มหกรรมเทศกาลผลไม้และของดีศรีขุนหาญ ดินแดนทุเรียนดินภูเขาไฟ (ชมคลิป)

มหกรรมเทศกาลผลไม้และของดีศรีขุนหาญ ดินแดนทุเรียนดินภูเขาไฟ (ชมคลิป)





ad1

ศรีสะเกษ-อำเภอขุนหาญจัดงานเทศกาลผลไม้และของดีศรีขุนหาญ ยิ่งใหญ่ ดินแดนทุเรียนดินภูเขาไฟ ที่มีชื่อเสียง

สำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

ที่สนามกีฬาวงกลมอำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ  นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ  ได้เป็นประธานเปิดงานเทศกาลผลไม้และของดีศรีขุนหาญ ประจำปี 2565  ในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 โดยมีนายพรชัย วงศ์งาม นายอำเภอขุนหาญ นายวิชิต  ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ นายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวศรีสะเกษ นายอมรแทพ  สมหมาย  ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุนหาญ นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ผู้บริหารสถานศึกษา  กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนภูเขาไฟและประชาชนอำเภอขุนหาญ  ร่วมในพิธีเปิดงานเทศกาลผลไม้และของดีศรีขุนหาญ ประจำปี 2565  เป็นจำนวนมาก

พรชัย วงศ์งาม นายอำเภอขุนหาญ

ภายในงานมีกิจกรรมประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรทุเรียนภูเขาไฟ  เงาะ สะตอ มังคุด ฝรั่ง ลำไยลองกอง กระท้อน ลิ้นจี่ ฯลฯ  และการออกร้านจำหน่ายสินค้าของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสินค้า OTOPของอำเภอขุนหาญ  ทั้งนี้เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตทางการเกษตรและสินค้า OTOP อำเภอขุนหาญ ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น  เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่เกษตรกรและเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะทุเรียนภูเขาไฟคุณภาพดีที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ  เพื่อเป็นการส่งเสริมด้านการตลาดและเพิ่มช่องทางการตลาด  เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนผลไม้ได้พบปะกับผู้บริโภคโดยตรง  เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นอำเภอขุนหาญ ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกษตรเชิงอนุรักษ์  และเพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร/กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของอำเภอขุนหาญต่อไป

วิชิต  ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ

นายพรชัย วงศ์งาม นายอำเภอขุนหาญ  กล่าวว่า อำเภอขุนหาญ มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกพืชทางการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้หลากหลายสายพันธุ์ มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่นำเงินเข้าสู่อำเภอขุนหาญ ได้แก่ ยางพารา มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  โดยเฉพาะพื้นที่ตอนใต้ของอำเภอเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร พื้นที่มีศักยภาพสูงเหมาะสมแก่การปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น เช่นทุเรียนภูเขาไฟ  เงาะ มังคุด  สะตอ ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของอำเภอ  ที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร  ซึ่งอำเภอขุนหาญมีพื้นที่ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ประมาณ 4,000 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 2,000 ไร่ และคาดว่าปีนี้จะมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดกว่า 2,000 ตัน นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ ลำไย ลิ้นจี่ ลองกอง  ทำรายได้เข้าสู่อำเภอขุนหาญประมาณ 100 ล้านบาท  จึงขอเชิญชวนเที่ยวชมงานเทศกาลผลไม้และของดีศรีขุนหาญในระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน ถึงวันที่ 6 กรกฎาคม 2565  นี้ด้วย

ภายหลังจาก ประธานและคณะได้เดินชมตามบูธต่างๆมาถึงไฮไลน์ของงานภาคบรรเทิงกับรำวงย้อนยุค ขุนหาญคาลิปโซ่ ซึ่งนารำประกอบด้วยภรรยาผู้นำท้องถิ่น คาลิปโซ่ คือจังหวะม้าย่องนั่นเอง เป็นจัวหวะหนึ่งที่ได้รับควมนิยมมากของยุคนั้น ส่วนจัวหวะที่ฮิตในสมัยนั้น นั่นเองซึ่งรำวงย้อยยุค ชื่อ"วงขุนหาญ คาลิบโซ่ "ซึ่ง นายอมรเทพ สมหมาย ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุนหาญ ก่อตั้งขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปินแขนงนี้เอาไว้ ให้ยืนยาวต่อไป

เสนาะ วรรักษ์/ รายงาน