บุญข้าวจี่เดือนสามมหัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ สืบทอดประเพณีให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นเมืองศรีสะเกษ

บุญข้าวจี่เดือนสามมหัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ สืบทอดประเพณีให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นเมืองศรีสะเกษ





ad1

ศรีสะเกษ-"นพ"รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดจัดงานบุญข้าวจี่เดือนสามมหัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ สืบทอดประเพณีให้คงอยู่คู่ท้องถิ่นเมืองลำดวน "ประเพณีบุญข้าวจี่"เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญในการบูชาข้าวจี่ เพราะมีความเชื่อว่าการถวายข้าวจี่มีอานิสงฆ์มาก  

 นายนพ พงศ์ผลาดิสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ได้เดินทางมาเป้นประธานเปิดงานประเพณีบุญข้าวจี่มหัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ ประจำปี 2566 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ โดยทีพี่น้องประชาชน หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชนร่วมในงาน อย่างคับคั่ง

นพ พงศ์พลาดิสัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

นายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ กล่าวว่า อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มีประเพณีที่ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ "ประเพณีฮีตสิบสอง" พุทธศาสนิกชนชาวอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาในเดือนสามของทุกปี คือ "ประเพณีบุญข้าวจี่"เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญในการบูชาข้าวจี่ เพราะมีความเชื่อว่าการถวายข้าวจี่มีอานิสงฆ์มาก  

สุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ

อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณร่วมกับสภาวัฒนธรรมอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชาวอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ได้กำหนดจัดงาน "ประเพณีบุญข้าวจี่มหัศจรรย์ของดีโพธิ์ศรีสุวรรณ ขึ้นในวันนี้ ณ สนามที่ว่าการอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  โดยมีขบวนแห่ข้าวจี่ยักษ์ ของตำบลต่างๆ ภายใต้ชื่อว่าข้าวจี่มหัศจรรย์ มาประกวดมี่หน้าอำเภอ นอกจากนั้น ในงานยังมีการรายรำของแม่บ้านประมาณ500คน ในลีลาของชาวอีสาน เพื่อเป็นการสืบสานศิลปการร่ายรำของท้องถิ่นของชน "เผ่ากูย" และลาวเอาไว้ อีกทั้งสร้างสีสรรในงานด้วย ท่ามกลางอากาศทีละมุนละไม

อภิศักดิ์ แซ่จึง รองนายก อบจ.ศรีสะเกษ มอบเงิน 100,000 สนับสนุนงาน

โดยภายในงานมีการประกวดสินค้าเกษตร การประกวดไก่พ่อพันธ์พื้นเมือง การจำหน่ายสินค้า OTOP การประกวดธิดาข้าวจี่ การประกวดขบวนแห่ข้าวจี่ การประกวดทำข้าวจี่ลีลา การแข่งขันปิดตากินข้าวจี่ลีลา การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งอีสาน/ลูกทุ่งหมอลำ ประเภทเยาวชน และประเภทบุคคลทั่วไปพร้อมหางเครื่อง การแข่งขันส้มตำลีลาพร้อมกองเซียร์ การแช่งขันสาวไหมพร้อมกองเซียร์ การจัดกิจกรรมตลาดโบราณ โพธิ์ศรีมีสุข หมู่บ้านพัฒนายั่งยืน Sustainable  Village และการจัดกิจกรรมวิ่งโพธิ์ศรีสุวรรณ มินิมาราธอน "แล่นเอาบุญ 2023" ปี 2

ทั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายอำเภอบำบัดทุกข์ บำรุงสุข หมู่บ้านพัฒนายั่งยืน Sustainable Village ของกระทรวงมหาดไทย ส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชนให้คงอยู่สืบไป ส่งเสริมการท่องเที่ยว เสริมสร้างความสามัคคี ปรองดอง ในชุมชน ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชุมชน และเพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับชุมชน ให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น

สำหรับความเป็นมาของบุญข้าวจี่เดือนสาม  

บุญข้าวจี่ เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นจากความสมานสามัคคีของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทำบุญร่วมกันโดยช่วยกัน"ปลูกผาม"หรือ"ปรำพิธี"เตรียมไว้ในตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมา ชาวบ้านจะช่วยกัน"จี่ข้าว"หรือปิ้งข้าว และตักบาตร"ข้าวจี่" ร่วมกันหลังจาก นั้นจะนิมนต์พระเทศน์ "นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสี " ซึ่งเป็นนางทาสเป็นเสร็จพิธี

พิธีกรรมนั้นมูลเหตุจากความเชื่อทางพุทธศาสนา เนื่องจากสมัยพุทธกาล มี"นางทาส"ชื่อปุณณภาสี ได้นำแป้งข้าวจี่แป้งทำขนมจีนไปถวายพระพุทธเจ้า แต่จิตใจของนางคิดว่าขนมแป้งข้าวจี่เป็นขนมของผู้ต่ำต้อยพระพุทธเจ้าคงไม่ฉัน ซึ่งพระพุทธเจ้าหยั่งรู้จิตใจนางจึงทรงฉันแป้งข้าวจี่ ทำให้นางปิติดีใจ

ชาวอีสานจึงเอาแบบอย่าง พัฒนา มาเป็นการปิ้งข้าวที่นิยมกินข้าวเหนียว จึงทำ "ข้าวจี่" ข้าวเหนียว ถวายพระภิกษุสงฆ์ คืบคลานมาถึงทุกวันนี้ เนื่องจากในเดือนสามอากาศใน อีสานอยู่ในฤดูหนาวพอดี ในตอนเช้าชาวบ้านมักก่อไฟผิงเอาความอบอุ่น ขณะเดียวกัน ก็ย่างข้าวจี่ เพื่อรับประทานไปด้วย สำหรับการทำข้าวจี่นั้นไม่ยาก โดยการนำข้าวเหนียวไปแช่น้ำไว้1คืน เพื่อให้อ่อนแล้วเอาไปนึ่งข้าวเหนียวจะนิ่ม จากนั้นเอามาปั้นเป็นก้อนกลมเอามือกดทำให้แบนโรยเกลือสินเธาว์ เอา ย่างไฟ สลับกับมาชุปไข่ไก่ แล้วปิ้ง ย่างให้แห้งหมาดๆ  แล้วรับประทานไปด้วย ส่วนหนึ่งเก็บไว้ใส่บาตรพระ  ทั้งปลาย่าง,ปลาร้า,ผักข้างรั้วด้วย

พอถึงวันนัดหมาย วันทำบุญข้าวจี่"ทุกครัวเรือนในหมู่บ้านจะจัดเตรียมข้าวจี่ตั้งแต่ตอนย่ำรุ่งของวันนั้นเพื่อให้ข้าวจี่สุกหันทันใส่บาตรจังหันนอกจากข้าวจี่แล้วก็จะนำ"ข้าวเกรียบ"ทั้งที่ยังไม่ย่างเพื่อให้พระเณรย่างฉันเอง และ ที่ย่างไฟจนโป่งพองใส่ถาดไปด้วยพร้อมจัดอาหารคาวไปถวายพระที่วัด ข้าวจี่บางก้อน ผู้เป็นเจ้าของได้ยัดไส้ด้วยน้ำอ้อยแล้วทาด้วยไข่เพื่อให้เกิดรสหวานหอมชวนให้น่านรับประทาน ครั้นถึงศาลาโรงธรรม พระภิกษุสามเณรทั้งหมดในวัดจะมาที่ศาลาที่ญาติโยมที่มารวมกันอยู่บนศาลาก่อนแล้วประธานในพิธีเป็นผู้อาราธนาศีลพระภิกษุให้ศีลญาติโยมรับศีลแล้วกล่าวคำถวายข้าวจี่จากนั้นก็จะนำข้าวจี่ใส่บาตรพระซึ่งตั้งเรียงไว้เป็นแถวเท่าจำนวน เณรพร้อมกับถวายปิ่นโตสำรับกับข้าวคาวหวานเมื่อพระฉันจังหันเทศน์เสร็จแล้วก็ให้พร พระโยมรับพรเป็นเส็จพิธี

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน