หลายวัดปราจีนฯโบสถ์น้ำท่วมใช้ตักบาตรเทโวประเพณีจุดอื่น-ลุยน้ำตักบาตร

หลายวัดปราจีนฯโบสถ์น้ำท่วมใช้ตักบาตรเทโวประเพณีจุดอื่น-ลุยน้ำตักบาตร





ad1

ปราจีนบุรี–หลายวัดปราจีนฯโบสถ์น้ำท่วมใช้ตักบาตรเทโวประเพณีจุดอื่น-ลุยน้ำตักบาตร   จากนั้นจัด สืบสานแห่ปราสาทผึ้งบ้านท่าอุดม อ.กบินทร์บุรี

เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรีรายงานว่า   เนื่องในวันตักบาตรเทโวฯหลังออกพรรษา 1 วัน  ในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรีหลายวัดที่ตั้งติดรอมแม่น้ำปราจีนบุรี  น้ำได้ท่วมด้านนอก-ในกำแพงแก้วพระอุโบสถ  ไม่สามารถจัดพิธีตักบาตรรอบโบสถ์ได้  

พบพี่น้องพุทธศาสนิกชนชาวอำเภอกบินทร์บุรีได้มาร่วมทำบุญสืบสานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ณ วัดพระยาทำและวัดใหม่ท่าพานิชย์ เทศบาลตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจากสถานการณ์น้ำท่วมอำเภอกบินทร์บุรีที่ผ่านมาทั้งสองวัดนี้ได้ถูกน้ำท่วม

แต่วัดพระยาทำน้ำได้ลดลงไปแล้ว  จึงมีการทำบุญตักบาตรบริเวณด้านหน้าพระอุโบสถของวัดพระยาทำได้    ส่วนวัดใหม่ท่าพาณิชย์ระดับน้ำได้ลดลงยังไม่หมด    ยังมีน้ำท่วมขังอยู่    จึงจัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรบริเวณด้านหน้าศาลาธรรมสังเวช    ซึ่งเป็นที่สูง    ส่วนบางวัดที่มีความกังวลว่าฝนจะตกฝนก็จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรบนศาลาการเปรียญเลย

ที่วัดทุ่งแฝก ตำบลกบินทร์มีการแต่งตัวเป็นเทพบุตรเทพธิดาเดินนำหน้าขณะพระบิณฑบาตรด้วย ทำให้ได้รับความสนใจจากประชาชนที่มาใส่บาตรเป็นอย่างมาก และที่วัดวังบัวทอง ตำบลหาดนางแก้ว  อ.กบินทร์บุรี  มีการตักบาตรเทโวโรหณะบริเวณโบสถ์ที่มีน้ำท่วมอยู่

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อไปว่า    หลังการตักบาตรเทโรแล้วพบพี่น้องบ้านท่าอุดม    ร่วมกับพี่น้องบ้านหนองแสงสืบสานประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง ณ วัดท่าอุดม หมู่ที่ 9 ตำบลนาแขม อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โดยผู้ใหญ่สุภาพร สมมิตร บ้านท่าอุดมร่วมกับพี่น้องคุ้มบ้านท่าอุดมและคุ้มบ้านฟากห้วยและผู้ใหญ่จุมพล พรมชัยยา บ้านหนองแสงพร้อมด้วยพี่น้องในชุมชนจัดทำปราสาทผึ้งรวม 3 หลังแห่มาถวายวัดท่าอุดม ซึ่งเป็นประเพณีที่พี่น้องในชุมชนได้ร่วมกันปฏิบัติสืบทอดกันมาทุกปี

ทั้งนี้จะจัดขึ้นในช่วงเทศกาลวันออกพรรษาและถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี จากความเชื่อความศรัทธาผสานกับภูมิปัญญาของผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ได้สืบทอดผ่านกระบวนการคิดแบบสร้างสรรค์และความวิจิตรงดงามของปราสาทผึ้งได้อย่างน่าทึ่ง

การประดิษฐ์ปราสาทผึ้งของบรรพบุรุษนั้น   สร้างสรรค์อิงตามพุทธประวัติครั้งพระพุทธเจ้าทรงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวันปวารณาออกพรรษา    พระพุทธเจ้าตรัสอำลาพระอินทร์ เพื่อเสด็จลงสู่เมืองมนุษย์ พระอินทร์จึงเนรมิตบันไดเงิน บันไดทอง และบันไดแก้วมณีให้พระองค์ได้เสด็จลงมา เทวดา มนุษย์ ครุฑ นาค สัตว์นคร ต่างชื่นชมในพระบารมีของพระพุทธองค์และเกิดความเลื่อมใสในบุญกุศลนั้น

และเกิดจินตนาการมองเห็นปราสาทวิมานสวยงามบนสรวงสวรรค์ จึงรู้ชัดว่าการที่จะได้ไปอยู่ในปราสาทสวยงามได้นั้น จะต้องสร้างบุญ-บารมี  สร้างกุศล ประพฤติปฏิบัติทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนามีสติ  จากความเชื่อนี้เอง จึงเกิดการคิดสร้างสรรค์ประดิษฐ์ปราสาทให้มีลักษณะคล้ายปราสาทราชมณเฑียรบนสวรรค์ชั้นวิมาน

นอกจากนั้นการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งยังมีความเชื่อว่าเป็นการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ผู้ที่ล่วงลับและร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลร่วมกันในช่วงเทศกาลออกพรรษาอีกด้วยครับ

การประดิษฐ์ปราสาทผึ้ง แต่เดิมเป็นการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งแบบโบราณ หรือเรียกว่า “ต้นผึ้ง” โดยการเอากาบของต้นกล้วย   มาทำเป็นโครง แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ แล้วตกแต่งด้วยดอกผึ้งได้อย่างงดงาม

ซึ่งต่อมามีการพัฒนาและประยุกต์ ผสมผสานการแกะสลักดอกผึ้งและประติมากรรมบนแผ่นเทียน ทำให้เกิดเป็นปราสาทผึ้งแบบประยุกต์    ที่มีความงดงามด้วยลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงและมีเรื่องราวที่เกิดจากความร่วมแรง   และร่วมใจของชุมชนต่างๆทั้ง 3 ชุมชน   และ   ยังคงอนุรักษ์ทั้งการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งโบราณและการประดิษฐ์ปราสาทผึ้งประยุกต์

มานิตย์   สนับบุญ-  ข่าว  /   ฉลองรัตน์  ทองโบราณ-ภาพ