พัทลุงฝนตกชุก เจ้าของสวนทุเรียนน้ำตาตก เจอโรคระบาด-ราคาดิ่ง ขาดทุนยับ

พัทลุงฝนตกชุก เจ้าของสวนทุเรียนน้ำตาตก เจอโรคระบาด-ราคาดิ่ง ขาดทุนยับ





Image
ad1

เกษตรกรผู้ปลูกสวนทุเรียนพัทลุงอ่วม เจอสารพัดปัจจัยลบรุมเร้า ทั้งราคาตกต่ำ ทั้งหนอนเจาะรูทุเรียนระบาด ฉุดราคาเหลือ 10 บาท / กก. ซื้อเหมายกสวน 200 ลูก 13,000 บาท  ขณะที่เกษตรกรหลายรายที่จะลงทุน “ปลูกทุเรียน” เริ่มลังเลแล้วเนื่องจากกลัวขาดทุนหนัก

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2568 นายไพรวัลย์ ชูใหม่ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการอิสระ  ที่ปรึกษาทำสวนทุเรียน อ.กงกรา จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ทุเรียนในฤดูปี 2568 จากสภาพภูมิอากาศผันแปรฝนมากกว่าแล้ง ส่งผลให้ทุเรียนเกิดแมลงระบาดเข้ามาเกาะตอมทุเรียน ส่งผลให้เกิดตัวหนอนได้เจาะทุเรียน จนสร้างความเสียยายจำนวนมาก ทำทุเรียนเกิดมีรอยตำหนิบางส่วน หรือบางส่วนเมล็ดเนื้อในได้รับความเสียหายหมดโดยจะเกิดขึ้นมากกับสวนทุเรียรบริเวณริมเทือกเขาบรรทัด ตั้งแต่ อ.ป่าบอน อ.ตะโหมด อ.กงกรา ฯลฯ เป็นต้น

“หนอนเจาะทุเรียนจะเกิดมากในฤดูที่มีฝนตกมากและต่อเนื่อง แต่หากช่วงทุเรียนเป็นฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน จะไม่ประสบปัญหา จะมีบ้างเพียงเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด หนอนเจาะรูทุเรียน ค่อนข้างจะแก้ไขยาก ซึ่งตนเองได้ดำเนินการทำวิจัยมาร่วม 5 ปี เพราะจากสภาพฝนที่ตกมากและต่อเนื่อง จึงป้องกันได้ยาก”

เจ้าของสวนทุเรียนรายย่อยบ้านควนอินนอโม หมู่ 7 เทศบาลตำบลเขาหัวช้าง  อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ทุเรียนในฤดูปี 2568 ถูกหนอนเจาะส่งผลให้ทุเรียนมีรอยตำหนิจึงได้รับความเสียหาย หรือบางส่วนเนื้อถูกหนอนทำลายจนสิ้นคุณภาพ

“ปีนี้มีต้นหนึ่งที่เคยทำรายได้ถึง 40,000 บาทต่อฤดู มีลูกเสียที่ถูกหนอนเจาะรู 1 ลูก เมื่อปี 2567 แต่มาปีนี้ถูกหนอนเจาะรูเกิดรอยตำหนิยกต้น แต่ว่าได้รับความเสียหายน้อยเพราะมีผลผลิตไม่มาก”

แต่มีบางรายได้รับความเสียหายยกสวนแปล่งย่อย จึงขายเหมาจำนวน 200 ลูก ราคาประมาณ 13,000 บาท ซึ่งหากผลทุเรียนไม่ถูกหนอนเจาะไม่มีรอยตำหนิ จะเป็นเงินกว่า 40,000 บาท.

ที่ศาลาประชาคมอำเภอตะโหมด จ.พัทลุง ทางเครือข่ายทุเรียนจังหวัดพัทลุง (ตอนล่าง) อ.ตะโหมด ป่าบอน บางแก้ว ปากพะยูน และองหรา ได้มีโครงการอบรมสวนทุเรียนให้ได้คุณภาพ  มีนายนคร จันทภาโส นายอำเภอตะโหมด เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ถึงการผลิตทุเรียนคุณภาพ เรื่อง GAP  หลักการบริหารจัดการ เรื่องการลงทุนปลูก การดูแลการค้าขายการตลาดเป็นสำคัญ

ทั้งนี้มีนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ผลิตสินค้าเกษตร โรคพืช นักกีฏวิทยา การคัด การตัดเพื่อส่งออก ตลอดจนเรื่องการตลาดทุเรียนด้วย  ซึ่งจากสำนักวิจัยและพัฒนากาเกษตร เขตที่ 8 และกรมวิชาการเกษตร กระทวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นการจัดดำเนินการมาเป็นครั้งที่ 2 แล้ว ครั้งแรกที่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง  ทั้งนี้เพื่อเป็นการรองรับสถานการณ์ทุเรียนที่เกิดความเปราะบางในขณะนี้

เจ้าของสวนทุเรียนรายใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง จำนวน 60 ไร่  เปิดเผยว่า ภาวะทุเรียนฤดูปี 2568 ผันแปรหนักจากหลายปัจจัยทั้งเรื่องราคา แมลง ฯลฯ โดยเฉพาะทุเรียนที่เกิดจากหนอนเจาะรูมีมากและหนักในปีนี้ เนื่องจากเกิดฝนตกที่มากซึ่งผลให้แมลงออกมาเกาะทุเรียนจนเกิดหนอนเจาะรู ทั้งนี้ขนาดมีการป้องกับบำรุงฉีดยาป้องกันแล้วก็ตาม เนื่องจากฝนตกชำระล้างตัวยาเจือจากออกไป ประสิทธิภาพป้องกันจึงอ่อนตัวไป

“ในปีนี้มีจำนวนหลายรายที่จะลงทุนปลูกทุเรียนโดยการโค่นยางขอทุนสงเคราะห์จากการยางแห่งประเทศไทย  (กยท.) ได้เกิดความกังวลว่าจะตัดสินลงทุนปลูกทุเรียนหรือไม่”

นายสุรศักดิ์ กุลลาย ประธานเครือข่ายทุเรียนจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า สถานการณ์ทุเรียนฤดู 2568 เกิดความผันแปรมากเนื่องจากมีน้ำมากกว่าแล้ง จนเกษตรกรหลายรายเริ่มถอดใจ ทั้งราคาทุเรียน ทั้งเรื่องเกิดจากแมลงเนื่องจากเกิดฝนตกมากจนแก้การป้องกัน ทุเรียนเมื่อเกิดเจาะก็จะเกิดรอยตำหนิ ส่งผลทำให้ทุเรียนตกเกรดตกไซซ์ ประเภททุเรียนหนอนเจาะราคาประมาณ 10 บาท / กก.

“ประมาณการณ์ว่าทุเรียนที่เกิดหนอนเจาะรู ทำให้ทุเรียนตกเกรดตกไซซ์ภาพรวมประมาณ 50 % โดยเกิดขึ้นกับสวนทุเรียนบริเวณอำเภอพื้นที่เทือกเขาบรรทัด ตั้งแต่ อ.ป่าบอน อ.ตะโหมด อ.กงหรา ฯลฯ เป็นต้น ต่างเป็นแหล่งพื้นที่ปลูกรายใหญ่ของ จ.พัทลุง

ส่วนประเด็นสำคัญคือเรื่องห้องเย็นแช่แข็งทุเรียนโดยหลาย ๆ จังหวัดต่างมีเอาไว้กันเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาทุเรียน นายสุรศักดิ์ กล่าวว่า ถ้าเป็นไปได้จึงอยากให้หน่วยงานทางการหาห้องเย็นสำรองเพื่อนำทุเรียนที่ตกเกรดตกไซซ์แกะเอาเนื้อทุเรียนสด   ทางออกจึงต้องแกะเนื้อทุเรียนบรรจุเข้าห้องเย็น จะได้ราคาอีกระดับหนึ่ง 

“หลายรายมาหารือเริ่มถอดใจ แต่ได้ยืนยันว่าจะต้องมีการแก้ไขเพื่อให้เดินต่อไปได้ พร้อมกับการปรับตัวให้เกิดความยืดหยุ่นเพื่อรับสถานการณ์จากหลายปัจจัยที่จะเกิดขึ้น” นายสุรศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ จ.พัทลุงมีพื้นที่ ที่เหมาะสมต่อการปลูกทุเรียน บริเวณเชิงเขาบรรทัด ซึ่งมีพื้นที่การปลูกมากที่สุด อ.ป่าพะยอม อ.ศรีบรรพต อ.ศรีนครินทร์ อ.กงหรา อ.ตะโหมด อ.ป่าบอน ฯลฯ

พื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นแหล่งต้นน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช จนส่งผลให้ทุเรียนพัทลุงมีรสชาติอร่อยหวาน มัน เนื้อนุ่ม จนได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง GAP และอินทรีย์ และเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในจังหวัดที่มีพื้นที่การปลูก จำนวน 9,577 ไร่.

รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จ.สงขลา  ดูแลพื้นที่ภาคใต้ เปิดเผยถึงสถานการณ์ผลไม้ภาคใต้ในปี 2568 จากผลที่จากการประชุมคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคใต้ครั้งที่ 2/2568 ระหว่างวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2568

โดยในส่วนของผลไม้ทุเรียนในปี 2568 นั้นจะมีเนื้อที่ยืนต้นถึงจำนวน 870,593 ไร่ ซึ่งได้เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ถึงร้อยละ 6.88 และสำหรับทุเรียนที่ได้ให้ผลแล้ว จำนวน 622,111 ไร่ ซึ่งได้เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ถึงร้อยละ 7.54

ทุเรียนได้มีการปลูกเพิ่มขึ้น เช่นปลูกทดแทนกาแฟ ยางพารา มังคุด เงาะ ลองกอง และปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่างด้วย จึงมีเนื้อที่ให้ผลเพิ่มขึ้น  จากมูลเหตุจูงใจเพราะราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีที่ต่อเนื่องมา ประกอบกับต้นทุเรียนที่ปลูกเมื่อปี 2562 ก็ได้เริ่มให้ผลผลิตได้แล้วด้วยในปี 2568 นี้

ผลผลิตคาดว่าปี 2568 จะมี 606,958 ตัน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 14.46  และจะมีผลผลิตประมาณ 976 กก. /ไร่ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.43.