"พันธ์ยศ" ร่วมเดินหน้าคลองกระชูเป็น"เมกกะมรดก"สู่ลูกหลาน

"พันธ์ยศ" ร่วมเดินหน้าคลองกระชูเป็น"เมกกะมรดก"สู่ลูกหลาน





ad1

นายพันธ์ยศ อัครอมรพงศ์ อดีตเลขาธิการพรรคภราดรภาพ   ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ(คลองไทย) เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม (สคส.) กล่าวว่า  ตนได้ร่วมประชุม1และศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับพล.อ.ต.ณัฎฐอรรจน์ ถวิลหวัง  ประธานคณะกรรมการสคส.

ซึ่งพล.อ.ต.ณัฐอรรจน์เคยเป็นหนึ่งในคณะกรรมการแห่งชาติ ศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ ที่ก่อตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี  (มติครม.16 ต.ค. 2544) โดยที่ผ่านมาได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ(คลองไทย) มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ แม้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  จะตอบคำถามกระทู้ที่002ร.ของสมาชิกวุฒิสภาที่สอบถามผ่านราชกิจจานุเบกษาวันที่11ก.พ.2564ว่า คณะกรรมการแห่งชาติฯ ชุดดังกล่าวได้บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อคณะกรรมการที่ยกเลิกของกระทรวงคมนาคมไปแล้ว(สิ้นสุดสถานภาพลงแล้วเมื่อช่วงเดือนพ.ค.2548 )ก็ตาม 

นายพันธ์ยศกล่าวว่า   ในปี 2557 พล.อ.ต.ณัฎฐอรรจน์  ได้ตั้งคณะทำงานความร่วมมือยุทธศาสตร์การค้าไทยจีนของรัฐบาลไทยกับนายหวี่ ปิน ประธานกรรมการบริษัท จงจิ้นริชเวย์โฮลดิ้งประเทศไทย จำกัด และจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลของประเทศไทยบริเวณคลองกระ  รองรับการเปิดการค้าเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นเส้นทางการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวทางการพัฒนาของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิงของจีนที่แสดงต่อที่ประชุมเอเปค  

ในตอนนั้นประธานาธิบดีจีนได้ประชุมทวิภาคีกับพล.อ.ประยุทธ์  และยกวาระการพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลในศตวรรษที่21มาหารือ โดยพล.อ.ประยุทธ์ ได้ตอบรับในความคิดริเริ่มและพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลดังกล่าว และเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์วิจิยและพัฒนาเส้นทางสายไหมทางทะเลของประเทศไทยบริเวณคลองกระห(คลองคอดกระหรือคลองไทย) โดยรัฐบาลไทยในอดีตมีมติอนุมัติให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการขุดคลองกระ(คลองไทย) หากดำเนินการได้นับเป็นโครงการพัฒนาที่เป็นเมกกะโปรเจคของประเทศอีกชิ้นหนึ่งที่จะสร้างเจริญด้านเศรษฐกิจและอื่นๆของไทยในอนาคต 

นายพันธ์ยศกล่าวว่า นอกจากนี้สคส.ได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศร่วมกับสมาคมมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งมีพล.อ.ต.ณัฏฐอรรจน์เป็นนายกสมาคม    โดยสคส.และสมาคมมิตรภาพฯได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้ในการป้องกันโควิด -19 ให้กับสปป.ลาว   โดยฯพณฯ แสง สุขะทิวง เอกอัครรัฐทูตสปป.ลาว ประจำประเทศไทยให้การต้อนรับและรับมอบอุปกรณ์ข้างต้น   อีกทั้งตนกับสคส.นำอุปกรณ์ทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19แจกจ่ายให้หลากภาคส่วน เช่น  มูลนิธิกู้ภัยหลวงพ่อวัดในกุฏิ-ที่ว่าการอำเภอกุยบุรี  จ.ประจวบคีรีขันธ์ /มูลนิธิร่วมกตัญญู /โรงพยาบาลดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ และพื้นที่อื่นๆเพื่อให้คนไทยผ่านวิกฤตไปด้วยกัน
"ในครั้งนั้นคณะได้หารือกับเอกอัครรัฐทูตสปป.ลาว ประจำประเทศไทยเกี่ยวกับการค้า การลงทุน การคมนาคมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสองประเทศในวันข้างหน้า

โดยมีเรื่องการขุดคลองกระร่วมเป็นหนึ่งในการหารือด้วย เพราะเส้นทางสายไหมทางทะเลคลองกระ(คลองไทย) จะเกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีนและชาติอื่นๆ หากดำเนินการเสร็จสิ้น จะมีเรือสินค้าใช้เป็นเส้นทางผ่านจากไทยไปยังประเทศฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ทุกวัน  วันละไม่ต่ำกว่า 2,000 ลำ ร่นระยะเวลาการเดินทาง 3 เส้นทางเดิมลงได้ 7 วัน(1.สายตะวันออกจากเซียะเหมิน-มหาสมุทรแฟซิฟิก-ทวีปอเมริกา 2.สายใต้จากเซียะเหมิน-เกาะไหหลำ -แหลมญวน-อ่าวไทย-แหลมมลายู  3.สายตะวันตกจากเซียะเหมิน-ทะเลจีนใต้ -ช่องแคบมะละกา-แหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกา) และจากการสำรวจข้อมูลโลจิสติกส์การค้าจีน-ไทย พบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจตอบรับเข้าร่วมใช้เส้นทางสายไหมทางทะเลเส้นใหม่ของไทยสูงถึงร้อยละ60 ถือได้ว่าเส้นทางคลองกระ(คลองไทย) จะเป็นเส้นทางที่เปลี่ยนโลก-เปลี่ยนไทยในอนาคต"

นายพันธ์ยศกล่าวว่า ดังนั้นสคส. ได้จัดทำโครงการ "คลองกระ..เส้นทางเปลี่ยนโลก" เพื่อให้นักธุรกิจรุ่นใหม่และผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา และถ่ายทอดแนวความคิดโครงการนี้ไปสู่รุ่นต่อๆไปในอนาคต ในปัจจุบันโครงการนี้ได้ดำเนินกิจกรรมมาแล้วหลายครั้ง    ดังนั้นสิ่งที่ตนหารือกับพล.อ.ต.ณัฎฐอรรจน์และฝ่ายที่เกี่ยวพบว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไปมากจากภาวะโควิด-19  ดังนั้นไทยต้องปรับตัวให้รับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่

 แม้ที่ผ่านมาพล.อ.ประยุทธ์จะบอกว่าต้องใช้เวลาศึกษารอบด้านในเรื่องนี้ แต่ความจริงแล้วสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติตั้งกมธ.วิสามัญเพื่อศึกษาการขุดคลองไทยและการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2563 และดำเนินการแล้วเสร็จแล้ว รอเพียงบรรจุวาระให้ที่ประชุมรัฐสภาพิจารณา ตรงนี้ก็ชัดเจนระดับหนึ่งว่าสภาผู้แทนราษฎรสนใจเรื่องนี้เพราะไทยได้ประโยชน์

"แนวคิดข้างต้นของกมธ.วิสามัญฯตรงกับตนและพล.อ.ต.ณัฎฐอรรจน์ หวังว่าโครงการคลองกระนั้นน่าจะนำมาหารือกันใหม่โดยขอเชิญทุกภาคส่วนร่วมกันเป็นเจ้าภาพศึกษาเรื่องนี้คู่ขนานกับรายงานของกมธ.วิสามัญฯชุดข้างต้น  จากนั้นจัดทำประชามติให้ทุกอย่างโปร่งใสว่าควร-ไม่ควรขุดคลองกระ แต่ตนและคณะเชื่อว่าเมกกะโปรเจคนี้หากเดินหน้าได้ ประเทศ-ประชาชนจะได้ประโยชน์ในวันข้างหน้าอย่างสู