รองมทภ.4 เร่งรัดดำเนินคดีกลุ่มอยู่เบื้องหลังหนุนกิจกรรมของ"ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ"ทำประชามติที่เกี่ยวข้องกับเอกราชปาตานี

รองมทภ.4 เร่งรัดดำเนินคดีกลุ่มอยู่เบื้องหลังหนุนกิจกรรมของ"ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ"ทำประชามติที่เกี่ยวข้องกับเอกราชปาตานี





ad1

ปัตตานี-รองแม่ทัพภาคที่ 4 ชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินคดี กรณีการทำกิจกรรมของ "ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ"เบื้องต้นตั้งคณะทำงานทางกฎหมายประชุมหารือแล้ว2ครั้งใช้ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์เพื่อให้เกิดความสงบสุข

วันนี้( 21 มิถุนายน 2566)จากกรณีมีการเคลื่อนไหวจัดกิจกรรของขบวนการนักศึกษาแห่งชาติปาตานี มีการออกแบบจำลองลงคะแนนบัตรประชามติแยกอิสระ ก่อนที่จะมีการเปิดเวทีเสวนาทางวิชาการหัวข้อการกำหนดอนาคตตัวเอง จนกลายเป็นประเด็นร้อนเมื่อหน่วยความมั่นคงกลับมองเป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมายมาตราหนึ่งของรัฐธรรมนูญไทย จึงอาจมีการดำเนินคดีกับผู้ที่้กี่ยวข้อง ขณะที่มีการออกมาเคลื่อนไหวของนักศึกษา และองค์กรภาคประชาสังคม เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับผู้เกี่ยวกับเหตุกรณีดังกล่าวเป็นเพียงแค่จำลองแบบสอบถาม

ล่าสุดวานนี้เมื่อเวลา 15.30 น. ณ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พลตรี ปราโมทย์  พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ในประเด็นการทำกิจกรรมของ "ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ" จัดทำประชามติที่เกี่ยวข้องกับเอกราชปาตานี ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ที่ผ่านมา

พลตรี ปราโมทย์  พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เปิดเผยว่า "สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งหนึ่งที่ปวงชนชาวไทย สามารถที่จะกระทำได้ และเป็นสิ่งที่ภาครัฐให้การส่งเสริมสนับสนุน สิทธิขั้นพื้นฐานของพี่น้องประชาชน อย่างไรก็ตาม สิทธิและเสรีภาพต้องไม่ล้ำสิทธิ์ของผู้อื่น และต้องไม่ละเมิดต่อกฎหมาย ฉะนั้นในการเคลื่อนไหวแสดงออกทางความคิดหรือแสดงออกทางการเมืองที่อยู่ภายใต้หลักกฏหมาย ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ปวงชนชาวไทยทุกคนสามารถกระทำได้ แต่เมื่อมาดูถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนสะท้อนว่าเป็นงานทางวิชาการ เป็นการจำลองสถานการณ์

แต่หากมองว่าเป้าหมายของการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงมาตลอด 19 ปีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเป้าหมายคืออะไร คงไม่แค่เพื่อทดลองปฎิบัติ และคงไม่มีเป้าหมายเพื่อสนทนาทางวิชาการ แต่เป้าหมายที่เขาต้องการคือการแบ่งแยกดินแดน โดยมีการเคลื่อนไหวมาโดยลำดับ ไม่เฉพาะการเคลื่อนไหวด้านความรุนแรงเท่านั้น แต่อีกด้านที่สังคมมองไม่เห็น คือการต่อสู้ทางการเมือง การต่อสู้ทางความคิด เพราะฉะนั้นแนวทางและบทบาทในการดำเนินงานของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งเป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการแก้ไขปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกมิติ ทั้งด้านความมั่นคง การพัฒนา และการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในพื้นที่โดยการใช้มาตรการทางกฎหมาย จึงจำเป็นจะต้องเข้าดำเนินต่อทุกการกระทำที่เข้าข่ายการกระทำที่ผิดกฎหมาย สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต้องให้ความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยนโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4 ได้เน้นย้ำให้ใช้ทั้งหลักนิติศาสตร์และหลักรัฐศาสตร์ภายใต้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ด้วยความระมัดระวังและ รอบคอบที่สุด และให้อยู่ในอำนาจหน้าที่ทางกฎหมาย ที่จะต้องดำเนินการด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการทางด้านกฎหมายขึ้น และมีการประชุมกันหลายครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินคดีต่อผู้ที่เข้าข่ายกระทำความผิดต่อไป"

นอกจากนี้ พลตรี ปราโมทย์  พรหมอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ยังได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเพิ่มเติมถึงประเด็นการถอนกำลังทหารภายในปี 2570 และ การลดการใช้กฎหมายเพื่อความมั่นคง ว่า "จริงๆ แล้วการถอนกำลังทหารออกนอกพื้นที่ ได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งจะเห็นว่าในระยะแรกของการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงได้มีทหารจากกองทัพภาคที่ 1 , กองทัพภาคที่ 2 และ กองทัพภาคที่ 3 มาช่วยในการดูแลพื้นที่ แต่ในปี 2559 เป็นต้นมา ได้มีการถอนกำลังเหล่านั้นกลับไปเหลือเพียงกำลังจากกองทัพภาคที่ 4 โดยกองพลทหารราบที่ 15 และได้ดำเนินการปรับลดอัตราลงเรื่อยๆ ปัจจุบันเหลือกำลังที่ปฏิบัติงานในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เพียง 49,995 อัตรา