ชาวสวนใต้แห่โค่นต้นยางทิ้ง ปลูก “ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน”หลังราคาตกต่ำ


ภาคใต้ตอนล่าง-ตอนบน แห่ปลูก “ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน”โค่นยาง โรงงานอุตสาหกรรมยางผวา ปิดประตูขยายงาน กระทบเงิน cess หด 3 ปีซ้อน ปีละ 10 % ชี้ อนาคตไทยเสียหาย หากปรับไม่ทันจะเสีย “แชมป์ยางไทยโลก” ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี รมว.เกษตร เร่งปรับตัว เกษตรกรรายย่อยสวนยาง จ.พัทลุง รักษาสวนยางเอาไว้ “ฟันธง” ยางอนาคตราคาจะดี
เจ้าของสวนยางพารา อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จากกระแสแรงทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ในระยะหลายปีจากราคาที่มีแรงจูงใจ โดยเฉพาะทุเรียน รองลมาปาล์มน้ำมัน ฯลฯ ได้ส่งผลกระทบต่อยาง ส่วนหนึ่งได้โค่นยางหันมาปลูกทดแทนโดยการลงทุนปลูกทุเรียนและส่วนหนึ่งได้ปลูกทดแทนด้วยปาล์มน้ำมัน
ทั้งนี้เนื่องจากการยางแห่งประเทศไทย ได้มีนโยบายสนับสนุนการโค่นยางปลูกยางร่วมพืชอื่น ๆ ตามสภาพพื้นที่เหมาะสมเพื่อจะได้คุณภาพทางด้านผลผลิตและราคา
เจ้าของสวนยางพารา กล่าวอีกว่า แนวโน้มสวนยางจะลดลง และมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อลานรับซื้อน้ำยาง โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางแผ่น ยางรมควัน และน้ำยางข้น ที่กำลังการผลิตจะไม่เต็มกำลัง ซึ่งได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต และการลงทุนในการขยายโรงงาน หรือแนวโน้มจะปิดตัวลง
“สำหรับตนได้โค่นยางแล้ว แต่ได้ตัดสินใจปลูกยางตามเดิม เพราะมั่นใจว่าราคายางในอนาคตจะดี อีกทั้งยางรักษาดูแลไม่มากและต้นทุนไม่สูง จะต่างกับทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ต้นทุนสูงและจะต้องดแลรักษาที่ดีและยังต้องใช้แรงงานที่มาก ถึงว่าราคาจะสูงก็ตาม”
เจ้าของสวนยาง ยังกล่าวอีกว่า ยางยังมีผลตอบแทนสะเหมือนเป็นเงินออมสินสะสมคือต้นยางเมื่อครบอายุโค่นปลูกทดแทนมีราคาถึงไร่ละ 20,000 - 30,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพต้นยาง เนื่องจากไม้ยางทุกส่วนจะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และโคนต้นตอไม้ยาง ก็ยังนำไปแปรรูปเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวว่า ปัจจัยที่สวนยางได้ลดลงอย่างต่อเนื่องจากเนื่องจากที่ผ่านยางราคาไม่จูงใจ และพืชตัวอื่นๆ ราคาจะจูงใจกว่า ทางการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จึงได้มีนโยบายปลูกยางในพื้นที่เหมาะสม เช่น 1. พื้นที่ราบลุ่มจะสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมัน และ 2. พื้นที่ยางแก่สนับสนุนปลูกทุเรียน เพื่อความเหมาะสมกับพื้นที่และได้คุณภาพและปริมาณ โดยโค่นยางปลูกทดแทนจะได้เงินสงเคราะห์จาก ไร่ละ 10,000 บาท / ปี โดยมีนโยบายโค่นยางปลูกทดแทนปีละ 200,000 ไร่
“ตอนนี้พื้นที่ที่ราบลุ่มทั้งแต่ จ.สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง และ จ.นครศรีธรรมราช จะปลูกปาล์มน้ำมัน ทั้งนี้โดยบางอำเภอ”
ยังกล่าวอีกว่า ยางถึงอย่างไรยังเป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ และอนาคตยางจะดี เพราะดีมานด์ยังเท่าเดิมหรือขยายตัวแต่ซัพพลายจะหดตัวลง ดังนั้นยางจะราคาดี ตลอดจนถึงปาล์มน้ำมัน และทุเรียนยังมีราคาในเกณฑ์ดี
ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์ นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยท.) กรรมการในคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ เปิดเผยว่า ยางได้ถูกโค่นไปแล้วหันปลูกพืชอย่างอื่นมาแล้วประมาณ 5 ปี แต่มาค่อนหนักขึ้น 3 ปีหลัง โดยทางภาคตะวันออกโค่นยางปลูกผลไม้ประมาณ 80 % โดยเฉพาะหลัก ๆ จะเป็นทุเรียน ส่วนทางภาคใต้จะเป็นสวนปาล์มน้ำมัน
ปัจจุบันการให้สงเคราะห์ชาวสวนยางในภาคตะวันออก ได้ขอทุนสงเคราะห์เปลี่ยนเป็นปลูกทุเรียน ถึง 80% และทางภาคใต้ ก็ยังโค่นยางปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก เช่นกัน เพราะเหตุว่า ยาง RRIM เกิดโรคใบร่วงและไม่คุ้มทุนจึงหันไปปลูกปาล์มน้ำมันและผลไม้ ซึ่งทาง สยท. กำลังแก้ปัญหาให้ผู้ปลูกยาง RRIM 600
“จึงเป็นห่วงอนาคตของ กยท. ว่าราคาไม่มีเสถียรภาพ เกษตรกรก็จะหันไปปลูกพืชอื่นแทน เงิน cess ก็จะลดลงปีละ ประมาณ 10 % จากปี 2565 ที่ 8,825 กว่าล้าน ปี 2566 ที่กว่า 8,281 ล้านบาท ปี 2567 ที่กว่า 7,719 ล้านบาท และปี 2567ที่กว่า 7,7.9 ล้านบาท แล้วจะส่งกระทบต่อเงินให้การสนับเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ได้รับน้อยลง”
ดร.อุทัย ยังกล่าวอีกว่า และยังได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยาง ด้วยทางด้านกำลังการผลิตไม่กำลังการผลิต งจะเห็นว่าปัจจุบันประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่เพื่อนำเข้าไปยังโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูป เช่น ประเทศมาเลเซีย แม้กระทั่งประเทศอินโดนีเซีย ก็ยังได้หันไปซื้อยางจากประเทศอาฟริกา ส่วนยางจากประเทศเพื่อนบ้านไทยไม่อนุญาต โดยการห้ามนำเข้า จึงหันไปส่งออกไปยังประเทศจีน และประเทศมาเลเซีย ก็หันไปซื้อด้วย ต่อไปไทยจะไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกอีกต่อไป
“ทางสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยาง จึงได้ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ในโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับยางและการปลูกยางใหม่ ในระยะที่ 2 ไปแล้ว จึงจะสามารถรักษาความเป็นหนึ่งยางโลกไว้”
ดร.อุทัย กล่าวต่ออีกว่า ไทยมีปริมาณผลผลิตยางรวม 5.146 ล้านตัน / ปริมาณส่งออก 3.998 ล้านตัน ใช้ในประเทศ 1.2 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันผลผลิตยางไทย มีแนวโน้มลดลงมาก โดยในปี 2566 -2567 ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ได้ประสบปัญหากับโรคยางใบร่วง ผลผลิตได้ไม่ถึง 50% พื้นที่จึงไม่อาจปลูกยางได้อีก และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ราคายางก็ตกทำให้การปลูกแทนตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 ซึ่งส่วนใหญ่เปลี่ยนไปปลูกทดแทนกัมากทั้งทุเรียน ปาล์มน้ามัน โดยเฉพาะที่ จ.กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี รวม 80% ขอปลูกแทนด้วยปาล์มน้ำมันเป็นหลัก
ดร.อุทัย กล่าวอีกว่า ซึ่งไทยเคยปลูกยางได้ผลผลิต 36% ของการผลิตยางของโลกจึงได้เป็นประเทศที่ปลูกยางมากที่สุดของโลก จึงเห็นควรว่าต้องรักษาระดับผลผลิตให้ได้ 36 %ของผลผลิตโลก
นายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ ผู้จัดการ เกษตรกรกลุ่มทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรแปรรูปยางส่งออกรายใหญ่ภาคใต้ เปิดเผยว่า สถานการณ์ยางจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส ได้เกิดโรคยางใบร่วงระบาดอีก ซึ่งส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำยางสดต้องหดตัวเหลือน้อยมาก ประจวบกับขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน
“ในระยะนี้และระยะที่ผ่านมา กรีดยางได้ปริมาณน้อยวันมากและน้ำยางบางตำบลบางวันได้น้ำยางไม่ถึง 10,000 กก. และรวมทั้งอำเภอบางวันได้น้ำยางไม่ถึง 30,000 กก.”
นายกัมปนาท กล่าวอีกว่า หลายปัจจัยที่ทำให้ยางขาดแคลนคือ 1.โรคยางใบร่วงที่เกิดระยะก่อนนั้นถึง 3-4 ปี ได้ส่งผลให้น้ำยางสดเหลือปริมาณน้อยมาก ทำให้คนกรีดยางมีรายได่ไม่คุ้มค่าแรงงาน จึงทิ้งสวนยางออกไปหาทำงานอื่นแทน แล้วไม่ยอมกลับมา แม้ว่าระยะหลังราคายางปรับตัวขึ้นมาดีไปตอนนี้เจ้าของสวนต้องกรีดยางเอง แต่ไม่ได้ทั้งหมดประมาณว่ามีแรงงานกรีดยางอยู่ในพื้นที่ไม่เกิน 20 % และอีก 80 % ปล่อยให้เป็นสวนยางถูกทิ้งร่างขึ้นเป็นป่ารกมาแล้วถึง 3-4 ปี
“3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อนาคตยางไม่ค่อยจะมีความหวัง โดยเฉพาะ จ.ยะลา มีสวนยางกว่า 1 ล้านไร่ ตอนนี้ต้องโค่นยางทิ้งหันมาปลูกทุเรียนกันมากหลักเป็นแสนไร่ จากปัจจัยโรคใบร่วงระบาด คนกรีดจึงทิ้งสวนยาง จึงหีนมาปลูกทุเรียนกันมากนอกนั้นก็จะเป็นปาล์มน้ำมันบางส่วน แนวโน้ม 3 จังหวัดยางจะขาดแคลน” นายกัมปนาท กล่าว และว่า
จึงได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางรมควัน น้ำยางข้น ขาดวัตถุดิบเดินเครื่องการผลิต จึงต้องมีการนำเข้าน้ำยางจากจังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ จ.พัทลุง จ.ตรัง ฯลฯ และต้องนำเข้ายางกก้อนถ้วย จากภาคตะวันออก ภาคอีสาน เข้าโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยาง ทั้งยางแท่งน้ำยางข้นเพื่อส่งออกต่างประเทศ ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางมีต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้โรงงานได้มีการผลิตที่ต่อเนื่อง ส่วนจะมีการขยายงานหรือลงทุนใหม่นั้นปิดประตูได้.