ชาวนาดีร่วมแรงร่วมใจขุดกลอยทำบุญกลอยตามประเพณีแห่งเดียวเมืองปราจีนบุรี

ชาวนาดีร่วมแรงร่วมใจขุดกลอยทำบุญกลอยตามประเพณีแห่งเดียวเมืองปราจีนบุรี





ad1

ปราจีนบุรี –เรื่องดีดี-ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านแห่ขุดกลอยทำบุญตามประเพณี ทำบุญกลอยที่วัดด่านตะกั่ว หมู่ที่ 14 ต.นาดี อ.นาดี แห่งหนึ่งเดียวในเมืองปราจีนฯ

เมื่อเวลา 17.30 น. วันที่  5 ก.ย.65 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า   ได้รับแจ้งที่วัดด่านตะกั่ว หมู่ที่ 14 ต.นาดี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ชาวบ้านในหมู่บ้าน รวม50 คน ได้พร้อมใจรวมตัวกันไปหาขุดกลอย  ที่เขาจอมทอง    เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารพื้นบ้านสมัยโบราณ    โดประเพณีขุดกลอยทั้งหมู่บ้านนี้นับเป็นหนึ่งเดียว  ที่ได้มีการสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อแม่มาถึงปัจจุบัน

 โดยชาวบ้านจะรวมตัวกันไปหาขุดกลอยในป่าเชิงเขา    ซึ่งอยู่ติดกับหมู่บ้าน   ในรอบ 1ปีจะยึดถือ   ทำบุญกลอยเป็นประเพณีในหมู่บ้านแห่งนี้เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้น ซึ่งปีนี้ ชาวบ้านพากันรวมตัว-รวมแรงกัน   นำรถไถและรถยนต์ออกไปช่วยกันขุดกลอย    ที่เป็นเถาไม้เลื้อยขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่ในป่า    กลอยเป็นพืชล้มลุกมีหัวใต้ดินมีลักษณะกรมรี กลอยจะออกหัวใต้ดินคล้ายกับเผือกหอม   จะมีทั้งหัวเล็กและหัวใหญ่

กลอยป่ามี 2 ชนิด  คือกลอยข้าวเหนียว(สีเหลือง)  กับ กลอยข้าวเจ้า (สีขาว)    ชาวบ้านหลังขุดได้หัวกลอยที่อยู่ในดินได้แล้วนำมารวมกัน     นำมารับประทานเป็นอาหารว่างกินแทนข้าวได้ วากันว่าในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1-2  เศรษฐกิจทำมาหากินลำบากชาวบ้านจะขุดกลอยมาหุง-นึ่งกินผสมกับข้าวกัน กลอย 1 ต้น จะมีหัวขนาดใหญ่วัดโดยรอบประมาณ 30 ซม.ขนาดรองลงมาประมาณ 10-15ซม.โดยใช้เสียมขุดออกจากดินซึ่งหัวจะฝังอยู่ในดินลึกประมาณ10 ซม.มีลำต้นเป็นเถา

นายรัตนา วงษ์พันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 14 บ้านด่านตะกั่วกล่าวว่า    ช่วงกลางเดือน 9 ทางวัดฯ   จะจัดงานตักบตรข้าวสารอาหารแห้ง   เพื่อความรักสามัคคีในชัมชุนและหมู่บ้านใกล้เคียง    ในงานบุญทุกครั้งมีคนมาทำบุญเป็นจำนวนมาก อาหารที่นำมาทำบุญอาจไม่พอเลี้ยงผู้ที่มาร่วมทำบุญให้อิ่ม    จึงมีแนวคิดนำ  กลอย   มานึ่งให้ผู้มาทำบุญได้กินจนถือเป้นประเพณีสืบต่อมา    ซึ่งในปัจจุบันไม่มีคนนิยมหากลอยมาทำในงานบุญ 

การขุดกลอย   ชาวบ้านทุกคนจะขุดเอาแต่หัวใหญ่ๆไปเท่านั้น   หัวเลูกๆและต้นกลอย    ที่มีหัวติดอยู่จะเอาฝังดินไว้เพื่อให้กลอยขยายพันธุ์ในปีถัดไป   จะไม่สูญพันธ์ 

กลอยจะมีสองอย่าง คือกลอยข้าวเหนียวและกลอยข้าวเจ้า      ทั้งสองอย่างจะมีลักษณะแตกต่างกันกลอยข้าวเหนียวเนื้อสีเหลืองส่วนกลอยข้าวเจ้าจะสีขาว     ส่วนใหญ่จะนำมานึ่งรวมกันทั้งสองอย่าง    เวลาสุกแล้วเนื้อกลอย   จะมีสีเหลืองปนสีขาว    หลังจากขุดกลอยมาแล้วก็จะช่วยกันปลอกเปลือกออก   แล้วใส่ถุงปุ๋ยนำกลับมาล้างหรือแช่น้ำที่บ้าน

หลังจากล้างน้ำสะอาดดีแล้ว   จะใช้มีดฝานเป็นชิ้นหรือแว่นบางๆ   แล้วนำไปแช่น้ำเกลือในอัตตรากลอย 2 กก.เกลือเม็ด 1กก.แช่ทิ้งไว้ 3 คืน   เพื่อให้เกลือกัดสารเมาออกจากเนื้อกลอยให้ออกจนหมด     เมื่อกลอยถูกความเค็มจะเนื้อนุ่มและคลายสารพิษออก    หลังจากแช่น้ำเกลือ 3 คืนแล้ว    นำกลอยมาแช่   ในน้ำจืดต่ออีก 1 คืน     จากนั้นนำกลอยจืดไปนึ่งเหมือนกับนึ่งข้าวเหนียว   เมื่อกลอยสุกนำมาคลุกมะพร้าวขูด   คลุกน้ำตาลทราย   โรยงาเล็กน้อย   แค่นี้ก็สามารถรับประทานกลอยนึ่งได้แล้ว

มานิตย์   สนับบุญ/ปราจีนบุรี รายงาน