UN แนะนำให้ปฏิเสธเข้าร่วม UPOV 1991 - ให้ยึดพรบ.คุ้มครองพันธุ์พืชของไทยปี 2542

ยูเอ็นแนะปฏิเสธเข้าร่วม UPOV 1991

UN แนะนำให้ปฏิเสธเข้าร่วม  UPOV 1991  - ให้ยึดพรบ.คุ้มครองพันธุ์พืชของไทยปี  2542





ad1

UNEP หรือโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ( United Nations Environment Programme หรือ UNEP) ออกคำแนะนำสำหรับประเทศต่างๆที่เจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ให้ยึดความตกลงทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กรการค้าโลก ตามมาตรา 27.3(b) โดยให้ออกกฎหมายที่มีลักษณะเฉพาะ แบบเดียวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช 2542 ของไทย และให้ปฏิเสธเข้าร่วมอนุสัญญา UPOV1991

#NoCPTPP
#StopUPOV1991
#เก็บพันธุ์พืชปลูกต่อไม่ใช่อาชญากรรม
SDG Move TH

โดยคู่มือ A Sustainability Toolkit for Trade Negotiators: Trade and investment as vehicles for achieving the 2030 Sustainable Development Agenda ได้ให้คำแนะให้ประเทศต่างๆ รักษาไว้ซึ่งสิทธิของเกษตรในการเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อ เพราะวัฒนธรรมทางการเกษตรนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการทำให้เกษตรกรมีพันธุ์พืชที่หลากหลาย ปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ต้านทานต่อสภาพร้อน หนาวเย็น ความเค็ม และความแห้งแล้ง เป็นต้น

ทั้งนี้โดย UNEP และ IISD (International Institute for Sustainable Development) แนะนำให้ประเทศต่างๆ ออกกฎหมายที่ให้สิทธิเกษตรกรในการเก็บรักษาพันธุ์พืชไปปลูกต่อ โดยใช้ต้นแบบของกฎหมายของ 3 ประเทศ ได้แก่ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชและสิทธิเกษตรกรของอินเดีย และกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของมาเลเซีย  เป็นต้นแบบ

UNEP ยังแนะนำให้ประเทศที่เจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศ ปฏิเสธเป็นภาคีสนธิสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิเกษตรกร เช่น UPOV1991 เป็นต้น

นายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทย และหน่วยงานต่างๆของรัฐประกาศยึดแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 2030 ของสหประชาชาติ แต่กลับเดินหน้าเข้าร่วมความตกลง CPTPP ซึ่งมีเงื่อนไขให้ประเทศไทยต้องฉีก พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ทิ้งไป ทั้งๆที่กฎหมายนี้คือต้นแบบสำคัญที่องค์กรสหประชาชาติแนะนำให้ประเทศอื่นดูเป็นแบบอย่าง สำหรับการพัฒนาประเทศไปสู่ความยั่งยืน

อ่านคู่มือการเจรจาการค้าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ที่ลิงค์

https://www.iisd.org/toolkits/sustainability-toolkit-for-trade-negotiators/4-trade-provisions/4-1-intellectual-property-rights/4-1-1-fostering-green-innovation/4-1-1-3-breeders-exemption-and-farmers-privilege/

เครดิตข้อมูล  : BIOTHAI