อนาคตตลาดพลูใต้สดใสไต้หวันสั่งซื้อปีละ 90 ล้านบาท

อนาคตตลาดพลูใต้สดใสไต้หวันสั่งซื้อปีละ 90 ล้านบาท





ad1

พัทลุงลุย “พลู” คู่ขนานหมาก ระบุ พลู “ร่มเมือง ท่าแค” ยอดวันละกว่า 200,000 บาท ตกปีละประมาณ 90 ล้านบาท ระบุ ราคาระยะห่างกันมากระหว่างตลาดพลูพัทลุง ตลาดไท กรุงเทพ ที่ 50 บาทกับ 120 บาท / กก. สายพันธุ์หนัก ร่มเมือง ท่าแค ขยายผลออกต่างประเทศคึกคักประกาศตั้งโรงงานสะกัดเอาสารน้ำมันมาแปรรูป   

วันที่ 7 ธค. 65  ที่ศาลาประชาคมเทศบาลตำบลร่มเมือง อ.เมือง จ.พัทลุง  มีการประชุมหารือเรื่องตลาดพลู โดยนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง  จากสำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง พาณิชย์จังหวัดพัทลุง มหาวิทยาลัยทักษิณ วิยาเขตพัทลุง และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และเกษตรกรปลูกพลูเข้าร่วม 

ทั้งนี้เป้าหมายคือการพัฒนาเกษตรผู้ปลูกพลูและปลูกหมาก เพราะหมากและพลูจะคู่มาตั้งอดีตนับพันปี  โดยเฉพาะพลูให้มีการรวมกลุ่มกันและหารือแลกแปลี่ยนความรู้กันข้อได้พัฒนาพลูขึ้นตามลำดับ 

และขณะนี้การปลูกส่วนใหญ่แบบผสมผสานปลูกเชิงเดี่ยวปริมาณน้อย จึงเป็นประเด็นทางฐานข้อมูลที่จะนำมาอ้างอิงถัดไปจะต้องมีการจัดระบบข้อมูล แต่ถึงอย่างไรภาพรวมพลูมีประมาณ 1,000 ไร่ทั้ง อ.เมือง และ อ.กงหรา จ.พัทลุง ส่วนเรื่องการตลาดทางพาณิชย์จังหวัดพัทลุง พร้อมที่จะดำเนินการสนับสนุนทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ พาณิชย์จังหวัด ฯลฯ พร้อมแล้วเป็นเซลล์จังหวัด โดยปัจจุบันตลาดพลูสดส่งออกรายใหญ่คือไต้หวัน อินเดีย ฯลฯ  

สำหรับพลู จ.พัทลุง พร้อมที่จะขออนุญาตให้เป็นพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ต่อไป ไม่ต่างกับข้าวสังข์หยด และปลาดุกร้า ส่วนทางมหาวิทยาลัยทักษิณมีความพร้อมที่จะดำเนินการแปรรูปสะกัดเอาน้ำมันพลูมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ทั้งสบู่ แชมพู และเจลล์ล้างมือและอีกจำนวนมากที่จะให้คุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากบริโภคแล้ว 

เกษตรกรพลู กล่าวว่า ขณะนี้พลู ต.ร่มเมือง และ ต.ท่าแค่ จ.พัทลุง ได้มีการขยายผลไปปลูกยังภูมิภาคต่าง  ๆ กันมากโดยที่ทางเกษตรกร ต.ร่มเมือง ต.ท่าแค ยังไม่รับทราบ เช่น ที่ จ.นครปฐม จันทบุรี ระยอง ฯลฯ   โดยบางชุดจะสั่งซื้อเป็น 10,000 ยอด 

และทางด้านการตลาดที่อื่น เช่น ที่กรุงเทพฯ ราคาจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 60-70 บาท / กก. ขณะที่ตลาดพลู ต.ร่มเมือง ต.ท่าแค  เคลื่อนไหวอยู่ที่ 50 บาท / กก. 

ทางด้านเจ้าของสวนพลูอีกราย ต.ร่มเมือง กล่าวว่า พลูที่ปลูกก ต.ร่มเมือง ต.ท่าแค อ.เมือง จ.พัทลุง จะเป็นพลูหนัก ไม่ใช่พลูเบา ตลาดหลักที่รับซื้อคือล้งจากไต้หวันเพื่อส่งออก พลูเมื่อปลูกแล้วจะให้ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกวัน  โดยขนาด 300 ใบ / กก. ตอนที่ราคา 300 บาท / กก. เท่ากับใบละ 1 บาท แต่ตอนนี้ราคาพลูได้ร่วงลงมามากแล้วอยู่ที่ บางวัน 50 บาท / กก.และบางวันต่ำกว่านั้นสำหรับในพื้นที่ 

นายสมบูรณ์ บุญวิสูตร นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลร่มเมือง อ.เมือง จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ปัจจุบันพลูในเขตเทศบาลตำบลร่มเมือง เป็นแหล่งปลูกรายใหญ่  จ.พัทลุง สายพันธุ์พลูเรียกันว่าพลูหนัก มีรสชาติเข้มข้นพิเศษเผ็ดร้อน ไต้หวันมีความต้องการมาก ขณะนี้มีล้งรายใหญ่จากไต้หวัน ประมาณ 3 ล้ง และเป็นรายขนาดเล็กอีกรวมแล้วประมาณ 10 ล้ง ที่ทำการับซื้เพื่อส่งออก   

“ผมสอบถามจากล้ง แต่ล้งบอกว่าส่วนใหญ่พลูจะนำไปบริโภค แต่ยังไม่มั่นใจ เพราะรับซื้อต่อวันประมาณ 5 ตัน /  วัน เป็นเงินประมาณ 250,000 บาท / วัน (ราคาวันนี้ 7 ธค.65 ในพื้นที่ 50 บาท / กก.)  ภาพรวมประมาณกว่า 7 ล้านบาท / เดือน ถ้าเป็นปีภาพรวมประมาณ 90 ล้านบาท / ปี ทั้งพลู ต.ร่มเมือง และพลู ต.ท่าแค” 

นายสมบูรณ์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบัน นอกจากล้งรับซื้อที่พลูจ.พัทลุงแล้ว ตอนนี้พลูจาก จ.สงขลา ก็มาส่งขายที่ จ.พัทลุง ด้วย โดยรูปแบบจัดซื้อมีเกรด เอ บี และ ซี.  โดยราคาจะต่างกัน  ส่วนไม่ได้ขนาดก็จะถูกคัดทิ้ง  

“สำหรับราคาพลูมีการเคลื่อนไหวเดิมราคาประมาณ 300 บาท / กก. แล้วขยับลงมาตลาดลำดับ โดยก่อนปีใหม่เคลื่อนไหวอยู่ที่  80 บาท / กก. พอหลังปีใหม่ 2565 มาเหลือที่ 60 บาท / กก.”  นายสมบูรณ์ กล่าว 

เพื่อให้ราคาเสถียรจะดำเนินการจัดรูปแบบและจะการจัดตั้งโรงงานสะกัดน้ำมันพลู โดยจะเอาพลูที่ไม่ได้ขนาดจากการรับซื้อของล้งที่ถูกคัดทิ้งสะกัดน้ำมันเพื่อนำผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าได้ 

ทางด้าน ดร.สมบัติ ชนะสิทธิ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ตลาดพลูกลไกการตลาดยังบิดเบี้ยว เช่น วันนี้ ( 7 ธค. 65)  ที่ ต.ร่มเมือง ต.ท่าแค่ บางจุดรับซื้อที่ราคา 50 บาท / กก. แต่ที่ตลาดไท กรุงเทพฯ ราคา 120 บาท / กก.  ซึ่งเมื่อมีการแปปรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และเกษตรกรสวนพลูรวมกันเป็นกลุ่มก้อนแล้วราคาน่าจะเสถียร.