หมอเหิม เพิ่มกลุ่มรับซื้อข้าวดูแลผู้ป่วย ช่วยพยุงชาวนา (มีคลิป)

หมอเหิม เพิ่มกลุ่มรับซื้อข้าวดูแลผู้ป่วย ช่วยพยุงชาวนา (มีคลิป)





ad1

ชัยภูมิ-นายแทย์ณรงค์ศักดิ์ หรือ "หมอเหิม”เพิ่มกลุ่มรับซื้อข้าวดูแลผู้ป่วย ช่วยพยุงชาวนา ราคาข้าวเปลือกทั้งประเทศเริ่มตกต่ำหนักสุด ทำให้ชาวนาต้องขาดทุนหนัก

เมื่อวันที่ 8 พ.ย.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ในพื้นที่ทั้ง 16 อำเภอทำให้ผลผลิตและราคาข้าวเปลือกทั้งประเทศเริ่มตกต่ำหนักสุด ทำให้ชาวนาต้องขาดทุนหนักเป็นจำนวนมากอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในปีนี้ข้าวเปลือกขายได้ราคาไม่ถึงกิโลกรัมละ 5 บาท ส่วนข้าวหอมมะลิ ขายได้ไม่ถึง กก.ละ 8 บาท 

นายแทย์ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น 

สร้างความทุกข์ระทมหนักให้กับเกษตรกรชาวนานผู้ปลูกข้าวในทั่วประเทศ รวมทั้งจังหวัดชัยภูมิ จนล่าสุด นายแทย์ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น หรือชาวชัยภูมิ จะเรียกกันติดปากและรู้จักกันดีในนาม "หมอเหิม” ผู้ซึ่งอดีตเคยทำหน้าที่แพทย์ช่วยรักษาผู้ป่วยอยู่ รพ.ชัยภูมิแห่งนี้มานานกว่า 20ปี โดยปัจุบันได้ก้าวมาเป็นผู้บริหารในฐานะผู้อำนวยการโรงพยาบาลชัยภูมิ คนปัจจุบัน ได้ออกมามีแนวคิดหาทางช่วยเพิ่มและขยายกลุ่มรับ-ซื้อข้าวสารจากเกษตรกรชาวนาในพื้นที่ เท่าที่พอจะทำได้และให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขส่งเสริมการประกอบอาหารปลอดภัยให้กับผู้ป่วยใน รพ.เอง ผู้ป่วยโควิด-19 และบุคคลากรทางการแพทย์ 

โดยได้มีการหารือกับคณะบริหารและกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรช่วยหาแนวทางในการช่วยเหลือชาวนาในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ได้อีกทางด้วย โดยเบื้องต้นได้จัดงบประมาณในปี 2565 ในการจัดซื้อข้าวจากกลุ่มเกษตรผู้ปลูกข้าวโดยตรงมากกว่าทุกปี ซึ่งในปีงบประมาณ 2564 จัดซื้อข้าวด้วยงบจำนวน 968,150 บาท ( 9 แสน 6 หมื่น 8 พัน 150 บาท ) และในปีงบประมาณ 2565 นี้หลังจากเกิดปัญหาราคาข้าวตกต่ำจึงจัดงบประมาณรับ-ซื้อข้าวสารทั้งเพิ่มรวมทั้งสิ้นกว่า 1,413,600 บาท ( 1 ล้าน 4 แสน 1 หมื่น 3 พัน 600 บาท ) ในการจัดซื้อข้าวสารจ้าว ,ข้าวสารหอมมะลิ ,ข้าวกล้องหอมมะลิ และข้าวสารไรซ์เบอร์รี จากกลุ่มเครือข่ายชาวนาในพื้นที่รวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชนจำนวน 2 แห่ง ทั้งที่เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมปลูกข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ ต.ศรีสำราญ อ.คอนสวรรค์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมปลูกข้าวอินทรีย์ปลอดสารพิษ ต.โพนทอง อ.เมืองชัยภูมิ ในราคาที่เป็นธรรมต่อเกษตรกรและตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดตามมาตรฐาน

ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มซื้อข้าวสารจากกลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 แห่ง มาแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือนกันยายน 2565 ปีหน้าเพื่อป้อนข้าวสารให้กับแผนกโภชนาการในโรงพยาบาลชัยภูมิ ในการนำมาเข้าโรงครัวหุงสำหรับใช้รับประทานสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลชัยภูมิ และบุคลากรทางการแพทย์ ขณะเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลไม่สามารถออกไปรับประทานด้านนอกโรงพยาบาลได้ รวมทั้งในโรงพยาบาลสนามและ ใน รพ.ชัยภูมิ ที่มีผู้ป่วยโควิด-19 อีกจำนวนมากหลายร้อยคนในขณะนี้ได้ด้วย

โดยนายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ บำรุงถิ่น หรือ”หมอเหิม” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชัยภูมิ กล่าวว่าในปัจจุบันโรงพยาบาลชัยภูมิ เป็นโรงพยาบาลขนาด 750 เตียง ขณะนี้ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเต็มโรงพยาบาลทุกวัน รวมถึงมีผู้ป่วยโควิด-19 กว่า 100 ราย ที่ยังคงรักษาตัวในโรงพยาบาลชัยภูมิ และในโรงพยาบาลสนามอีกจำนวนมากในปัจจุบัน 

ซึ่งในแต่ละวันทาง รพ.ชัยภูมิ จะต้องหุงข้าวให้ผู้ป่วยรวมทั้งบุคคลากรทางแพทย์ที่เข้าเวรอยู่ ในจำนวนหม้อหุงข้าวขนาดใหญ่วันละกว่า 24 หม้อ 3 มื้อต่อวัน รวมกว่า 1,000 คนต่อวัน และทั้งมีนโยบายจากกระทรวงสาธารณสุขให้ช่วยส่งเสริมอาหารปลอดภัย อาหารปลอดสาร ให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งข้าวที่นำมาหุงจึงเป็นข้าวจากเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่างๆในพื้นที่ดำเนินการผลิตแบบครบวงจรมาตั้งแต่ข้าวเปลือกจนผ่านการสีมาเป็นข้าวสารคุณภาพ 

โดยในแต่ละปีต้องใช้ข้าวสารนำมาหุงในส่วนของ รพ.ชัยภูมิ ที่ต้องใช้กว่า 5 ตัน หรือ 5,000 กิโลกรัม ซึ่งก็ยังมีผู้ป่วยในกลุ่มโควิด-19 ที่ทางโรงพยาบาลต้องช่วยดูแลเพิ่มมากขึ้นในขณะนี้ด้วย และเป็นการบูรณาการแนวทางนโยบายของ รพ.ชัยภูมิ และกระทรวงสาธารณสุข ในช่วงที่ชาวนาขายข้าวไม่ได้ราคาตกต่ำจำนวนมากในขณะนี้ ทาง รพ.ชัยภูมิ ก็สามารถพอที่จะเข้าไปช่วยเหลือชาวนาในขณะนี้ได้บ้างโดยการช่วยซื้อข้าวจากชาวนาในพื้นที่ยังได้ตามปฎิบัติตามหลักราคามาตรฐาน ขึ้น-ลงตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดไว้อีกด้วย

มัฆวาน วรรณกุล ผู้สื่อข่าวภูมิภาค