พบคน 5% เป็นเจ้าของที่ดินเกือบทั้งประเทศ ในขณะที่อีกเกือบ 90% มีที่น้อยกว่า 1 ไร่!

พบคน 5% เป็นเจ้าของที่ดินเกือบทั้งประเทศ

พบคน 5% เป็นเจ้าของที่ดินเกือบทั้งประเทศ ในขณะที่อีกเกือบ 90% มีที่น้อยกว่า 1 ไร่!





ad1


- ประเทศไทยมีปัญหา “ความเหลื่อมล้ำ” สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ท่ามกลางวิกฤติโควิด19 ที่ส่งผลกระทบไปทุกหย่อมหญ้า กลับพบว่าในปี 2564 มหาเศรษฐีไทย 50 อันดับแรก มีทรัพย์สินรวมกันเพิ่มขึ้นกว่า 20% โดยนอกจากธุรกิจการค้าที่เป็นตัวทำเม็ดเงิน ให้กับเหล่าเศรษฐีชั้นนำของไทย อีกหนึ่งในสินทรัพย์ที่บ่งบอกถึงความมั่งคั่ง คือ “ที่ดิน” ที่แต่ละคนถือครอง 
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวเลขในปี 2560 ไทยมีเอกสารสิทธิที่ดินจำนวน 37 ล้านฉบับ รวมพื้นที่ 128 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ 40% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ แต่มีคนเพียง 25% เท่านั้นที่มีที่ดิน ยิ่งไปกว่านั้นคน 5% ในจำนวนนี้ เป็นเจ้าของที่ดินรวมกันมากถึง 80% ในขณะที่คนไทยอีกเกือบ 90% มีที่ดินน้อยกว่าคนละ 1 ไร่ แสดงให้เห็นปัญหาการกระจุก ของการถือครองตัวของที่ดินในภาพรวม
.
▪️ “ที่ดินทํากิน” สิ่งที่ประชาชนยังขาดและต้องการมากที่สุด
.
ล่าสุดเมื่อ วันที่ 6 มี.ค. 2565 สํานักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสํารวจ เรื่อง “ปัญหาที่ดินทํากินของประชาชน” 1,105 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า สิ่งที่ประชาชนยังขาดและต้องการมากที่สุด ร้อยละ 56.8 คือ “ที่ดินทํากิน” โดยส่วนใหญ่รับรู้ว่ารัฐบาลให้ความสําคัญ กับการแก้ปัญหาที่ดินทํากินของประชาชน แต่ต้องการให้ช่วยเหลือเป็นรูปธรรม มากกว่าในอดีตที่ผ่านมา 
.
ทั้งนี้ นอกจากการจัดหาและจัดสรรที่ดินทํากิน และแหล่งที่อยู่อาศัยให้ชุมชนและประชาชนอย่างถูกกฎหมายแล้วนั้น อีกหนึ่งโมเดลที่น่าสนใจในการช่วยเพิ่มรายได้ และสวัสดิการให้กับกลุ่มคนเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และเด็กแรกเกิด นำร่องในพื้นที่ กทม. จากผลประโยชน์ภาษีที่ดินที่ถือครองโดยคนฐานะดี ถูกนำเสนอโดย ‘นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล 
.
▪️ ชูโมเดลดึงภาษีที่ดินจาก “คนรวย” มาเลี้ยง “คนเปราะบาง”
.
นายวิโรจน์ ชี้ว่าการลดภาระกลุ่มเปราะบาง ก็คือการลดภาระของคนวัยแรงงาน ที่ต้องทำงานส่งเงินมาเลี้ยงดูคนในครอบครัวด้วย โดยในปี 2565 นี้ มาตรการยกเว้นภาษีที่ดินจะหมดอายุลง กทม. จะมีรายได้เพิ่มขึ้นทันที 10,000 ล้านบาท สามารถเปลี่ยนมาเป็นสวัสดิการคนกรุงได้ทันที โดยจากที่คำนวณตัวเลขผู้ได้รับสวัสดิการของกรุงเทพ หากปรับเบี้ยผู้สูงอายุ จากเดือนละ 600 บาท เพิ่มเป็น 1,000 บาท และปรับเบี้ยคนพิการ รวมถึงเงินเลี้ยงดูเด็ก เพิ่มเป็นเดือนละ 1,200 บาท จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 7,300 ล้านบาท
.
“งบสวัสดิการกลุ่มเปราะบางที่เพิ่มขึ้น คิดเป็นไม่เกิน 10% ของงบประมาณ น้อยกว่าเงินที่ กทม. สูญเสียรายได้ จากการยกเว้นภาษีที่ดินให้นายทุนด้วยซ้ำ” นายวิโรจน์ กล่าว