ยกระดับคุณภาพชีวิต ฟื้นพูวิถีชีวิตกลุ่มขาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยงท่าสองยา

ยกระดับคุณภาพชีวิต ฟื้นพูวิถีชีวิตกลุ่มขาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยงท่าสองยา





ad1

นายอำเภอท่าสองยางลุย ขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มขาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง   พร้อมสถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (บ้านขุนแม่เหว่ย) ณ ลานน้ำตกบ้านขุนแม่เหว่ย

นายอัครพันธุ์ พูลศิริ นายอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตากให้การต้อนรับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มขาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ในโอกาสเดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน "สถาปนาพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (บ้านขุนแม่เหว่ย) ณ ลานน้ำตกบ้านขุนแม่เหว่ย หมู่ที่ 5 ต.ท่าสองยาง อ.ท่าสองยาง และเข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือขับเคลื่อนเขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์บ้านแม่ปอคี (บ้านขุนแม่เหว่ย) ซึ่งมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี เป็นสักขีพยาน  โดยมีนายอำเภอท่าสองยาง และหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดและส่วนราชการระดับอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมฯในครั้งนี้

รายงานข่าวแจ้งว่าก่อนหน้านี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการทำแผนบูรณาการน้ำระดับอำเภอ นำร่อง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน  โดยนายอัครพันธุ์ พูลศิริ นายอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้จับมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย สทนช. พร้อมหน่วยงาน ลุยทำแผนบูรณาการน้ำระดับอำเภอ นำร่อง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก แก้ปัญหาน้ำยั่งยืน  โดย ลงพื้นที่ติดตามพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ ลุยจัดทำแผนบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับอำเภอ นำร่องพื้นที่แรก อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ร่วมรับฟังปัญหาและความต้องการด้านน้ำในมิติต่างๆ เร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ มุ่งต่อยอดขยายผลแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค น้ำท่วม-น้ำแล้งและคุณภาพน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

รายงานข่าวแจ้งว่า ซึ่งผู้ริหาร สทนช. เคย ลงพื้นที่เพื่อติดตามพื้นที่เสี่ยงการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ปี 2566/2567 ในพื้นที่ อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก โดยได้ประชุมจัดทำแผนบูรณาการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ อำเภอท่าสองยาง มาแล้ว

ซึ่งจากการลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และการเก็บรวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาจริงในแต่ละพื้นที่ พบว่า จังหวัดตาก ส่วนใหญ่มีลักษณะสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงสลับกับที่ราบสูงเชิงเขา โดยอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ และอุทยานแห่งชาติ ถึงร้อยละ 90 ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เป็นต้น รวมถึงเป็นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง อีกทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร และใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเป็นระบบประปาภูเขา นอกจากนี้ แหล่งกักเก็บน้ำในแต่ละพื้นที่มีขนาดเล็กและไม่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งระบบประปาที่ยังไม่สมบูรณ์ หลายแห่งชำรุดใช้การไม่ได้ ขาดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ในการดูแลบำรุงรักษาระบบประปา ส่งผลให้คุณภาพน้ำไม่ได้มาตรฐาน และการกระจายน้ำไม่ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน

ซึ่งการพัฒนาระบบประปาภูเขาหรือขยายท่อส่งกระจายน้ำ ติดปัญหาในการขอเข้าใช้พื้นที่ป่า โดยในระยะเร่งด่วนได้มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแนวทางการบริหารจัดหาน้ำให้เพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะกลางได้ขอความร่วมมือจากการประปาส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำ และกรมป่าไม้ ร่วมกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหารวมถึงการพัฒนาระบบประปาในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ เพิ่มขยายแหล่งกักเก็บน้ำต้นทุนทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน การซ่อมแซมปรับปรุงระบบประปาที่มีอยู่เดิม รวมการออกแบบขยายหรือพัฒนาระบบประปาเพิ่มเติม การวางระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐาน และการจัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลระบบประปาและประชาชนในพื้นที่ด้วย โดยให้เตรียมความพร้อมแผนงาน/โครงการเพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ ผ่านระบบ Thai Water Plan

สำหรับการดำเนินการในระยะยาวนั้น สทนช. ได้นำร่องจัดทำแผนการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับอำเภอ ในพื้นที่ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 6 ตำบล ได้แก่ ต.แม่ต้าน ต.ท่าสองยาง ต.แม่อุสุ ต.แม่หละ ต.แม่สอง และ ต.แม่วะหลวง โดยการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือ การระดมความคิดจากสมาชิกในชุมชนเองมาร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่จริงในประเด็นต่างๆ ได้แก่ บุคลากร (การสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน) ทรัพยากร (ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานที่ชุมชนมีอยู่) งบประมาณ (งบประมาณที่มีอยู่ การเข้าถึงระบบของบประมาณ การบริหารจัดการงบประมาณ) แผนงานโครงการ (ความสมบูรณ์ของแผน หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการ)

ซึ่งจะนำไปสู่การวางแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งน้ำแล้ง น้ำท่วม และปัญหาคุณภาพน้ำ มุ่งเน้นการแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นปัญหาหลักของอำเภอท่าสองยาง โดยจัดลำดับตามความสำคัญและความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อจัดทำเป็นแผนระยะ 5 ปี ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย การอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำ และการบริหารจัดการ เพื่อใช้เป็นทิศทางในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่อำเภอท่าสองยาง

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับแผนบูรณาการและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะ 5 ปี ของอำเภอท่าสองยางที่ได้จัดทำขึ้นในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยเฉพาะภาคประชาชนในพื้นที่ที่เป็นส่วนสำคัญในการร่วมสะท้อนปัญหา ผลกระทบและความต้องการด้านน้ำในมิติต่างๆ พร้อมบอกเล่ามุมมองผ่านวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของคนในชุมชน จึงกลายเป็นแผนฯ ที่สะท้อนสอดรับกับความต้องการและบริบทของชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) ที่ให้ความสำคัญกับประชาชนทุกคนในประเทศอย่างเสมอภาค โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกคน ที่ทุกคนจะต้องมีสิทธิ์เข้าถึงน้ำอุปโภคบริโภคที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น สทนช. จึงมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้สัมฤทธิ์ผลตามแผนแม่บทฯน้ำ 20 ปี ต่อไป