รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เผยไม่มีงานวิจัยชี้ชัดใบมะละกอรักษามะเร็งในคนได้

รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เผยไม่มีงานวิจัยชี้ชัดใบมะละกอรักษามะเร็งในคนได้





ad1

เมื่อเวลา19.40 น.วันนี้ 29 ธ.ค.66  ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า  จากรณีที่ รมต.สมศักดิ์ เทพสุทิน   นำเรื่องน้ำมะละกอรักษามะเร็ง  มาเผยแพร่ และเป็นที่สนใจมากแก่ประชาชน   เนื่องจากเป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องปีใหม่   ได้ประสาน สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  กับ  ภญ.ดร.สุภาภรณ์  ปิติพร เลขาธิการ และประธานกรรมการบริหารฝ่ายพัฒนาภูมปัญญาไทย  มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี 

ภญ.ดร.สุภาภรณ์  เปิดเผยว่า     ในส่วนของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  ไม่ได้ได้นำมะละกอมาใช้ในทางสมุนไพร  หรือ  ใน การักษา   เพียงแต่เก็บรวบรวมงานวิจัย   ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ใบมะละกอ  ไม่มีงานวิจัยในคน ว่ารักษามะเร็งได้ มีเพียงประสบการณ์การใช้ ในผู้ป่วยบางราย  ไม่แนะนำให้ใช้เป็นการรักษาหลัก     ในการศึกษาในหลอดทดลอง พบฤทธิ์ต้านมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลิ้น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มี่พิษต่อเซลปกติ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัว  และต้านการแพร่กระจายของเซลมะเร็ง    ลดการอักเสบ  ต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิคุ้มกัน 

ขนาดการใช้ ที่เคยมีรายงานการใช้ในคน    เคสผู้ป่วยหญิง อายุ 47 ปี เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร กระจายไปตับอ่อน   ใช้ใบมะละกอแห้ง 1 ใบ ต้มกับน้ำสะอาด 3 ลิตร จนกระทั่งน้ำแห้งเหลือ 750 มิลลิลิตร   ดื่มน้ำต้มใบมะละกอวันละ 750 มิลลิลิตร (ไม่ได้ระบุว่าเปลี่ยนใบใหม่ทุกวันหรือไม่ คาดว่าน่าจะเปลี่ยนใบใหม่ทุกวัน) หลังกิน 3 เดือน เว้น 3 เดือน 2 รอบ ตรวจไม่พบการกระจายของมะเร็งไปที่ตับอ่อน และค่าบ่งชี้มะเร็งลดลง และมีการติดตามต่อ (ไม่ทราบระยะเวลา)ไม่พบการกลับเป็นซ้ำ

ภญ.ดร.สุภาภรณ์  ปิติพร

old female with stomach cancer metastasized to the pancreas.J08). The Case 1 was a 47-year  She drank about 750 mL of papaya leaf extract everyday (onedried papaya leaf was boiled in a wooden vessel with 3000 mL

นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์การใช้สารสกัดน้ำจากใบ   of water until concentrated to 750 mL) for two 90-day periods   with a 90 days break between two periods. The pancreatic   มะละกอ ช่วยยืดอายุการอยู่รอดของผู้ป่วยมะเร็งหลายชนิด   metastases were seen disappeared, the tumor marker, carcino-  embryonic antigen, dropped from 49 to 2.3, and the alpha-  ให้นานขึ้น เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร ตับอ่อน เต้านม ปอด   fetoprotein dropped from 369 to 2.0, with no relapse found
after. The other cases were testified without any specifie data;  ตับ เม็ดเลือด แต่ไม่มีรายละเอียดเคสชัดเจน    however, long-term survival was observed for five lung cancer
(  https://koreascience.kr/article/JAK )

และยังระบุต่อไปว่า     ...       ถ้ามีการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม และตีพิมพ์ จะมีประโยชน์มาก    เคอซิติน (Quercetin) มีฤทธิ์หลายอย่าง เช่น ต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง   https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37513932/

และกล่าวต่อไปว่า      งานวิจัย เรื่อง ใบมะละกอ รักษาโรค    ตอนที่ 2 งานวิจัยที่ตีพิมพ์ช่วง ปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2566

21. ปี พ.ศ. 2560 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่ออสเตรเลีย พบว่า น้ำใบมะละกอสกัด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28249253/)

22. ปี พ.ศ. 2560 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่อินโดนีเซีย พบว่า น้ำใบมะละกอ มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม 
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29023013/)
23. ปี พ.ศ. 2561 การวิจัยเชิงทดลองในคนเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ 60 คน ที่ออสเตรีย พบว่า สารสกัดใบมะละกอ มีฤทธิ์ลดอาการปวดท้องได้ดีกว่ายาหลอก อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29604620/)

24. ปี พ.ศ. 2561 การวิจัยเชิงทดลองในเด็กนักเรียน ที่เคนย่า จำนวน 326 คน พบว่า การให้เมล็ดมะละกอ บดผสมในข้าวต้ม กินนาน 2 เดือน สามารถลดจำนวนพยาธิไส้เดือน และลดจำนวนพยาธิเส้นด้าย ได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน (อัลเบนดาโซล) และทำให้ลดปัญหาโลหิตจางลงได้ (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30526582/)

25. ปี พ.ศ. 2561 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ สหรัฐอเมริกา รายงาน กรณีศึกษา ผู้ป่วย เพศชาย อายุ 76 ปี เคยเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก รักษาจนโรคสงบ มานาน 10 ปี ต่อมาป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเรื้อรัง เขาไม่ใช้การรักษาแบบแผนปัจจุบัน แต่ไปกินสารสกัดจากใบมะละกอ และสารสกัดจากรากต้นดันดิไลอ้อน ร่วมกับอาหารเสริมและสมุนไพรหลายชนิด พบว่า โรคสงบลง และผลตรวจเลือดและไขกระดูก เป็นปกติ ตลอดระยะ 10 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30662779/)

26. ปี พ.ศ. 2562 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่บราซิล พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะละกอ ขนาดความเข้มข้น 566 มิลลิกรัมต่อซีซี มีฤทธิ์ยับยั้งการฟักไข่ ของพยาธิชนิด          สตรองจิรอยด์ ได้ดีกว่ายาไอเวอร์เมคติน
 (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31778389/)

27. ปี พ.ศ. 2562 นักวิจัยของบราซิล สังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยหลายงาน พบว่า ใบและเมล็ดมะละกอ  มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาล ความดันโลหิต และไขมัน (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/31315213/)

28. ปี พ.ศ. 2562 การวิจัยในหนูทดลอง ที่อิตาลี พบว่า น้ำหมักใบมะละกอ มีฤทธิ์ ลดขนาดของก้อนมะเร็งผิวหนัง ลงได้ 3 ถึง 7 เท่า มากกว่ากลุ่มควบคุม และตรวจเลือดพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระเพิ่มสูงขึ้น 
 (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30669508/)

29. ปี พ.ศ. 2563 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่กาน่า พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะละกอ มีฤทธิ์ฆ่าพยาธิตัวกลม ได้ดีกว่า สารสกัดจากใบ และลำต้นของมะละกอ และดีกว่ายาแผนปัจจุบันอัลเบนดาโซล 
 (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32508958/)

30. ปี พ.ศ. 2563 การวิจัยเชิงทดลองแบบมาตรฐาน (RCT) ในคนที่เป็นไข้เลือดออกและมีเกร็ดเลือดต่ำ จำนวน 51 คน ที่อินเดีย  พบว่า กลุ่มที่ได้สารสกัดจากใบมะละกอ ได้ผลดีกว่ากลุ่มควบคุม หายเร็วกว่า มีเกร็ดเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่า อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32074143/)

31. ปี พ.ศ. 2563 การวิจัยในหนูทดลอง ที่ปากีสถาน พบว่า สารสกัดจากเมล็ดมะละกอ มีฤทธิ์ฟื้นฟูไขกระดูก ที่ถูกทำลายจากยาเคมีบำบัด (ด๊อกโซรูบิซิน) ได้ ทำให้การสร้างเม็ดเลือดและระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33867343/)

32. ปี พ.ศ. 2565 การวิจัยในหลอดทดลอง ที่อินเดีย พบว่า สารสกัดจากใบมะละกอ ทั้งจากต้นมะละกอตัวผู้ และตัวเมีย มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งช่องปาก (อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/37283020/)

33. ปี พ.ศ. 2565 นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยซินซินเนติ สหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์กรณีศึกษา ผู้ป่วย เพศชาย อายุ 43 ปี เป็นโรคมะเร็งสมองชนิดร้ายแรง (GBM) หลังจากได้รับการรักษาด้วยการฉายแสงและเคมีบำบัด ทำให้เกร็ดเลือดลดต่ำลงอย่างมาก ไม่สามารถรักษาต่อได้ แพทย์จึงให้สารสกัดใบมะละกอ ขนาด 1 ช้อนโต๊ะ (1,000 มิลลิกรัม) วันละ 2 ครั้ง ให้เพียง 2 วัน ระดับของเกร็ดเลือดก็เพิ่มสูงขึ้นทันที จนสามารถดำเนินการรักษาต่อไปได้ ก้อนมะเร็งเล็กลง ปัจจุบันผู้ป่วยยังคงรับประทานน้ำสกัดใบมะละกอ และไม่มีผลเสียใดๆ
(อ้างอิง https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/34984951/)

โดย...มานิตย์  สนับบุญ /ปราจีนบุรี