สมาพันธ์ครู-องค์กรเครือข่ายครูในภาคใต้ แต่งชุดดำ ส่งสัญญาณ ออกโรงคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. ...

สมาพันธ์ครู-องค์กรเครือข่ายครูในภาคใต้ แต่งชุดดำ ส่งสัญญาณ ออกโรงคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. ...





ad1

สมาพันธ์ครู-องค์กรเครือข่ายครูในภาคใต้ แต่งชุดดำ ส่งสัญญาณ ออกโรงคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. ...มีข้อบกมากต้องแก้ไข เป็น พรบ.รวมศูนย์อำนาจ เอื้อเอกชนมากที่สามารถอกชนเทคโอเวอร์โรงเรียนรัฐบาลพร้อมกับทรัพยากรของรัฐ  แถมยังเปิดดอกาสให้รัฐบาลซื้อบริการทางการศึกษาด้วย

นายประทุม เรืองฤทธิ์ ประธานสมาพันธ์ครูภาคใต้ เปิดเผยเครือข่ายครูภาคใต้ได้แต่งชุดดำเพื่อส่งสัญญาณคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ..... ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้วที่จะเข้าสู่วาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภาระหว่างวันที่ 10-11 มกราคม 2565 จากพรบ.นี้ครูทั่วประเทศมีความกังวลเพราะจากเนื้อหาบางส่วนใน พรบ. ที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียน การศึกษาและวิชาชีพ ฯลฯ  ซึ่งยังมีข้อบกพร่องและเป็นจุดอ่อนจำนวนมากที่ควรได้รับการปรับปรุงและแก้ไขของการกระทำของฝ่ายที่มีอำนาจครั้งนี้ 

นายประทุม กล่าวอีกว่า ทางสมาพันธ์ครูภาคใต้ มองว่ามิใช่เป็นกฎหมายปฏิรูป และยังไม่ควรเอาอนาคตของชาติมาเสี่ยง  จึงต้องควรหยุดชะลอไว้ก่อน เนื่องจากเป็นปลายสมัยประชุม และมิใช่คือผลงานที่การันตีได้ว่าคือผลงานที่ดีได้ 

และก็ควรเปิดโอกาสเข้าสู่โหมดการเลือกตั้งก่อนและนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาที่ดีของแต่ละพรรคการเมือง โดยให้ประชาชนเป็นผู้เลือกและไว้วางใจต่อไปสำหรับ พรบ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้

นายประทุมกล่าวว่า   เช่น ในประเด็นดังนี้ 1. เป็น พ.ร.บ.มุ่งการรวมศูนย์อำนาจมากกว่าการกระจายอำนาจ มีลักษณะแบบซิงเกิ้ลคอมมาน ไม่ตอบโจทย์ของวิถีประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมในยุคสมัยใหม่ที่เน้นการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม 

2. เป็น พ.ร.บ.เอื้อให้เอกชนเกินไป เปิดช่องให้เอกชนสามารถเทคโอเวอร์โรงเรียนของรัฐและใช้ทรัพยากรของรัฐได้ และให้รัฐซื้อบริการทางการศึกษา อันเป็นการย้อนแย้งกับแนวทางที่การจัดการศึกษาควรจะเป็นรัฐสวัสดิการ ที่แต่ละรัฐพึงมีในการจัดการศึกษาให้กับประชาชนภายในชาติ 

นายประทุม กล่าวอีกว่า โดยหากมองผ่านกรอบการศึกษาของผู้มีอำนาจมองว่าการจัดการศึกษาเป็นภาระทางด้านงบประมาณ จึงจำเป็นว่าต้องทำทุกวิถีทางเพิ่มลดภาระนี้จึงเป็นแนวคิดที่ผิดพลาด

3. เป็น ร่าง พ.ร.บ. มุ่งควบคุมมาตรฐานทางวิชาชีพ ลดสถานะทางวิชาชีพ อันเนื่องมาจากมองว่าเป็นภาระงบประมาณและการศึกษาที่ตกต่ำ ไม่คุ้มทุน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ในการออกแบบให้ครูทำงานในหน้าที่ตนเองได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย การใช้โรงเรียนเป็นฐานในการสร้างผลงาน สนองตอบต่อวิธิคิดของกน่วยบังคับบัญชา และการทำให้โรงเรียนเป็นตลาดกลไกการเมือง ต่างหากเป็นตัวบั่นทอนคุณภาพทางการศึกษา 

4. การลดสถานะขององค์กรวิชาชีพครูไม่ให้ความสำคัญของ องค์กรวิชาชีพ อย่างคุรุสภา และสกสค.ที่เป็นองค์กรทางวิชาชีพที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง อย่างเช่นวิชาชีพอื่นๆ 

5. การวางแนวในองค์คณะบุคคลในรูปแบบคณะกรรมการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ ขาดการส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะของการสั่งการแนวดิ่งมากกว่าการมีส่วนร่วม

6. ร่าง พ.ร.บ. การศึกษาฉบับนี้ แม้ว่าในบางประเด็นอาจจะดูดึ แต่ภายใต้ภาพรวมกลับแฝงเร้นด้วยแนวทางรวมศูนย์ของรัฐราชการอยากต่อการให้เกิดการพัฒนาที่หลากหลายในมิติทางสังคม 

7. เป็น ร่าง พ.ร.บ.มิได้มีหลักประกันทางสิทธิของผู้ที่ประกอบวิชาชีพอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งต้องเผชิญภัยต่อไปใน กฏหมายลูกที่จะเกิดตามมา หากกฏหมายแม่ คือ พ.ร.บ.ฉบับนี้มิได้กำหนดไว้ ย่อมมีความเสี่ยงตามมาในอนาคตในการตีความหรือบัญญัติตามความเข้าใจของอำนาจในแต่ละเวลา.