สังข์หยดอินทร์จีไอภาคใต้ราคาพุ่งตันละ 15,000 บาทสูงสุดรอบ4ปี

สังข์หยดอินทร์จีไอภาคใต้ราคาพุ่งตันละ 15,000 บาทสูงสุดรอบ4ปี





ad1

“ข้าวใต้” โค้งแรกกว่า 10,000 บาท / ตัน สังข์หยดอินทรีย์บวก จีไอ. ราคา 15,000 บาท / ตัน ข้าวใต้ขยับราคาสูงมา 3-4 ปี แต่ชาวนาโอดต้นทุนการผลิตข้าวพุ่ง 30-40 เปอร์เซ็นต์

นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ เปิดเผยว่า ภาวะข้าวนาปี 2564/2565 ภาคใต้ได้เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนกุมพาพันธ์แล้วจะไปสิ้นสุดประมาณเดือนมิถุนายน 2565 ประมาณ 150,000 กว่าไร่ ทั้ง 3 จังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา สามารถเก็บเกี่ยวได้ภาพรวมประมาณ 150,000 – 180,000 ตัน

ส่วนทางด้านราคาโดยเฉพาะข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองถือว่าดีมากประมาณเช่น ข้าวเฉี้ยง ราคา 11,500 บาท / ตัน เล็บนก 15,000 - 20,000 บาท / ตัน ข้าวสังข์หยดธรรมดาทั่วไป 10,000-12,000 บาท / ตัน ข้าวขาว กข.ทั่วไป 8,500 บาท / ตัน
“ภาพรวมข้าวทั้งทางภาคใต้ทำทั้งนาปี นาปรัง ทั้ง 2 ฤดูกาล ประมาณ 600,000 ไร ผลผลิประมาณ 700 กก. / ไร่ มูลค่า 300,000 ตัน / ปี”

นายสุทธิพร กล่าววา ปัจจัยสำคัญเรื่องนาข้าวขณะนี้คือพื้นที่ปลูกข้าวจะถูลดลงตามลำดับ จากการที่ชาวนาหันไปลงทุนปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นจากราคาที่จูงใจขณะนี้ที่ราคาสูงขึ้น ขณะที่ราคาข้าวไม่จูงใจ จึงถามรัฐบาลว่าอนาคตความมั่นคงทางอาหารชาวภาคใต้ในบริบทนาข้าวพื้นที่ภาคใต้จะดำเนินการอย่างลงตัวอย่างไร

ทางนายสุทธิชัย กาฬสุวรรณ นายกสมาคมผู้ผลิตและค้าข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง กล่าวว่า ภาวะราคาข้าว จ.พัทลุง โดยข้าวเริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว ส่วนราคาโค้งแรกได้มีการตั้งราคาแล้วขาวสังข์หยด ราคา 10,000 บาท / ตัน ข้าวสังข์หยดมาตรฐานอินทรีย์บวกจีไอ ราคา 15,000 บาท / ตัน ข้าวสังข์หยดอินทรีย์ธรรมดา ราคา 14,000 บาท / ตันส่วนข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง เฉี้ยง เล็บนก ไข่มดลิ้น และข้าวขาว กข. กลุ่มนี้ราคา 7,000 – 8,000 บาท / ตัน

“ข้าวพื้นเมือง จ.พัทลุง ราคาดีขึ้นมาตลอดจากกระแสนิยมข้าว คุณภาพ อีกอย่างคนในพื้นที่ทางภาคใต้นิยมบริโภคข้าวบ้านเรา เพราะว่าปลอดภัยกว่า อีกทั้งการผลิตข้าวพื้นเมืองก็ยังมีปริมาณไม่พอ มีเท่าไหร่ทางโรงสีข้าวจะรับซื้อหมด”

ภาพรวม จ.พัทลุง ปัจจุบันเหลือพื้นที่ทำนาข้าวประมาณ 120,000 ไร่ แต่ตอนนี้ปาล์มน้ำมันราคาสูง ได้เป็นตัวชี้นำชาวนาได้ทยอยมาปลูกปาล์มน้ำมันกันมากขึ้น ขณะนี้มีการยกร่องพื้นที่ทำนา มาทำสวนปาล์มน้ำมัน คาดว่านาข้าวจาก 120,000 ไร่ ในปีหน้าคาดว่าจะเหลือประมาณ 100,000 ไร่”

นายสุทธิชัย กล่าวว่า ส่วนประเด็นข้าวไทย ที่ส่งออกต่างประเทศไม่สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้เพราะจากปัจจัยข้าวไทยต้นทุนการผลิตสูง ขณะที่ประเทศเวียดนามต้นทุนที่ตำกว่า เพราะประเทศเวียดนามที่ดินดีสมบูรณ์จึงมีต้นทุนบำรุงข้าวที่ต่ำ ส่วนคุณภาพข้าวที่ว่าบ้านเราคุณภาพดีต่างประเทศก็มีคุณภาพดีเช่นกัน

ทางด้าน นายสมศักดิ์ พานิช ประธานชมรมโรงสีข้าวระโนด จ.สงขลา กล่าวว่า ข้าวนาปี จ.สงขลา เก็บเกี่ยวประมาณมีนาคมปีนี้ และปลูกเต็มพื้นที่ประมาณ 100,000 ไร่ ส่วนราคาข้าวตอนนี้ในพื้นที่ยังไม่มีการตั้งราคา แต่ราคาข้าวจะอิงอยู่กับราคาข้าวส่วนกลาง และกรุงเทพฯ ถ้าทางกรุงเทพฯ ปรับราคาขึ้นทาง จ.สงขลา ก็จะปรับตาม

“ตอนนี้อย่างราคาข้าว ที่ จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช ปรับราคาสูงขึ้น จะปรับตามราคาอิงกรุงเทพฯ กรุงเทพฯ ปรับสูงขึ้นราคาข้าวบ้านเราก็ปรับตาม”

นายสมศักดิ์ กล่าวว่า ทั้งนี้สาเหตุที่ราคาปรับขึ้นเพราะส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวหมดแล้วทางภาคอีสาน เมื่อต้นปี 2565 ตอนนี้ข้าวส่วนใหญ่จะอยู่ในมือพ่อค้า เมื่ออยู่ในมือพ่อค้าก็จะมีการทำราคาแล้วราคา ดังนั้นข้าวทางภาคใต้จึงปรับขึ้นตาม ที่ตรงพอดีกับฤดูการข้าวเก็บเกี่ยวภาคใต้ออกสู่ตลา

“ราคาข้าวภาคใต้ เพราะส่วนกลางเป็นผู้กำหนด ก็จะปรับขึ้น ด้วย”

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า แม้ว่าราคาข้าวจะดีขึ้นก็ตาม แต่ชาวนาก็ไม่ได้ราคาที่ดีตาม เพราะวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้กับการปลุกข้าว ปุ๋ย ยาปราบศรัตรูพืช ฯลฯ ต่างราคาขยับขึ้น โดยบางตัวขยับขึ้นถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ เช่น ปุ๋ย ส่วนยาปราบศัตรูพืชกลับไร้ประสิทธิภาพไม่สามารถกำจัดแมลงได้ดีเท่าที่ควรจึงต้องใช้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น.