ทุนซาอุฯลงทุน3จังหวัดชายแดนใต้ผุดรง.อุตฯฮาลาลส่งป้อนตะวันออกลาง

ทุนซาอุฯลงทุน3จังหวัดชายแดนใต้ผุดรง.อุตฯฮาลาลส่งป้อนตะวันออกลาง





ad1

“3 จังหวัดชายแดนใต้ร่วมซาอุดีอารเบีย”ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมฮาลาลรับซื้อ โค แพะ แกะ ไก่ สินค้าพืชการเกษตร  ส่งตลาดกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

ดร.นิเมธ  พรหมพยัต ประธานหอการค้าจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่า หอการค้าจังหวัดชายแดนใต้ หอการค้าจังหวัดนราธิวาส หอการค้าจังหวัดปัตตานี และหอการค้าจังหวัดยะลา ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ Focus Group โอกาส ศักยภาพและความท้าทายของจังหวัดชายแดนภาคใต้และของประเทศไทยภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดิอาระเบียโดยสมบูรณ์ ด้านการลงทุน ที่โรงแรมเซาท์เทิร์นวิว ปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นเจ้าภาพและเรืองอยู่ที่ ศอ.บต. ที่จะนำเรื่องเสนอต่อรัฐบาลดำเนินการต่อไปแล้ว 

ดร.นิเมต กล่าวอีกว่า โดยทางหอการค้าจังหวัดนราธิวาส ได้เสนอในที่ประชุมว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ปัตตานี ยะลา และ จ.นราธิวาส  เกษตรกรมีที่ดินเป็นจำนวนมาก แต่ที่ดินเป็นผืนป่าและการที่จะล้มป่าจะต้องมีการต้นทุนการผลิตที่สูงมาก เช่น ค้ารถแม็คโครล้มป่าอัตราค่าจ้าง 1,000 บาท / ชั่วโมง  เกษตรกรไม่มีเงินลงทุน จึงไม่สามารถที่ดำเนินการได้ 

ทางออกในฐานะที่เปิดสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศไทย ซาอุดีอารเบีย รัฐบาลควรนำเสนอให้ประเทศซาอุดีอารเบียนำนักลงทุนจากเข้ามาลงทุนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งร่วมทุนกันระหว่างนักลงทุนไทย และนักลงทุน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งลงทุนในประเทศซาอุดีอารเบีย มีบางรายแล้วที่จะร่วมทุนกันจัดตั้งบริษัท

การลงทุนคือเช่าที่ดินดำเนินการ เช่นลงทุนปลูกพืชตามที่ตลาดต้องการ ข้าว มะพร้าว แตงโม กล้วย ฯลฯ  แล้วส่งผลผลิตไปยังประเทศซาอุดีอารเบีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลางในที่สุด และประการสำคัญ จ.นราธิวาส ยังมีสนามบินอำนวยกความสะดวกและบินลง จ.นราธิวาส ได้โดยตรง 

“3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะผลิตได้และมีตลาดส่งออก สร้างอาชีพสร้างแรงงานสร้างรายได้ เศรษฐกิจไปในทิศทางที่ดี” 

นายศิริชัย ปิติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า สำหรับในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กับประเทศซาอุอารเบีย ทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  ภาคเอกชน ยังมีการสานงานขับเคลื่อนอยู่ตลอด ทั้งเรื่องการลงทุน เรื่องจ้างแรงงาน 

“สำหรับประเด็นการลงทุนร่วมกันนั้นสำหรับ จ.ปัตตานี จะเหมาะสมเรื่องอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ทั้งสัตว์น้ำ โค แพ แกะ ไก่  เมื่อมีการเปิดตลาดกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ก็เป็นการเพิ่มตลาด”  

นายณัฐนนท์ พงษ์ธัญญะวิริยา ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดชายแดน เปิดเผย ว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส โดยความสัมพันธ์กับประเทศซาอุดีอารเบียไม่ได้ลดลง ซึ่งปกติทุกปีจะเดินทางไปทำพิธีฮัจญ์และเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาเวลาเดินทางไปทำพิธีฮัจย์ยังมีการนำสินค้าไปแสดงด้วยเนื่องจากมีพื้นที่ให้ดำเนินการ

ส่วนเรื่องการลงทุนระหว่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีภาคเอกชนจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และประเทศฮอลแลนด์ผู้เป็นตลาดการเกษตรรายใหญ่ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปได้เดินทางมาในพื้นที่ เช่นกการส่งเสริมปลูกพริก กาแฟ ฯลฯ 

นายณัฐนนท์ กล่าวว่า เมื่อปี 2540  มีนโยบายอุตสาหกรรมฮาลาล  โค แพะ แกะ ไก่ ปลากระป๋อง แต่จุดเด่นจุดขายคือโค แพะ แกะ ไก่ แต่วัตถุดิบในพื้นที่ไม่พอ เนื่องผู้เลี้ยงรายใหญ่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ จ.ราชบุรี สำหรับในส่วนภาคใต้ที่ จ.พัทลุง จึงเงียบไป 

“หากจะทำโครงการฮาลาลก็จะต้องใช้วัตถุดิบร่วมกันทั้งประเทศก็จะพอ  ส่วนการตลาด การประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูป  คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ดำเนินการ อย่างอุตสาหกรรมฮาลาลประเทศมาเลเซีย ทั้งที่พื้นที่ขนาดเล็ก ยังทำการตลาดได้ดี จึงต้องมองมาเลเซียแล้วล้อพร้อมจับมือร่วมกัน ซึ่งไม่ต้องมาแข่งกัน” 

“คนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายดนภาคใต้กับประเทศซาอุดีอารเบีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง มีความเชื่อมโยงและมีความเชื่อมั่นอยู่และยอมรับในการแปรรูปผลิตอาหารกันอยู่แล้ว  ในเรื่องการทำตลาดจึงเป็นบวกมาก” 

นายสุพิท จิตรภักดี ที่ปรึกษาสมาพันธ์ชาวสวนทุเรียนภาคใต้ กล่าวว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นจุดเด่นและมีศักยภาพจะเป็นเกษตรผสมผสานเป็นทุนเดิม คือมียาง นาข้าว ไม้ผล / ครัวเรือน  ซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารในระดับครัวเรือน แต่ทางศักยภาพสร้างรายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำจะไม่ชัดเจน แต่มีจุดเด่นสุดคือเรื่อสวนทุเรียนที่มีประมาณ 100,000 ไร่ จ.ยะลา มีประมาณ 50,000-60,000 ไร่.