“ต.แม่ขรี” ลุยจัดตั้ง “มังคุดแปลงใหญ่” หลังประสบความสำเร็จ"ทุเรียน สะละ"สร้างรายได้ชุมชนยั่งยืน

“ต.แม่ขรี” ลุยจัดตั้ง “มังคุดแปลงใหญ่” หลังประสบความสำเร็จ"ทุเรียน สะละ"สร้างรายได้ชุมชนยั่งยืน





ad1

เมื่อเวลา 13.30 นง วันที่ 27 ธันวาคม 25565 ที่ศาลาประชาคมบ้านด่านโลด หมู่ 3 บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง นางวราภรณ์ ชายเกตุ เกษตรอำเภอตะโหมด และเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอตะโหมด  พร้อมนายมโณศักดิ์ ทักษิณาวาณิชย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านด่านโลด พร้อมด้วยผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  นายกฤษฎา ลำปัง ประธานกลุ่มเกษตรมังคุดแปลงใหญ่ตำบลแม่ขรี สมาชิกสภาเทศบาลตำบลควนเสาธง และชาวสวนมังคุดหมู่ 3 บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง  จิตอาสาสมัครเข้าเป็นสมาชิกมังคุดแปลงใหญ่ จำนวน 49 รายในระยะเบื้องต้น

โดยมีจำนวนมังคุดประมาณ 3,000 ต้น ประมาณ จำนวนกว่า 180 ไร่โดยมังคุดบางรายมีประมาณ 70 ต้น และบางรายประมาณ 200 ต้น จากจำนวนภาพรวมมังคุด อ.ตะโหมด ที่มีกว่า 11,000 ไร่ ประมาณ 700 ไร่

สำหรับการจัดตั้งกลุ่มมังคุดแปลงใหญ่ก่อตั้งเสร็จและจะดำเนินการอย่างเข้มข้นในปี 2566  ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเป็นรายแรกและครั้งแรกของ อ.ตะโหมด ภายหลังงได้จัดตั้งแปลใหญ่ คือสะละขึ้นที่ ต.คลองใหญ่ และทุเรียนที่ ต.ตะโหมด อ.ตะโหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ในการจัดตั้งมังคุดแปลงใหญ่ เป้าหมายเพื่อรวมกลุ่มพัฒนาปรับปรุงให้มังคุดมีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และการบริหารจัดการตลาดเพื่อให้ได้ราคาที่ดี ทั้งยังมีเป้าหมายเพื่อเพื่อผลิตมังคุด GAP  การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices: GAP)  จะได้ส่งออกต่างประเทศและมีราคที่ดี  โดยปกติแล้วมังคุดของพื้นที่ ต.แม่ขรีมีการส่งออกไปยังต่างประเทศทุกปี เช่น ประเทศเวียดนาม ฯลฯ เป็นต้น


“แต่ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมาเนื่องภสพาดินฟ้าอากาศไม่เอื้อำนวยผลผลิตให้ตอบแทนที่ปริมาณน้อยมาก” ในที่ประชุม ระบุ

และในที่ประชุมชาวสวนมังคุดแปลงใหญ่ ยังได้เสนอแนวทางการพัฒนาปรังปรุงมังคุดเป็นหลักสำคัญคือเรื่องผลผลิตที่ได้ตามปริมาณตามฤดูกาล ลดต้นการผลิต โดยหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ที่ผลิตจากการรวมกลุ่ม และเรื่องงบประมาณสนับสนุน ทางด้านการพัฒนาคุณภาพการผลิต การตลาด ฯลฯ.

“สำหรับเกษตรอำเภอตะโหมด ได้จัดตั้งพืชแปลงใหญ่ได้ เช่น สะล

ะแปลงใหญ่ตำบลคลอง และทุเรียนแปลงใหญ่ตำบลตะโหมดสำเร็จ และล่าสุดได้จัดตั้งมังคุดแปลงใหญ่ตำบลแม่ขรี ประสำเร็จ” รายงานการประชุม ระบะ

สำหรับการเคลื่อนไหวของมังคุดปี 2563  ภาพรวมทั้งภาคใต้ได้ผลผลิตประมาณ 110,000 ตัน โดยล่าสุดราคาประมูลอยู่ที่ 105 บาท/กก. ลูกเบอร์ 1 เกรดเอเป็นราคาที่ดีที่สุดในรอบ 10 ปีของผลไม้มังคุด ที่ได้ราคาเฉลี่ยสูงสุด เมื่อเทียบจากปีที่แล้วราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาท/กก. และไม่เกิน 50 บาท/กก. และคาดราคาเฉลี่ยทั้งปี 2563 จะอยู่ที่ประมาณ 70 บาท/กก. แต่มาในช่วงระยะ 2 ปีที่ผ่านมามังคุดประสบกับมรสุมดินฟ้าอากาศไม่เอื้อำนวยจึงมีผลต่อผลผลิตที่ปริมาณน้อยและได้ส่งผลต่อราคาด้วย.

อัสวิน ภักฆวรรณ ผู้สื่อข่าวจังหวัดพัทลุง