มุมมองอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีเยาวชนชายแดนใต้

มุมมองอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีเยาวชนชายแดนใต้





ad1

มุมมองอดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกรณีเยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้รณรงค์การแต่งชุด มาลายูเฉลิงฉลองเทศกาลตรุษฮารีรายอ

                                                                                                                      

วันนี้(6พค.65)ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีที่เยาวชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ร่วมกันรณรงค์การแต่งกายชุดมาลายูทั้งชายหญิง เพื่อแสดงถึงอัตลัตความเป็นมาลายูของคนในพื้นที่ตั้งแต่อดีต และมีการรวมพลเพื่อแสดงพลังและจุดยืนของเยาวชนที่พึ่งมีต่อมาตภูมิดินแดนเกิดอย่างสมศักดิ์ศรี จึงกลายเป็นปรากฎการใหม่สำหรับสังคมที่นี้ และได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

ด้านนางอังคนา นีละไพจิต อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้มีทัศนะมุมมองในเรื่องนี้ว่า....นับแต่ช่วงปี พ.ศ. 2482-2485 รัฐบาลไทยภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีนโยบายเกี่ยวกับ #รัฐนิยม เพื่อปลุกระดมให้คนในประเทศไทยเกิดความรักชาติ และปรับปรุงวัฒนธรรมให้เหมือนอารยประเทศ โดยมีข้าราชการทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาคประกาศให้ราษฎรทั้งประเทศได้ปฏิบัติตาม นโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบ และถูกต่อต้านอย่างมากจากราษฎรในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในพื้นที่ จชต. หรือ #ปาตานี ที่เป็นพลเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูมุสลิม เช่น การห้ามนุ่งโสร่ง ห้ามชายสวมหมวกกาปิเยาะ ให้ใช้ภาษาไทยแทนภาษามลายูซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น

หลายทศวรรษผ่านไป วันนี้สังคมไทยได้เห็นภาพการฟื้นฟูอัตตลักษณ์ของชาวมลายูมุสลิมผ่านกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะล่าสุดในงาน #รวมพลเยาวชนมลายูปาตานี ที่มีเยาวชนจากทั่วพื้นที่ใน จชต. มารวมตัวกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นคน (รายงาน The Motive: https://www.facebook.com/TheMotive2020) เพื่อร่วมละหมาดวันรายอ หลังสิ้นสุดการถือศีลอดเดือนรอมฎอน เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 ณ หาดวาสุกรี เมืองสายบุรี หนึ่งในเมื่องประวัติศาสตร์ของชาวปาตานี

ในช่วงสุดท้ายได้มีการกล่าว #คำสัตย์ปฏิญาณ ของเยาวชนปาตานี ((IKRAR JANJI) และประกาศกำหนดให้ วันที่ 3 เดือนเซาวัล ของทุกปี (วันรายออีดิลฟิตรี ที่สาม) เป็น "วันเยาวชนปาตานี HARI PEMUDA PATANI"

คาดว่าเรื่องนี้อาจสร้างความไม่สบายใจและความกังวลแก่หน่วยงานความมั่นคง แต่หากมองด้วยสายตาสิทธิมนุษยชน (human rights lens) การฟื้นฟูอัตตลักษณ์ของคนพื้นเมืองหรือคนท้องถิ่นดั้งเดิม ถือเป็นการเคารพและให้เกียรติผู้ที่อยู่มาก่อน เป็น #สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) ซึ่งถือเป็นการ #คืนศักดิ์ศรีให้คนท้องถิ่น ที่ต้องเผชิญชีวิตท่ามกลางปัญหาความขัดแย้ง และความรุนแรงที่ต่อเนื่องยาวนาน

ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ได้เติบใหญ่ มีความกล้าที่จะคิด กล้ากระทำในสิ่งที่เชื่อมั่นว่าถูกต้องเกินกว่าผู้ใดจะกำราบได้ดังเช่นในอดีตอีกต่อไป ... #คราวหน้าอย่าลืมชวนเยาวชนหญิงมาด้วยนะ