ชมรมนายทหารฯนำสมาชิกทัวร์บุญวัดญาณเสน ชมเครื่องทองสมัยอยุธยา ณ.พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ชมรมนายทหารฯนำสมาชิกทัวร์บุญวัดญาณเสน ชมเครื่องทองสมัยอยุธยา ณ.พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จ.พระนครศรีอยุธยา





ad1

ชมรมนายทหารอาวุโส กองบัญชาการ กองทัพไทย นำโดย “พลอากาศเอก ชาญชัย ชาญชิดชิงชัย” นำพาสมาชิกทัวร์บุญทอดผ้าป่า ถวายพัดลม สังฆทาน ณ วัดญาณเสน ต.โก่งธนู อ.เมืองลพบุรี โดยมีพระครูสันติญาณประยุต (เจ้าอาวาส) วัดญาณเสน เป็นประธานในการรับผ้าป่า

เที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย ใกล้กับศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (หลังเก่า )เยื้องมหาวิทยาลัยราชภัฏ พระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2502 โดยใช้เงินที่ประชาชนเช่า พระพิมพ์ซึ่งขุดได้จาก กรุวัดราชบูรณะที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา) ทรงสร้าง จึงให้ชื่อว่า " เจ้าสามพระยา" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ เมื่อปีพ.ศ.2504 พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติเจ้าสามพระยา เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีรูปแบบการจัดแสดงแผนใหม่

 คือ นำโบราณวัตถุมาจัดแสดงไม่มากจนแน่นและได้นำ เสนอดูน่าสนใจมาก สภาพอาคารเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์สิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่เคยประดิษฐานในซุ้ม พระสถูปโบราณวัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐมซึ่งกรมศิลปากรได้พยายามติดตาม ชิ้นส่วนต่าง ๆขององค์พระที่กระจัดกระจายไปอยู่ในที่ต่าง ๆ มาประกอบขึ้นเป็นองค์พระได้อย่างสมบูรณ์นับว่าเป็น พระพุทธรูปที่มีค่ามากองค์หนึ่งพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยาเปิดให้ชมทุกวัน เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 16.00 น.

ตัวพิพิธภัณฑ์ ประกอบด้วย อาคารหลัก 3 อาคาร 1. หมู่อาคารเรือนไทย สร้างคร่อมอยู่บนสระ จัดแสดงเพื่อรักษารูปแบบเรือนไทยแบบภาคกลาง และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในเรือนอาศัยของคนไทยภาคกลางในอดีต

2. อาคารศิลปะในประเทศไทย เป็นอาคาร 2 ชั้น จัดแสดงศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่รวบรวมได้จากจังหวัดอยุธยา เช่น สมัยทวารวดี (พระพุทธรูปหินประทับยืนบนหัวของพนัสบดี พระพุทธรูปสำริดประทับยืนปางประทานพร) สมัยศรีวิชัย (เศียรพระสำริด) สมัยลพบุรี (พระพุทธรูปสำริดปางประทานพร ปางนาคปรก พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร) สมัยสุโขทัย (เครื่องกระเบื้องเคลือบต่าง ๆ โดยเฉพาะตุ๊กตา) สมัยเชียงแสน สมัยอยุธยา (ฐานพระพุทะรูปทำจากดินเผา มีรูปพระแม่ธรณี และเศียรพระพุทธสาวกที่ทำจากดินเผา) สมัยรัตนโกสินทร์ (แผ่นหินอ่อนจำหลักเรื่อง รามเกียรติ์ จากวัดโพธิ์)

3. อาคารตึกเจ้าสามพระยา เป็นอาคารหลักที่สำคัญที่สุด เพราะเก็บศิลปวัตถุอยุธยาชิ้นที่ถือว่าสำคัญ ๆ ไว้มาก

พร้อมทั้งยังได้นำสมาชิกเที่ยวชมจับจ่ายตลาดนัดครูจันทร์เพ็ญ ณ บริเวณข้างวัดเขียนลาย หมู่ 4 ต บ้านแพรก อ บ้านแพรก จ พระนครศรีอยุธยา บริหารงาน โดย ร.ต.โสภณ สาสกุล โทร 0818070801