ชาวนาใต้ลุ้นม.ค.- ก.พ.65ราคาพุ่งชี้ข้าวตกต่ำเหตุอินเดียทุ่มตลาด

ชาวนาใต้ลุ้นม.ค.- ก.พ.65ราคาพุ่งชี้ข้าวตกต่ำเหตุอินเดียทุ่มตลาด





ad1

ชาวนาใต้ รอลุ้น ราคาข้าวเดือน มค. กพ. 65  ผลกระทบราคาข้าวตก ชี้ข้าวตก อินเดียทุ่มตลาด ราคาต่ำกว่า 30-40 เหรีญ ค่าระวางเรือขึ้น 3 เท่า ฝนกตกน้ำท่วม  ทางด้านข้าวพื้นเมืองราคาดี สังข์หยด 22,000 บาท / ตัน ข้าวเฉี้ยง เล็บนก 9,000 – 10,000 บาท / ตัน สมาคมข้าวสังข์หยดเมือง “พัทลุง”  ผวา ปี 65 พื้นที่ทำนาจาก 120,000 ไร่ เหลือ 90,000 ไร่  

นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้  เปิดเผยว่า สถานการณ์ข้าวราคาตกต่ำลงมาถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ในขณะนี้ ราคาเหลืออยู่ที่  7,600 – 7,800 บาท / ตัน ข้าวเปลือก กข.  

ปัจจัยสำคัญจากกลไกตลาดโลก 1. ข้าวจากประเทศอินเดียทำการทุ่มตลาด โดยราคาถูกกว่า 30 – 40 เหรียญ / ตัน   2. ค่าระวางเรือขนส่งขยับราคาขึ้นมาประมาณ 3 เท่าตัว   3. ข้าวไทยประสบกับภาวะฝนตก น้ำท่วม เสียหาย 

“สำหรับสถานการณ์ชาวนาภาคใต้จากราคาข้าวตกต่ำ ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากนาปรังเก็บเกี่ยวหมดแล้ว และที่ผ่านมายังได้ราคาอยู่ในเกณฑ์ที่ดีประมาณ 9,800 บาท / ตัน” 

นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า สำหรับสถานการณ์ต่อไปต้องรอลุ้นว่าจะมีผลกระทบต่อข้าวและชาวนาทางภาคใต้หรือไม่ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2565  ที่ข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองที่จะออกสู่ตลาด เช่น ข้าวเฉี้ยง ข้าวสังข์หยด ข้าวเล็บนก ฯลฯ ซึ่งข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองจะราคาดีกว่าข้าวข้าว พันธุ์ กข.อยู่แล้ว ซึ่งจะออกในฤดูกาลปีหน้าตั้งเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ 2565 ประมาณ 50,000 ตันภาพรวม 3 จังหวัด พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช   

ส่วนข้าวขาว พันธุ์ กข. ฯลฯ จะเริ่มปลูกในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ มีนาคม 2565 ยังไม่ได้รับผลกระทบ  

“ราคาข้าวในปี 2565 ยังคาดการณ์ไม่ถูกราคาผันผวนไม่ต่างกับราคาทองคำวันต่อวัน ที่ขึ้นอยู่กับกลตลาดโลก หากราคาข้าวถูกผู้ส่งออกก็ซื้อในราคาต่ำ และหากราคาสูงผู้ส่งออกก็ซื้อในราคาสูง” 

นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า  สำหรับสถานการณ์โรงสีข้าวนั้นได้รับผลกระทบหนักขาดทุนมาถึง 3 ฤดูกาลมาเกือบประมาณ 2 ปี คือโรงสีข้าวได้รับซื้อข้าวมาด้วยราคาที่สูง แต่เมื่อขายออกกลับขายได้ราคาที่ต่ำ บางฤดูกาลซื้อมาประมาณ 9,800 บาท / ตัน แต่พอขายออกได้ราคา 8,700 บาท / ตัน ต้องขาดทุนกว่า 1,000 ตัน หากมีสต๊อกประมาณ 300 ตัน จะประสบขาดทุนประมาณกว่า 300,000 บาท  

“โรงสีประสบภาวะขาดทุนมาแล้วประมาณ 3 ฤดูกาลแล้ว”. นายสุทธิพร กล่าว.  

ทางด้าน นายสุทธิชัย กาฬสุวรรณ นายกสมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กล่าวว่า สำหรับข้าว จ.พัทลุง ไม่มีผลกระทบต่อราคาข้าวที่ตกต่ำลงในขณะนี้ มีเพียงผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ส่งออกไปยังต่างประเทศและภายในประเทศที่ค่อนข้างจะมีอุปสรรค  

แต่สำหรับข้าวพื้นเมือง ตั้งแต่ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวเหนียดำ ข้าวเฉี้ยง ข้าวเล็บนก ไม่มีผลกระทบ โดยข้าวสังข์หยดพัทลุง ขณะนี้ราคาเคลื่อนไหวที่ 22,000 บาท / ตัน ข้าวเฉี้ยง ราคา 9,000 บาท – 10,000 บาท / ตัน และข้าวเล็บนก ราคาให้เคียงกัน  และข้าวขาว กข.  55  ฯลฯ ประมาณ 8,000 – 9,000 บาท / ตัน 

“โดยเฉพาะข้าวเฉี้ยงค่อนข้างจะขาดแคลนในตอนนี้  โรงสีข้าวต้องการมากและมีการสั่งจองล่วงหน้า เช่นเดียวกับข้าวเล็บนก ก็ค่อนข้างจะขาดตลาดเช่นกัน ข้าวพื้นเมือง จ.พัทลุง ราคาดีทุกตัว ประการสำคัญชาวนาจะต้องรวมกลุ่ม รวมเป็นเครือข่าย ก็จะเกิดอำนาจต่อรองจะได้ราคาที่ดี” 

นายสุทธิชัย กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ทำนา จ.พัทลุง ภาพรวมประมาณ 120,000 ไร่ โดยข้าวนาปีจะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 นี้ โดยหว่านเมื่อเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา  

“น่าหวั่นวิตกมากในขณะนี้ว่าพื้นที่ทำนา จ.พัทลุง จะทะยอยหันไปปลูกปาล์มน้ำมันที่ปริมาณมากขึ้นเนื่องจากมีราคาที่ดี โดยเฉพาะในปีหน้า 2565  จะมีแนวโน้มว่าจะเหลืออยู่ประมาณ 90,000 ไร่” นายสุทธิชัย กล่าว.