นอภ.ระแงะประกาศพื้นที่อุทยานฯทับที่ ต้นทุเรียนชาวบ้านถูกโค่นทิ้ง 500 ต้น

นอภ.ระแงะประกาศพื้นที่อุทยานฯทับที่ ต้นทุเรียนชาวบ้านถูกโค่นทิ้ง 500 ต้น





ad1

นราธิวาส-นายอำเภอระแงะ,ผอ.ศปก.อ.ระแงะ เป็นประธานการประชุมคณะทำงาน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฎร ในพื้นที่อำเภอระแงะ

วันนี้(10มีค.65)     นายกิตติพงษ์ อำพันธ์ นายอำเภอระแงะ,ผอ.ศปก.อ.ระแงะ จ.นราธิวาสเป็นประธานการประชุมคณะทำงาน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฎร ในพื้นที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส  เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้ง เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์ ที่ดินที่มีอยู่ภายในเขตป่าอนุรักษ์อย่างยั่งยืน โดยมี  ปลัดอำเภอ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป  ที่ดินอำเภอระแงะ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพระยาระแงะ ชั้น 2 ที่ว่าการอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส 

ปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องประชาชน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่รัฐบาล ภายใต้การนำ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญไม่ต่างจากปัญหาอื่น พร้อมมีนโยบายมุ่งเน้นให้ประชาชนใช้ประโยชน์จากที่ดินให้สูงสุด ตลอดจนการแก้ไขหรือปลดล็อกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในทางกลับกันในหลายพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีพี่น้องประชาชนที่มีความเดือดร้อน ในเรื่องที่ดินทำกิน จำนวนมาก 

สำหรับการเรียกประชุมโดยเฉพาะ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของราษฎร ในพื้นที่อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส  เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดขึ้นครั้งนี้หลังจากที่ ในพื้นที่บ้านกาหนั้วะ ต.บองอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส กว่า 500 คน สะท้อนปัญหาว่า ต้นทุเรียนของชาวบ้าน อายุ 1-3 ปี จำนวน 500 ต้น บนพื้นที่ 29 ไร่ ถูกโค่นทิ้ง ให้พรรคประชาชาติรับฟัง 

นายอาริสมัน มือเลาะ หนึ่งในเจ้าของสวนทุเรียน ที่ถูกโค่น กล่าวว่า วันนี้ต้นทุเรียนของตนและชาวบ้านถูกโค่น กว่า 500 ต้น จากข้อมูลที่รู้และยังมีอีกหลายคนในพื้นที่ ที่โดนดข้นเหมือนกัน ของตน 150 ต้น อายุ 1 ปีกว่า เขายังเจาะรูถังน้ำของเราด้วย 3 ถังๆละ9 รู เราไม่รู้ว่าใคร แต่เราขอแค่ให้สามารถทำมาหากินได้บ้างก็พอแล้ว ก็อยากเรียนร้องผู้ที่เกี่ยวข้อง 

ส่วนทุเรียนของชาวบ้าน ตั้งอยู่ในสวนผสมๆที่เป็นพื้นที่ทำกินของชาวบ้านคนอื่นๆ ไม่ได้อยู่ในป่าลึกอะไร เลย แม้หลังพบว่าต้นทุเรียนที่ปลูกถูกโค่นเราก็ไม่รู้ใครโค่น เพราะไม่เห็น เราไม่ได้ไปร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากใคร ภาครัฐเองก็ ไม่ได้มาชีแจงอะไร เรารู้แค่ว่า ที่ดินตรงนั้นไม่มีเอกสารสิทธิ์ เขาจะมาสู้รบกับพวกเราไม่คุ้มหรอกเพราะพวกเราเป็นคนลำบากหาเช้ากินค่ำ ขอความเป็นธรรมหน่อยให้พวกเราได้ทำมาหากินบ้าง

ชาวบ้านอีกรายล่าวว่า บนเขาบูโด เป็นพื้นที่ทำกินของพี่น้องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาหลายร้อยปี ไม่ได้อยู่ในป่าลึก หรือจุดที่เขาห้ามทำลายป่าอะไรเลย มันเป็นจุดที่ คนไม่รู้กี่รุ่นแล้วทำมาหากินอยู่ตรงนั้น ก่อนที่จะมีการประกาศเป็นป่าสวนอีก ชาวบ้านปลูกทุกอย่าง สะตอ ทุเรียน ยาง เป็นชาวบ้านหาเช้ากินค่ำอยู่บนเขานั้นมา 

เมื่อก่อนเขาไม่จับแต่เดียวนี้เขาจับหมด ทำมาหากินไม่ได้เลย ชาวบ้านไปดูร้องไห้ทุกคน เห็นทุเรียนถูกโค่น เจ็บปวดแต่ทำอะไรใครไม่ได้ มันก็สวนทางกับนโยบายที่ รัฐบาล ให้ ศอ.บต. เร่งแก้ปัญหา พื้นที่ทำกินให้ชาวบ้าน ตลอดเวลากว่า 200 ปี ชาวบ้าน หลายร้อยคน ขึ้นไปกรีดยาง เก็บทุเรียน บนภูเขาลูกนั้น นานกว่าที่ เขาจะมาประกาศเป็นเขตอุทยานอีก 

ชาวบ้านอีกรายกล่าวว่า เราทำมาหากินอยู่ที่นั้นหลายรุ่นมาแล้ว หลายร้อยปี เขามาจากไหนไม่รู้ มาบอกว่าเราทำผิด เหมือนจะไล่ชาวบ้านให้ออกจากพื้นที่ ทั้งที่พวกเราอยู่ที่นี้ มาหลายรุ่นคนแล้ว 300 ปี กว่า หลักฐานมีให้เห็นอย่างชัดเจน แต่รัฐมองไม่เห็น สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ รัฐบาลทำให้ชาวบ้าน เรามีปัญหาอย่างไม่จบสิ้น ปากบอกว่ามีนโยบาย เปิดโต๊ะเจรจา แต่จะแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ทำงานอยู่บนเขา ที่ถูกรัฐมาจำกัดพื้นที่ทำกินของพวกเรา