“อรรถพล” รก.อธิบดีกรมอุทยานฯเปิดใจพลิกวิกฤติศรัทธาสำเร็จ-รายได้เพิ่มกว่า 3 เท่า

“อรรถพล” รก.อธิบดีกรมอุทยานฯเปิดใจพลิกวิกฤติศรัทธาสำเร็จ-รายได้เพิ่มกว่า 3 เท่า





ad1

หลังจากที่ได้เข้ามารักษาการในตำแหน่ง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช มาระยะเวลาหนึ่งแล้ว อรรถพล เจริญชันษา ในฐานะที่มีอีกหมวกใบหนึ่งคือ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่ด้วยนั้น ได้เปิดเผยถึงการทำงานที่ผ่านมาว่า เรื่องเร่งด่วนที่ต้องกระทำในช่วงแรกของการรักษาการ

ประการแรกคือการฟื้นศรัทธาของประชาชนจากวิกฤติองค์กรที่ผ่านมา เนื่องจากการคอรัปชั่น  จนทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรแห่งนี้ ถูกผลกระทบไปตามสมควร  นอกจากนั้นแล้ว ความเร่งด่วนที่จะต้องสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น ก็สำคัญเช่นกัน

นอกจากนั้นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งทำคือการป้องกันการลักลอบตัดไม้ การลักลอบขโมยไม้ที่มีราคาสูง เช่นไม้กฤษณา ไม้ชิงชัน ไม้พยุง  ซึ่งก่อนหน้าที่จะเข้ามาในตำแหน่งนี้มีการลักลอบทำอย่างมาก

ในช่วงแรกที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนี้ หนักพอสมควร แต่หลังจากที่จัดการเรื่องแต่งตั้งโยกย้ายไปแล้ว  มีการเยียวยาผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ทำให้ทุกอย่างดีขึ้น การบริหารด้านงบประมาณให้เป็นธรรมก็ทำได้อย่างถูกต้อง  การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเริ่มขึ้น คนที่ทำงานได้อย่างดีต้องได้รับผลตอบแทน ในขณะที่คนทำงานไม่ดีก็จะต้องมีการปรับเปลี่ยนและโยกย้าย จะต้องมี Career Path ที่ดี มีธรรมาภิบาล มีคุณธรรมกำกับอยู่ด้วย เพื่อมิให้มีการร้องเรียน

ในส่วนของการคัดเลือกคนที่ไปทำงานในแต่ละส่วน ทั้งรักษาพรรณป่าไม้  หรือรักษาอุทยานสัตว์ป่า  จะต้องได้คนที่ดีมีคุณธรรม และมีความสามารถเข้าไปดูแลที่จะต้องมีการคัดเลือกกันอย่างดี  ในขณะที่ประชาชนที่จะเข้าไปหาผลประโยชน์จากการเก็บพรรณไม้ ในอุทยาน ก็จะต้องมีการดูแลอย่างดีมิให้มีการละเมิด จนมีกรณีผิดกฎหมายขึ้น หรือแม้แต่การกำกับควบคุมมิให้นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในเขตอุทยานให้อยู่ในอัตราที่พอเหมาะก็จะต้องกระทำ

 ข้อสำคัญคือ ความโปร่งใสของการจัดเก็บเงินรายได้ผู้ที่เข้ามาชมในเขตอุทยาน ก็จะต้องเอื้อต่อการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง มิให้เกิดเบี้ยบ้ายรายทางขึ้น  ช่วงแรกที่ผมเข้ามาใหม่ๆนั้น มีรายได้เพียง 300 ล้าน  แต่ตอนนี้ขึ้นไปเป็น 1,000 ล้านแล้ว

เกี่ยวกับเรื่องไฟป่า ก็มีการพูดจากกับประเทศเพื่อนบ้าน หลายครั้งหลายคราแล้ว  จนปัจจุบันมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย PM 2.5 เกิดขึ้นมาจากประเทศเพื่อนบ้าน  เช่นการใช้โดรน การใช้ดาวเทียมเข้ามาวิเคราะห์ เกี่ยวกับผลกระทบ  ถือได้ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ เช่น AI เข้ามาใช้กับงานด้านนี้แล้ว กรณีช้างป่านั้น

ขณะนี้ได้ดำเนินการตั้งชุดปฏิบัติการ ลดความรุนแรง ช่วยเหลือช้างป่า ใช้เทคโนโลยี โดรนเข้ามาใช้ มีชุดเฝ้าระวังจากประชาชนที่เข้ามาช่วย มี 172 ชุดใน 13 กลุ่มป่าที่เฝ้าระวังในขณะนี้  นอกจากนั้น ยังมีการเตรียมการ ที่จะใช้โดรนเพื่อยิงลูกดอกยาสลบ เข้าใส่ช้าง เพื่อปรามให้ ช้างมีอาการสงบลง ไม่ทำลายผู้คนอีกด้วย