พรรคประชาชาติพร้อมส่งเสริมภาษามลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (มีคลิป)

พรรคประชาชาติพร้อมส่งเสริมภาษามลายูในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (มีคลิป)





ad1

นราธิวาส-พรรคประชาชาติพร้อมส่งเสริมภาษามลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และร่วมแสดงความยินดีที่ภาษามาลายูจะเป็นที่สองของประชาคมอาเซี่ยนรองจากภาษาอังกฤษ ภูมิใจกับผลงานที่สามารถผลัดอาหารกลางวันให้นักเรียนเรียนชั้นตาดีกาได้สำเร็จ

     
วันนี้(26มีค.65) พรรคประชาชาติ นำทีมโดย นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และ เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส.ส.นราธิวาส เขต 4 นายอับดุลอายี สาแม็ง ส.ส.ยะลา เขต.3 นายกูเฮง ยาวอหะซัน ส.ส.นราธิวาส เขต 3 และ นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ ส.ส.ปัตตานี เขต 4  เดินทางลงพื้นที่ พบปะพี่น้องชาวอำเภอยะรัง มายอ ทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี  พร้อมร่วมละหมาด วันศุกร์ ที่มัสยิดนูรุลอิสลามปาว์มานีส ต.สาคอบน อ.มายอ จ.ปัตตานี ก่อนเดินทางไปร่วมรับประทานอาหารต้อนรับรอมฎอนที่บ้านพักนายก อบต.สาคอบน

และมีการเปิดเวทีปราศรัยชี้แจงผลงานตลอดระยะเวลา3ปีของพรรคประชาชาติที่ทำงานแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติมากหมายสร้างความประทับใจและพึ่งพอใจเป็นอย่างมากมีเสียงปรบมือเป็นระยะแสดงถึงความพึงพอใจ โดยเฉพาะกรณีผลัดดันโครงการอาหารกลางวันให้นักเรียนเรียนชั้นตาดีกาในพื้นที่ได้สำเร็จ หลังจากมีการอภิปรายเรียกร้องในสภาผู้แทนมาตลอดสามปี นอกจากนั้นได้ประกาศอย่างแรงกล้าที่จะส่งเสริมภาษามาลายูให้กับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแสดงความภาคภูมิใจที่ภาษามาลายูจะเป็นภาษาที่สองของประชาคมเศษฐกิจอาเซี่ยน สำหรับประเทศไทยแล้วมีเพียงสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคงไว้ซึ่งภาษามาลายูนับเป็นเรื่องที่สุดยอดของประเทศไทย


       
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และ เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวว่า วันนี้รู้สึกดีใจ ที่ได้มา ช่วงต้อนรับเดือนรอมฎอน ที่เป็นเดือนอันประเสริฐ แล้วสิ่งที่เป็นความดีใจและก็เป็นความเสียใจ สำหรับพี่น้อง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ผลักดันให้ภาษามาลายูเป็นภาษาของอาเซียน เป็นภาษาที่ 2  ประเทศอาเซียนมีทั้งหมด 10 ประเทศ ปัจจุบันภาษามลายู ยังเป็นภาษาราชการของมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน บางส่วนของประเทศอื่นยังไม่เป็นภาษาราชการ ปรากฏว่าเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีมาเลย์บอกว่าต้องผลักดันภาษามลายูเป็นภาษาที่สอง ของภาษาอาเซียนหรือภาษาทั้ง 10 ประเทศ ในอาเซียนเพราะว่าเป็นภาษาที่พูดในหลายประเทศหนึ่งในประเทศที่เอาไปกล่าวอ้างคือจังหวัดชายแดนภาคใต้ พวกเราต้องปรบมือให้พวกเรานะ นี่คือการยกระดับ เพราะอะไรรู้ไหมผมจำได้ว่าเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ตอนที่มาเป็นเลขาธิการศอบต. 2555- ตอนนี้ 2565 เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ได้นำเรื่องภาษามลายูเอาเรื่องเข้า ครม.และ บอกว่าต่อไปนี้ป้าย ไม่ว่าจะเป็นอนามัย สถานีตำรวจ อำเภอ

สถานที่ราชการต่างๆอย่างน้อยต้องอย่างน้อยต้องมี 3 ภาษา คือ 1 ภาษาไทย 2 ภาษามลายู 3 ภาษาอังกฤษ แต่ถ้าไปเบตงต้องมีภาษาจีน จะมีภาษาอาหรับภาษาอะไร เพราะว่าเราค้นพบแล้วว่าภาษาและวัฒนธรรมต้องไม่มีดินแดน ต้องไม่มีเขตแดนเพราะถ้าภาษา มีดินแดนวันนี้ภาษาอังกฤษต้องไม่ได้เป็นภาษากลางของโลก ต้องอยู่ที่ประเทศอังกฤษตอนนี้ประเทศจีนต้องอยู่ในประเทศจีนวันนี้ภาษาอาหรับก็อยู่ประเทศอาหรับ  กรณีภาษามลายูเราไปย้อนดูในอดีต ผู้ที่ปกป้องพัฒนารักษาภาษามลายูจำนวนมากต้องเสียชีวิตต้องถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ยกตัวอย่างง่ายๆ ท่านหะยีสุหลง  และอีกหลายคน บุคคลที่รักษาภาษามลายู ที่เป็นกองทัพหน้า ต้องมีโต๊ะครู โต๊ะอีมาน ครูสอนศาสนาหรืออุสตราในโรงเรียนเอกชน คือสามพี่น้อง

การศึกษา ปอเนาะ ตาดีกา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา อันนี้คือบางส่วนในการรักษา แล้วที่สำคัญที่สุดของภาษามาลายู เจ้าของตัวอักษรยาวีคือปัตตานี มาเลเซียผลักดันเป็นภาษาที่สองอาเซียน ที่อาจจะเป็นภาษาราชการในประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต เหมือนตบหน้านายกรัฐมนตรีไทย ด้วยความคิดที่เป็นชาตินิยมของผู้นำ   ที่มองว่าภาษามลายูเป็นภัย การไม่ส่งเสริมการมองภาษาเป็นภัย เป็นการทำร้ายภาษา แต่โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม ผู้นำศาสนาต่างๆรวมทั้งพี่น้องทุกคน ที่ร่วมกันรักษาปกป้องรักษาไว้ ถึงวันที่เห็นความสำคัญประเทศมาเลเซียระบุว่าตอนนี้ภาษาที่มลายูที่ใช้ในอาเซียนที่มีประชากรประมาณ 500 ล้านคน อย่างน้อย 300 ล้านคนเป็นคนพูดมลายูแล้วในสิ่งที่ระบุคนสามจังหวัดคือพวกเรา รวมอยู่ด้วย...
อักษรคำแรกของอัลกุรอาน คือ จงอ่าน ถ้าคุณไม่รู้ภาษา คนจะอ่านได้ยังไง

นี่คือความยิ่งใหญ่ ท่านๆต้องภูมิใจ ต้องภูมิใจที่บรรพบุรุษที่รักษาไว้ และที่สำคัญน่าอายตรงที่รัฐบาลไทยไม่ได้เสนอ ในอดีตบางยุคบางสมัย ที่มาปิด ไม่อยากให้ใช้ภาษามลายู แต่วันนี้ไม่สามารถหยุดได้แล้วเพราะโลก  สำหรับภาษามลายู สมัยผมอยู่ที่ พ.ศ 2555 ผมให้ช่อง 11 จังหวัดยะลามีรายการภาษามลายู 24 ชั่วโมง ศอ.บต เสนอโครงการสถานีทีวีมลายู วิทยุมลายู มีการเปิดอย่างยิ่งใหญ่ เพราะว่าเราแล้วมอง การที่จะทำให้อนาคต ของ 3 จังหวัดสามารถมีอนาคตที่ดีมีคุณภาพชีวิตที่ดีการจะมาค้าขายกับประเทศต่างๆในคราบสมุทรมลายูได้ สิ่งแรก คือ ต้นทุนทางภาษาและวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษ ที่มีให้ ก็คือภาษามลายู ถ้า 10 ปีที่แล้ว ไม่มีการยึดอำนาจในปี 2557 อาจจะเป็นไปได้ว่าประเทศไทยเป็นผู้ผลักดันให้ภาษามลายูเป็นภาษาราชการของอาเซียนก็ได้  

      
พรรคประชาชาติเป็นพรรคของพวกเราเป็นพี่น้องกัน เราเป็นพรรคที่เป็นประชาธิปไตยบนฐานคุณธรรม เป็นพรรคพหุวัฒนธรรม เพราะเราเชื่อว่าความเท่าเทียมความเสมอภาค ของคนต้องเท่าเทียมกัน นโยบายของพรรคประชาชาติ เปิดนโยบายแรกเลย คือ  คืนสิทธิ์ให้คนไทยทั้งหมด  คืนสิทธิ์ให้คนมลายู  ด้วยการกระจายอำนาจ แก้ปัญหาความยากจน ส่งเสริมสวัสดิการรัฐ คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปต้องมีบำนาญ เบี้ยผู้สูงอายุ 3000 บาทต่อเดือนหรือวันละ 100 บาท คือเราได้เสนอเป็นกฎหมายด้วย และที่สำคัญ เราจะต้องปฏิรูปที่ดิน วันนี้ที่ดินเมืองไทยเหลือเฟือ เพราะว่าประเทศไทยเราพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ไม่ได้มาพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน คือทรัพย์ของแผ่นดินคือของที่ดินต่างๆที่อยู่ในป่าไม้  ทรัพย์ของแผ่นดินต้องเป็นทรัพย์ของประชาชน แต่รัฐบาลได้เปลี่ยนโดยทำให้ทรัพย์ของแผ่นดินที่เป็นทรัพย์ของราชการ