาณิวัฒนา ตำบลกะลุวอเหนือ อำเมือง จังหวัดนราธิวาส พลตรีเฉลิมพร ขำเขียว ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15 / ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส พร้อมด้วย พันเอก ก่อเกียรติ เข็มแดง รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส ให้การต้อนรับ พลโท สิทธิพงษ์ จันทรัตน์  ผู้อำนวยการศูนย์บูรณาการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักอำนวยการข่าวกรอง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เดินทางมาตรวจเยี่ยมติดตาม

การดำเนินตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน พร้อมทั้งประสานการปฏิบัติกับหน่วยโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมพื้นที่ชายแดน ตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย-มาเลเซียในรายการจัดหาวัสดุสำหรับก่อสร้างรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวชายแดน ระยะทาง 6 กิโลเมตร โดยได้รับฟัง การชี้แจงบรรยายสรุปของหน่วยตามแผนงานโครงการก่อสร้างรั้วชายแดนไทย – มาเลเซีย สอบถามปัญกาข้อขัดข้องในการดำเนินงาน

จากนั้น ได้เดินทางต่อไปยัง ด่านศุลกากรตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อลงเรือลาดตระเวน ตรวจพื้นที่ในการดำเนินการก่อสร้างรั้วอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 4 ท่าข้าม ได้แก่ 1. ท่าข้ามบันได 2. ท่าข้ามศรีพงัน 3. ท่าข้ามปะลุกา และ 4.ท่าข้ามกัวลอต๊ะ  โดยโครงการก่อสร้างรั้วชายแดน ไทย-มาเลเชีย เริ่มต้นเมื่อปี 2560โดย พลตรี ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งในขณะนั้น ดำรงตำแหน่ง รองผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส มีเจตนารมณ์ ต้องการให้ สร้างรั้วป้องกันชายแดนขึ้น จึงให้ชุดควบคุม ป้องกันชายแดน เสนอโครงการขึ้นมา เพื่อป้องกันสกัดกั้นยับยั้ง การลักลอบขนย้าย อาวุธ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว สิ่งผิด กฎหมายต่างๆ และการคัดกรองบุคคล ตลอดจนการป้องกัน การแพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อโควิด -19 หรือ โรคติดต่อ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อให้พื้นที่ชายแดน มีความมั่นคงปลอดภัยความต้องการงบประมาณที่เสนอขอ ประกอบด้วย 4 รายการ ได้แก่ 1.การก่อสร้างผนังเขื่อนป้องกันตลิ่ง ระยะทาง 7.528 กิโลเมตร 2. การสร้างรั้วตาข่าย ระยะทาง 15 กิโลเมตร  3. การสร้างฐานปฏิบัติการย่อย จำนวน 3 ฐาน และ 4 รั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร

โดยเมื่อวันที่ 13  กรกฎาคม  2564 คณะอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการ 2 ในคณะกรรมาธิการ วิสามัญ พิจารณาร่าง พ.ร.บ งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาให้ผ่านจำนวน 2 รายการ
ได้แก่ การก่อสร้างผนังเขื่อนป้องกันตลิ่งระยะทาง 7.528 กิโลเมตร และรั้วความมั่นคงอิเล็กทรอนิกส์ระยะทาง 6 กิโลเมตร ซึ่งแบ่งจ่ายในปีงบประมาณปี 2565 -2567 

โดย หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาสได้จัดกำลังพลลงพื้นที่ เพื่อพบปะ สร้างความเข้าใจ ถึงเหตุผลและความจำเป็น ในการก่อสร้างรั้วชายแดน และให้ลงนามในหนังสือยินยอม ให้ก่อสร้างรั้วชายแดนในที่ดินของตนซึ่งมีผู้ที่มีที่ดินติดแนวชายแดน จำนวน 293 ราย ได้ยินยอมให้สร้างรั้วชายแดนเพราะเข้าใจในสภาพปัญหาในพื้นที่ และรับทราบว่าในการสร้างรั้วชายแดน ได้เปิดช่องทางบริเวณจุดผ่อนปรนให้สามารถเดินทางเข้า-ออก ตามวิถีชีวิตของประชาชน ตามแนวชายแดน และเหตุผลอีกประการหนึ่งที่ประชาชนที่มีที่ดิน ติดแนวชายแดนยินยอมให้สร้างรั้วชายแดน คือ การที่แนวชายแดน ด้านประเทศมาเลเซียได้สร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งตลอดแนวชายแดนทำให้ตลิ่ง

ฝั่งไทยถูกกัดเซาะมาอย่างยาวนาน โดยมีวัตถุประสงค์ ในระยะสั้น เพื่อป้องกัน สกัดกั้น ยับยั้งการลักลอบขนย้าย อาวุธ ยาเสพติด แรงงานต่างด้าว สิ่งผิดกฎหมายต่างๆ และการคัดกรองบุคคล ตลอดจนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 หรือ โรคติดต่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ วัตถุประสงค์ในระยะยาว เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพสูงสุด/เพื่อให้พื้นที่ชายแดนมีความมั่นคงปลอดภัย สนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบริเวณชายแดน อีกทั้งรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน

ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดเหตุรุนแรง ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การผ่านข้ามแดนเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 และเกิด​ความร่วมมือของภาครัฐในระดับต่าง ๆ ระหว่างไทยกับมาเลเชีย