"สำราญ"นำศาสตร์พระราชา “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”ติวเข้มอาสาพัฒนาชุมชนตำบลรัษฎา-ภูเก็ต

"สำราญ"นำศาสตร์พระราชา  “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”ติวเข้มอาสาพัฒนาชุมชนตำบลรัษฎา-ภูเก็ต





ad1

เมื่อวันที่ 23 ก.พ.67 ณ ห้องประชุมโรงแรมชีเบด แกรนด์  ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายนครินทร์ ยอแสงรัตน์ นายกเทศมนตรีตำบลรัษฎา ประธานเปิดอบรมโครงการดำเนินงานอาสาพัฒนาชุมชนตำบลรัษฎา โดยมีนายสำราญ สินธ์ทอง ที่ปรึกษากรรมาธิการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร/ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ตเป็นวิทยากรพิเศษ คณะผู้บริหารและผู้เข้าอบรม ร่วม ณ ห้องประชุมโรงแรมชีเบด แกรนด์  ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

นายสำราญ กล่าวว่าศาสตร์พระราชา หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”   นั้นคือก่อนจะทำอะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจผู้คนในหลากหลายปัญหา ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านจารีตประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น และระหว่างการดำเนินการนั้น จะต้องทำให้ผู้ที่เราจะไปทำงานกับเขา   หรือทำงานให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ฝ่ายเดียว โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกิดตามที่เรามุ่งหวังไว้ “เข้าถึง” ก็เช่นกัน เมื่อรู้ปัญหาแล้ว เข้าใจแล้ว จะต้อง    ทำอย่างไรก็ตาม ให้เขาอยากเข้าถึงเราด้วย

นายสำราญกล่าวอีกว่า สอนให้คนรู้จักตกปลา ไม่ใช่เอาปลาไปแจก (เอาเบ็ดไปให้ ไม่ใช่เอาปลาไปให้) ถ้าไม่มีส่วนร่วม ก็ไม่ใช่งานพัฒนาชุมชน หลักการมีส่วนร่วม คือ เริ่มตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา และร่วมรับประโยชน์ หลักการทำงานพัฒนาชุมชน ต้องยึด “5 ร่วม” คือ ร่วมกิน ร่วมอยู่ ร่วมนอน ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา “ปรัชญาการพัฒนาชุมชน คือการยึดถือเรื่องการพัฒนา”คน”เป็นเรื่องสำคัญ เพราะถือว่า คนมีศักดิ์ศรี คนมีศักยภาพ คนสามารถพัฒนาได้หากให้โอกาส

วิธีการพัฒนาชุมชน คือ สอนให้คิด พิชิตปัญหา ยึดกติกา พึ่งพาตนเอง กระบวนการพัฒนาชุมชน เริ่มจากศึกชุมชน -ให้การศึกษาชุมชน-ให้การศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนา เครื่องหมายกรมการพัฒนาชุมชน มี 4 สี หมายถึงการยึดหลักการทำงาน 4 เรื่อง คือ  ประชาชน(สีแดง)ประชาธิปไตย(ขาว) ประสานงาน(น้ำเงิน) ประหยัด(เทา) ท้องถิ่นกับการพัฒนาชุมชนแนวทางการพัฒนาชุมชน เข้มแข็ง การจัดการตนเองอย่างยั่งยืนของตำบลสามารถแบ่งออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ ประชาธิปไตยชุมชน,การมีส่วนร่วม การพัฒนาความ มั่นคงของชุมชน 

การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ,การสร้างความมั่นคงทางอาหารบนพื้นฐานการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ,การพัฒนาทุนมนุษย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

การจัดการความรู้สู่ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ,การเชื่อมโยงเครือข่ายสังคมพหุวัฒนธรรม ต้องรีบกำหนดกฏระเบียบชุมชนออกมา อย่าปล่อยเหมือนบ้านนกนางแอ่น คิดบวก ปูพื้นฐานงานพัฒนาชุมชน/คำว่าพัฒนาชุมชน/จะพัฒนาอะไรก็ติด ถ้าจิตไม่พัฒนา/คนไม่ใช่แมว ตั้ง กก ชุมชน ช่วยคนให้คิด งานพัฒนาชุมชน จึงไม่ได้อยู่แค่พัฒนาคนในชุมชนเท่านั้น แต่ตรงไหนมีคน ตรงนั่นต้องพัฒนาด้วย และได้กล่าวถึงเป็นแนวตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นที่นำเอาแนวพัฒนาชุมชนเป็นแบบอย่างเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางด้านชุมชนและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

พร้อมทั้งนำแนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่9 มาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเพื่อสร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนเช่นแนวทางการนำชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวแม่กำปองจังหวัดเชียงใหม่ ที่นำเอาเศรษฐกิจวิธีคิดจากแผนแม่บทชุมชนสู่ความสำเร็จด้านการท่องเที่ยวอยากเห็นการพัฒนาคนพัฒนาชุมชนอยู่บนพื้นฐานการคิดของคนในชุมชนเอง