ธุรกิจประมงใต้อาการหนัก ต้นทุนการผลิตพุ่ง-ขาดแคลนแรงงานหนัก

ธุรกิจประมงใต้อาการหนัก ต้นทุนการผลิตพุ่ง-ขาดแคลนแรงงานหนัก





ad1

“ธุรกิจเรือประมง” อาการหนัก ต้นทุนการผลิตสูง ขาดแคลนแรงงาน  เม็ดเงิน 100,000 ล้านเหลือ 30,000 ล้าน

นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมประมงอวนล้อมจับประเทศไทย  เปิดว่า สถานการณ์ธุรกิจการประมง ทั้งเรือประมงขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ไม่ต่ำกว่า 13,000 ลำ ทั้งที่ขอใบอนุญาตประมงพาณิชย์ และที่ยังไม่ได้ และเลิกอาชีพแล้ว ตลอดเรือขาวแดง ฯลฯซึ่งที่ขออนุญาตประมงพาณิชย์จับปลา มีประมาณ 10,000 ลำ แต่ที่ขออนุญาตแล้ว ก็ไม่สามารถออกประกอบการได้ทั้งหมด ต้องจอดอยู่ชายฝั่ง 

“เพราะจากปัจจัยที่ต้นทุนการผลิตสูงมาก ขาดแคลนเงินลงทุน แรงงานไม่มี  ฯลฯ และในขณะเดียวกันสัตว์น้ำราคาไม่สูง”

นายภูเบศ กล่าวอีกว่า ธุรกิจเรือประมง ยังมีผลกระทบหนักมากมาตั้งแต่ปี 2557 2558 ไล่เรียงมาจนถึงขณะนี้ ตั้งแต่เรื่องกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ หลายร้อยฉบับ เรื่องของไอยูยู ปัญหาแรงงาน ฯลฯ และมาเรื่อยถึงโควิด 19 จนมาถึงตอนนี้ 

“ผลกระทบจนต้องขายกิจการ เลิกกิจการ จอดเรือประมงเทียบอยู่ชายฝั่งสะสมเป็นจำนวนมาก บางอ่าวจอดเป็นร้อยละ เช่น ตั้งแต่จ.ปัตตานี จ.สมุทรสาครฯลฯ  ซึ่งมีราคาลำละ 2-3 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าประมาณ 20,000-30,000 ล้านบาท จากว่า 10,000 ลำ”

ภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมประมงอวนล้อมจับประเทศไทย

สำหรับที่จอดชายอยู่ชายฝั่ง ส่วนหนึ่งก็ไม่ยอมขออนุญาตประมงพาณิชย์ทำต่อไป ส่วนหนึ่งก็เป็นเรือขาวแดง และส่วนหนึ่งเรือที่ไม่ผ่านมาตรฐานเรือประมงพาณิชย์ หากให้ผ่านมาตรฐานก็จะต้องเพิ่มทุนซื้ออุปกรณ์ซ่อมบำรุงเป็นเงินหลักล้านบาท สำหรับเรือขนาดใหญ่ และเรือขนาดเล็กหลักแสนบาทก็ไม่ลงทุนต่อ และทางสมาคมประมง เคยเสนอให้รัฐบาลรับซื้อเรือคืน และก็ซื้อคืนได้จำนวนหนึ่งแล้ว ประเด็นนี้จึงยังเป็นปัญหาอยู่

“เรือที่จอดไว้ริมฝั่งหากจอดเป็นปีก็ได้รับความเสียหายมากซึ่งหากจะต้องปรับปรุงใหม่ ก็ต้องลงทุนใหม่เป็นหลักล้านบาทหลักแสนบาท แต่ส่วนใหญ่เรือประมงที่จอดอยู่ น่าจะไม่ดำเนินการต่อไป” นายภูเบศ กล่าว

จากเดิมที่สภาพเศรษฐกิจปกติและสถานการณ์ประมงปกติที่ดี ธุรกิจประมงและธุรกิจที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องทั้งอุตสาหกรรมห้องเย็น อุตสาหกรรมโรงน้ำแข็ง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์ อาหารทะเล อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง และโลจิสติกส์ แรงงาน และการบริโภค อุปโภค ฯลฯ จะมีเงินหมุนสะพัดไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท / ปี

“จากปัจจัยลบดังกล่าวฉุดสภาพธุรกิจประมงและที่เกี่ยวข้องตอนนี้อาการหนักมาก คาดว่าหดตัวมาเหลืออยู่ที่ 20,000-30,000 ล้าบาท / ปี และรวมมา 8 ปี จะเป็นเงินนับแสนล้านบาทที่ลดหายไป”

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาสมาคมประมงได้นำเสนอ เพื่อให้รัฐสนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้ มี 2 ทาง คือหากว่าประมงรายใด ที่จะทำการประมงต่อไป ก็ต้องรายงานว่ามีปัญหาอะไรต้องการอะไรที่จะให้ดำเนินการสนับสนุน และหากรายใดที่จะหยุดทำการประมงก็เห็นว่ารัฐดำเนินการชดเชยให้.