ชาวบ้านโคราชร้องสำนักสงฆ์รุกที่รอบโบราณสถานบ้านหลุ่งตะเคียน

ชาวบ้านโคราชร้องสำนักสงฆ์รุกที่รอบโบราณสถานบ้านหลุ่งตะเคียน





ad1

นครราชสีมา-ชาวบ้านโคราช ร้องตรวจสอบสำนักสงฆ์บุกรุกที่โบราณสถาน รอบปราสาทโบราณ จนชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปกราบไหว้

เพจอยากดังเดี๋ยวจัดให้ รีเทิร์น part 2 ได้โพสต์เรื่องราวจากผู้ร้องเรียนรายหนึ่ง พร้อมข้อความระบุว่า “ #ร้องเรียนตรวจสอบ  บุกรุกโบราณสถาน สร้างรีสอร์ทบ้านพักรับรองจริงไหม..ชาวบ้านวอนสื่อสังคมช่วยตรวจสอบด้วย แอดคิมคะ  

ปราสาทบ้านหลุ่งตะเคียน ตำบลหลุ่งตะเคียน อำเภอห้วยแถลง พื้นที่ประมาณ 97 ไร่ ขณะนี้อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักศิลปากรที่ 10 พิมาย/นครราชสีมา  ตามประกาศของราชกิจจานุเบกษาฉบับ111ตอน56ง 1ธ.ค2565..ประกาศให้เป็นโบราณสถาน  10กว่าปีนี้มีผู้บุกรุกพื้นที่สร้างเป็นวัดโคกปราสาท และมีสิ่งปลูกสร้างมากมายลักษณะคล้ายบ้านพักรับรองหรือรีสอร์ท มีรถแม็คโคร และรถทัวร์ 2 ชั้นเห็นป้ายข้างๆว่าวัดโคกประสาทจอด 2 คัน -สร้างอาคารชิดปราสาทเก่าแก่เรา และครอบครองพื้นที่โบราณสถาน / สร้างสิ่งปลูกสร้างใจกลางบริเวณโบราณสถาน

ซึ่งไม่มีลักษณะคล้ายกับกุฎิสงฆ์ / สร้างเจดีย์สีทองยิ่งใหญ่ครอบกระดูกอัฐิของแม่เจ้าอาวาสเอาไว้ให้คนกราบไหว้?  โทรประสาทเก่าแก่ของเรา..อายุพันกว่าปีถูกซุกซ่อนเอาไว้ลุกล้ำประมาณ 2 เมตรในเขตโบราณสถาน ทางเข้าสาธารณะแสนคับแคบ ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเข้าไปทำพิธีกรรมตามความเชื่อศาสนา แต่กลุ่มผู้บุกรุกกลับทำทางเข้าวัดโคกปราสาทสวยงามอลังการยิ่งใหญ่ มีร้านค้าขายของอยู่หน้าปากทาง มีซุ้มขายของในวัด จากคลิปติ้กต๊อก เป็นเสียงของผอ...  /สำนักศิลปากรเขต10พิมาย ..ให้สัมภาษณ์เมื่อวานค่ะ”

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้ลงพื้นที่ไปที่บ้านหลุ่งตะเคียน พบกับ นายเจียม คำคง ชาวบ้านหลุ่งตะเคียน ที่อาศัยอยู่ใกล้กับโบราณสถานโคกปราสาท เปิดเผยว่า เดิมทีปราสาทหินหลุ่มตะเคียน เป็นปราสาทหินโบราณตั้งอยู่บนเนินดิน ชาวบ้านเรียกบริเวณเหล่านั้นว่า โคกปราสาท เมื่อถึงวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ชาวบ้านในพื้นที่จะมีเทศกาลเฉลิมฉลองโดยทำขนม ข้าวต้ม อาหารหวาน คาว มาตักบาตรพระสงฆ์บริเวณปราสาท หลังจากนั้น จะร่วมกันรับประทานอาหาร รวมถึง มีการละเล่นทั้งชนไก่ และจุดบั้งไฟ เพื่อเป็นสัญณาณว่าถึงฤดูเพาะปลูกกันเป็นที่สนุกสนาน

 แต่ต่อมา ได้มีพระสงฆ์เข้ามาตั้งสำนักสงฆ์ใกล้กับตัวปราสาท ทางชาวบ้านก็คิดเพียงว่า ท่านคงปลีกวิเวก หาที่สงบเพื่อปฏิบัติธรรม แต่ต่อมา ก็เริ่มมีการก่อสร้างอาคารสำนักสงฆ์ขยายกว้างออกไป จนไปกินพื้นที่รอบปราสาท รวมถึง พระสงฆ์ที่จำวัดอยู่ ก็ไม่ได้เข้าร่วมสังฆกรรมกับชาวบ้าน มีเพียงญาติโยมจากนอกพื้นที่เข้ามาทำบุญ จึงทำให้ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปที่ตัวปราสาทอีก ที่ผ่านมา เคยมีการร้องเรียนให้ตรวจสอบสำนักสงฆ์ที่บุกรุกพื้นที่โบราณสถานแห่งนี้มาแล้วหลายครั้ง แต่เรื่องก็เงียบไป ไม่มีการดำเนินการใดๆ มาจนถึงปัจจุบัน.

ประสิทธิ์  ตั้งประเสริฐ / นครราชสีมา รายงาน