ชนเผ่าส่วยเมืองจันทร์ "กินข้าวเม่า"โฮมแซมซาย สืบสานประเพญีท้องถิ่น (มีคลิป)

ชนเผ่าส่วยเมืองจันทร์ "กินข้าวเม่า"โฮมแซมซาย สืบสานประเพญีท้องถิ่น (มีคลิป)





ad1

ศรีสะเกษ-ชนเผ่าส่วย สามตำบลในอำเภอเมืองจันทร์ ศรีสะเกษ ร่วมกันจัดบุญประเพณี "กินข้าวเม่า" ภายใต้ชื่อภาษาส่วย โฮมแซมซาย แอบุญ จาปอม กินข้าวเม่า สืบสานประเพญีท้องถิ่น ให้คงอยูสืบไป

นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เดินทางมาเป็นประธานพิธีเปิดงานด้วยการกล่าวและลั่นฆ้องชัยเปิดงาน "กินข้าวเม่า"หรือ โฮม แซมซาย แอบุญจาปอม  ในภาษาส่วยของอำเภอเมืองจันท์ประจำปี พศ 2564 ที่ศาลา ประชาคม บ้านหนองหว้า หนองสะแตง  ต.ตาโกน อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ 

ในครั้งนี้ นายอิศรา โพธิ์เงิน นายอำเภอเมืองจันทร์ กล่าวรายงาน ว่า "ประเพณีโฮมแซมซาย แอบุญจาปอม กินข้าวเม่า "อำเภอเมืองจันทร์ ประจำปีพศ 2564 หรือประเพณีบุญข้าวเม่า มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของอำเภอเมืองจันทร์รวมทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างตลาดสำหรับการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรผลิตภัณฑ์ชุมชนและสืบสานศิลปะวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษให้คงอยู่สืบไป

ภายในงานมีการจัดกิจกรรม เช่นการประกวดตำข้าวเม่าลีลา การประกวด"ปรุงข้าวเม่า"ในระดับตำบลและระดับอำเภอการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับการประวัติความเป็นมาจัดแสดงผลผลิตทางการเกษตรผลิตภัณฑ์ของชุมชนและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ

การจัดการแข่งขันการตำข้าวเม่าลีลา เพื่อให้งานครึกครื้นใีสีสรรค์ พร้อมทั้งมีการรำฟ้อนรำบุญข้าวเม่า ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตาโกน ที่แต่งการด้วยชุดของชนเผ่าส่วยพาดด้วยสไบเฉียง ด้วยลีลาอ่อนช้อยสวยงามยิ่ง

นายเอกอมร มะโนรัตน์ ประธาน สภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองจันทร์ กล่าวถึงที่มาของการจัดงานครั้งนี้ว่า งานบุญกินข้าวเม่า มีจุดเริ่มต้นจากหลวงปู่จันทร์ เขมิโย อดีตหัวหน้าที่พักสงฆ์" ป่าจันทวารีย์ "และนักเทศน์ชื่อดังได้มีความคิดริเริ่มจากการนำพาชาวบ้านทำข้าวเม่าไว้สำหรับรับประทานโดยเริ่มเมื่อปีพ.ศ 2542 เป็นต้นมา เดิมที การทำข้าวเม่ามีทั้งในตำบลตาโกนตำบลหนองใหญ่และตำบลเมืองจันทร์ซึ่งเมื่อถึงห้วงฤดูเก็บเกี่ยวแรก
 เชื่อว่าจะต้องนำเข้าที่เกี่ยวใหม่มาทุบตีหรือนวดจากรวงข้าวเหนียวมาทำข้าวเม่า ชุมชนส่วนใหญ่เรียกว่า ปลอมหรือโฮมบุญ
 "จาบอม"หมายถึงประเพณีกินข้าวเม่า 

ซึ่งมีวิธีการทำข้าวเม่า"ชนเผ่าส่วย "นั้น ด้วยการ นำ"ข้าวเหนียวใหม่ "มาแช่น้ำก่อนประมาณ 1 คืน จากนั้นนำมาโขก กระเทาะ เปลือกออกโดยใช้ครกและสากตำ ซึ่งต้องใช้แรงคนทั้งชายและหญิง เพื่อปลดเอาข้าวเปลือกออก

 จากนั้น ใส่เครื่องปรุง เช่น น้ำตาลทราย งา น้ำมะพร้าว มะพร้าวอ่อนขูด แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และมีความเชื่อว่าหากได้ถวายพระสงฆ์ และบูชาเซ่นไหว้พระแม่ธรณีจะทำให้เป็นศิริมงคลแก่ชาวนาและมักจะทำ ในเดือน 12 ทางจันทรคติเพื่อเป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยโบราณของหมู่บ้านที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน

อนึ่งในสมัยก่อน ชนเผ่าส่วย หรือชนเผ่า กูย มีความชำนาณในการคล้องช้าง เมื่อสามีจะไปรอนแรมไปคล้องช้าง ก็จะทำข้าวเม่าให้สามีพกพาเข้าป่าไปเป็นอาหารด้วย