"ฝันเหนือตะวัน" เรื่องราวดีๆทางจิตวิญญาณและประสบการณ์ ผ่านปลายปากกา "ดร.ประยูร อัครบวร"

ฝันเหนือตะวัน

"ฝันเหนือตะวัน" เรื่องราวดีๆทางจิตวิญญาณและประสบการณ์ ผ่านปลายปากกา "ดร.ประยูร อัครบวร"





Image
ad1

05 ธ.ค. 2565  ดร.ประยูร อัครบวร อดีตอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้แนะนำหนังสือ "ฝันเหนือตะวัน" บอกเล่าเรื่องราวดีๆ ทางจิตวิญญาณและประสบการณ์ ผ่านตัวหนังสือของท่านอย่างน่าสนใจและชวนติดตามอ่าน ดังนี้ว่า

สถานีฝันเหนือ
“ฝันเหนือตะวัน”ดร.ประยูร อัครบวร
คิดบวกผ่านบทกวีโคลงประดิษฐ์
สถานีบ้านเรา
ปาริชาติ ประคองจิตร์ 
 ดร.ประยูร อัครบวร อดีตอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหลายแห่ง Guest Speaker เกิดที่พัทลุง จบระดับประถมศึกษาร.ร.เทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ พัทลุง ชั้นม.ศ.๓ร.ร.มหาวชิราวุธ จ.สงขลา ม.ศ.๕(แผนกวิทย์)ร.ร.สมาคมร.ร.ราษฏร์ ปป.(ประโยคครูประถม)วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ศศบ.(รัฐศาสตร์)ม.รามคำแหง BS(Sci) Northeastern Illinois U. USA จบMA.(Pol Sci) Northeastern Illinois U. USA จบD.P.A.(Doctor of Public Administration with Academic Excellence Award) U of Northern Philippines 


 ความรู้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้คนเราต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัวตลอดเวลา ดร.ประยูรเป็นคนหนึ่งที่มีความจริงใจมีเพื่อนฝูงมากมายแม้จะมีความคิดแตกต่างมองต่างมุมก็ตาม การรวบรวมงานบันทึกเรื่องราวของปุถุชนคนหนึ่งที่ปรารถนาได้มีส่วนสร้างสังคมที่ดีงาม โดยใช้รูปประพันธ์แบบโคลงสี่ป๋วยและโคลงสี่ป๋วยแปลง ที่หวังว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมภาษาและวรรณกรรมไทยและการตกผลึกทางภาษา ผ่านการหล่อหลอมด้วยผู้มีพระคุณตั้งแต่แม่ บูรพาจารย์ รวมถึงรศ.ธีรศักดิ์ อัครบวรแนะนำหนังสือดีๆให้อ่านในวัยเด็ก ศ.อัจฉรา  ชีวพันธ์ที่วิจารณ์งานต้นฉบับให้ดร.ประยูรย้อนกลับถึงขนบการประพันธ์ร้อยกรอง 

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า


มูลนิธิสถาบันวิชาการ๑๔ตุลาสนับสนุนการพิมพ์หนังสือ“ฝันเหนือตะวัน”ของดร.ประยูร อัครบวร พีรพล ตริยะเกษม ประธานมูลนิธิสถาบันวิชาการ๑๔ตุลา เขียนคำนำ งานเขียนชิ้นนี้เป็นประโยชน์สร้างสรรค์ผลักดันให้เห็นว่าวัฒนธรรมการประพันธ์ยังไม่ตาย “โคลงสี่ป๋วย”เป็นโคลงขึ้นประดิษฐ์ใหม่หรือเรียกว่านววัตกรรมใหม่ที่ยังโยงใยขนบเดิม แต่เพิ่มทางเลือกเสรีในการเขียนในอีกรูปแบบหนึ่ง“ฝันเหนือตะวัน”ได้แยกเรื่องราวออกเป็นหลายบทที่ให้สาระ ให้มุมมองที่ต่างกันเรื่องต่างๆมีคุณค่าในตัวเอง เมื่อนำมารวมจัดหน้าให้มีสีสันที่คงค่าต่อความงามที่ร่วมประดับในบรรณพิภพหนังสืออีกนานแสนนาน 
 สำคัญกว่าอื่นใดหนังสือเล่มนี้ได้รับเกียรติจาก เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ และ กวีซีไรต์ รัตนโกสินทร์เขียนจิตวิญญาณกวีด้วยความชื่นชม“ฝันเหนือตะวัน” ในรูปแบบ“โคลงสี่ป๋วย”ที่ประยูรคิดประดิษฐ์ฉันทลักษณ์ขึ้นใหม่เอง พร้อมจารึกผลงานจำนวนมากภายในช่วงโควิด-๑๙ระบาด “บทกวีคือเพชรพลอยของถ้อยคำอันเจียระไนจากผลึกของความคิด” ความคิดเกิดขึ้นได้ทุกวัน เหมือนลมหายใจที่อยู่กับเราตลอดเวลา ดังนั้นการได้บันทึกความคิดไว้ในรูปแบบของหนังสือจะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ดี ล้วนมีค่ายิ่งด้วยเป็นการ“กลั่นกรอง”ความคิดนั้นไว้ดีกว่าปล่อยให้ความคิดดีๆต้องหายไปในแต่ละวันเหมือนลมหายใจที่ปล่อยไปใจหายไปก่อนที่ใจจะไม่หายใจ “ฝันเหนือตะวัน”มีค่ายิ่งที่ได้บันทึกความรู้สึกนึกคิดในรูปบทกวีของประยูร อัครบวร 


 หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี หรือนามปากกา พ.ณ.ประมวญมารค เคยกล่าวถึงการแต่งหนังสือโดยเฉพาะร้อยกรองนั้นเปรียบได้กับการร่ายรำของตัวอักษร ก่อนจะปล่อยให้อักษรออกไปร่ายรำจึงต้อง “แต่งตัว”ให้งดงามที่สุดเสียก่อน โคลงสี่ป๋วยของประยูร อิงรูปแบบโคลงสี่ซึ่งมีเสียงวรรณยุกต์กับจังหวะคำเป็นแบบแผน ครั้นมาจัดรูปแบบใหม่ แต่ยังอิงฐานเดิมอยู่จึงเป็นปัญหาเรื่องความสละสลวยของเสียงกับจังหวะอยู่บ้าง แม้จะทำให้เขียนง่ายขึ้นก็ตาม รูปแบบกับเนื้อหาต้องเป็นเอกภาพกัน จะเน้นด้านใดด้านเดียวมิได้ ดังโวหารว่า รูปแบบคือสัมผัสคำ เนื้อหาคือสัมผัสใจ ดังนั้นบทกวีจึงต้องแต่งให้ “คล้องจอง-คล้องใจ” ขอชื่นชมความคิดอิสระของประยูร อัครบวร เพราะสิ่งนี้คือ จิตวิญญาณกวี.....
 ดร.ประยูร อัครบวร เขียนคำนำผู้เขียนด้วยจิตคารวะ ความรักความนับถือตัวแทนแห่งความดี ความซื่อสัตย์นั้นมีได้หลายรูปแบบ หลายบรรทัดฐาน ตามวิธีคิด ตามการศึกษาถึงภูมิหลัง ผู้เขียนเลือกยกย่อง ศาสตราจารย์ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ (อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีอายุน้อยที่สุด๔๓ปีและดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด๑๒ปีและยังเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์คนที่๑๐) ตามบริบทที่ท่านใช้ในการดำเนินชีวิต ท่านเป็นคนมีอำนาจบารมีที่สามารถไขว่คว้าตำแหน่งทางการเมือง และหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในขณะที่สังคมอ่อนแอที่เรียกว่าประเทศชาติด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา แต่ท่านกลับอุทิศตนเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงของประเทศในระยะยาว และเป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ท่านต้องใช้ชีวิตบั้นปลายจนเสียชีวิตในต่างประเทศ(ลอนดอน ประเทศอังกฤษ) เมื่อคิดเขียนโคลงสี่ในรูปแบบใหม่จึงคิดว่าให้เป็นเกียรติแก่อ.ป๋วยจึงตั้งชื่อโคลงนี้ว่า“โคลงสี่ป๋วย”เขียนครั้งแรกลงในวารสารสังคมศาสตร์ปริทัศน์ปีที่๑๘ฉบับที่๑ก.ค.-ธ.ค.๒๕๓๙มีรูปแบบและเนื้อหาดังนี้ 


 ๘๐ปีอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์:  ป๋วย   นามนี่นี้  ตราตรึง  อึ๊ง   แซ่ครูจึง  เกียรติก้อง  ภา  ภาพสวยซึ้ง สาดพื้น ดินนา  กรณ์ กอปรเกื้อพ้อง เศรษฐ์สร้างงานทวี  เสรี สง่าเงื้อม  เหิมหาญ   ไทย ต้านเผด็จการ ต่างด้าว ร่วม สร้างตำนาน สันติสุข  ใจ แข็งแกร่งกร้าว หยุดยั้งภัยขยาย  นาย ผิดบ่ย่อ ยอยก   เข้ม  ดั้งกระจก ส่องไซร้  เย็น ชื่นฉ่ำอก อ่อนน้อม นาแม่  ยิ่ง ยงคงไว้ เทิดไท้คุณธรรม์  สัน   ติภาพล้วน  ดีงาม  ติ เพื่อก่อความ ถูกต้อง ประชา  เรียงนาม ยกย่อง  ธรรม  นำราษฏร์ร้อง แซ่ซ้องยืนยง  คง  ลักษณ์ศักดิ์ศรี  คนกล้า รัก  แผ่เมตตา ทุกผู้   ครู ถือสัจจา  ยึดมั่น   ป๋วย  ดีโลกรู้  กู่ก้องเกริกไกร  
 โคลงสี่ป๋วยเหมาะกับยุคสมัยที่ผู้คนต้องการสื่อสารที่สั้นกระชับ ซึมซับได้รวดเร็ว พัฒนาโคลงสี่ป๋วยแปลงในรูปแบบที่ไร้วรรณยุกต์กำกับ เพื่อตอบสนองความรู้สึกของคนที่มีเสรีภาพในอารมณ์ ไม่ต้องการถูกจำกัดเหมือนเล่นดนตรีJazz ที่พัฒนาได้ตามใจปรารถนา


 ในสารบัญ แยกเป็นบริบทชีวิต,  อิทธิธรรม, กรรม-สังคมหลวม, ปราชญ์ร่วมสมัย, พิษภัยโควิด , โลก-ถูกผิด-ติดพัน, ฝันเหนือตะวัน,  ภาคผนวก ในบริบทชีวิตเขียนบทกวีถึงพ่อ แม่ พระประจำบ้าน บ้าน...เป็น...อยู่..คือ  ครอบครัว เพลงกล่อมลูก ลูกรัก วัยซน วัยเด็ก กำพร้า ลูกเจ๊กเด็กบ้านนอก เนื้อทอง วัยรุ่น วัยวุ่น ผมยาว เด็กเดิน แต่ละบทกลอนอ่านสบายๆได้ข้อคิด  ทำให้คนอ่านซึมซับความรักความเยื่อใยสายสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ดังนี้

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า


  พ่อ : เตเตี่ยปะป๊า   คุณพ่อ   พาพาป๋าก่อ   เกิดเกล้า แต๊ดแดดดี้ต่อ  ตระกูล    อีกป้อยอเย้า อยู่เหย้าเฝ้าเรือน  เตือนใจให้คิด   ถึงคุณ   บิดาอุดหนุน  อุ่นเอื้อ   แบกอุ้มคุ้มบุญ จุนเจือ  เก่งกิจเกิดเกื้อ   หล่อเลี้ยงวงศ์วาน  ขยันงานแจ้งจิต  ใจลูก  เมตตาพันผูก  มอบไว้ สอนสั่งฝังปลูก ความดี พระคุณขุนให้  แกร่งกล้าก้าวไกร ๑๐ส.ค.๒๕๖๓
 แม่ :  มามั้มแม่  มารดา   ม๊ะหมะมาตา   บ่งพ้อง  ออกเสียงมอม้า   ใกล้เคียง  คำเรียกคำร้อง  คลับคล้ายคลึงกัน ฝันเอยฝันดี  ขับกล่อม   พูดหวานตะล่อม ดับดื้อ   ปลอบเป่ากระหม่อม หลับใหล  ยามไข้แม่ซื้อ เก็บไว้อดทน   สนธิรักษ์ผูกพัน ยิ่งใหญ่  รักไร้เงื่อนไข  ขีดกั้น  พันธะหัวใจ แบ่งปัน พระคุณแม่นั้น  เทิดไหว้นิรันดร ๒๕เม.ย.๒๕๖๓
 ครอบครัว:  ครอบครัวดุจดัง ไม้ใหญ่  มีกิ่งก้านใบ แผ่กว้าง  ร่วมร่มห่มไพร ให้เย็น ผลดอกออกบ้าง ต่างสร้างรื่นรมย์ ชื่นชมร่มเงา พงพฤกษ์ รากล้วนลงลึก ทั่วด้าน ดั่งเครือญาติผนึก ปึกแผ่น แกนใจแก่นกร้าน เกิดได้ทุกหน ชนใดทายาท เข้มแข็ง คนชาตินั้นแกร่ง แน่นแฟ้น ไม่ต้องยื้อแย่ง แบ่งสุข  ดั่งไพรในแคว้น ร่มไม้ห่มเมือง ๗มิ.ย.๒๕๖๓


 ปิดทองท้ายเล่ม ขอสนับสนุนการอ่านหนังสือและสืบทอดวรรณกรรม อันเป็นสายใยแห่งความเจริญของวัฒนธรรมจึงขอมอบหนังสือนี้แด่....และขอให้พบความสุขในการอ่านหนังสือ “ฝันเหนือตะวัน”หากผู้ใดสนใจซื้อหนังสือเล่มนี้เป็นของขวัญช่วงเทศกาลปีใหม่ ติดต่อสั่งซื้อได้ที่มูลนิธิสถาบันวิชาการ๑๔ตุลา เลขที่๗๐๐/๓๕ถ.ศรีนครินทร์ แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กทม.๑๐๒๕๐  โทรศัพท์๐๘๙-๑๔๓๓๕๙๑และสำนักพิมพ์วิญญูชน๓๙/๒๐๐-๒๐๑ซอยวิภาวดีรังสิต๘๔ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน  เขตดอนเมือง กทม.๑๐๒๑๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒-๙๙๖๙๔๗๑-๓ โทรสาร ๐๒-๙๙๖๙๔๗๔(ปณ.รามอินทรา) และศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์