ผู้การปัตตานีเปิดใจกรณีย้ายนอกฤดูว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาจไม่ถูกใจนายไปบ้าง

ผู้การปัตตานีเปิดใจกรณีย้ายนอกฤดูว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายอาจไม่ถูกใจนายไปบ้าง





ad1

วันนี้(10มกราคม66) จากกรณีมีโผลถูกย้ายผู้การตำรวจปัตตานีนอกฤดูการนั้นหลังจาก ได้ยืนหยัดในเรื่องกระบวนการยุติธรรม ในชั้นสอบสวนไม่สั่งฟ้องหากไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ เพราะะพนักงานสอบสวนต้องยึดหลักข้อกฎหมาย ไม่กลั่นแกล้งผู้ต้องหา  ผมทำงานในพื้นที่กว่า 30 ปีทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ย้ำไม่เคยมีปัญหา

จากกรณีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายนอกวาระในระดับนายพลที่ผ่านมา โดย 1 ในรายชื่อที่ออกมาปรากฏในสื่อโซเชียล คือ พล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ซึ่งถูกปรับย้ายไปในตำแหน่งผู้บังคับการกฎหมายและคดี ภาค 9 ซึ่งเกิดข้อสงสัยกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมา ทางด้านพล.ต.ต.นรินทร์ ได้ปฏิบัติงานเป็นอย่างดี และ ได้เข้าร่วมกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทั้งงานด้านการป้องกันและปรามปราบ ด้านความมั่นคง ด้านภาคประชาชน ทางด้านการศาสนา ทำให้ประชาชนตั้งคำถาม ร่วมถึง เจ้าตัว ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กว่า 30 ปี ไม่เคยก่อหรือเกิดปัญหาในพื้นที่แต่อย่างใด  ทำให้การแต่งตั้งโยกย้ายในครั้งนี้ สร้างความไม่เป็นธรรมให้กับเจ้าตัว เนื่องจากเป็นการโยกย้ายนอกวาระ และไม่มีเหตุอันสมควรที่จะมีการสั่งโยกย้ายในครั้งนี้ ตนจึงขอร้องขอความเป็นธรรม 

สำหรับสาเหตุการโยกย้ายในครั้งนี้ ทางด้านพล.ต.ต.นรินทร์ เชื่อว่าเกิดจากการที่เจ้าตัว มีความเห็นแย้งกับทางด้านผู้บังคับบาชาในในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะในเรื่องของการออกหมายจับผู้ต้องหาคดีความมั่นคง และรวมถึงการชุมนุมเชิงอัฒลักษณ์ของการแต่งกายตามแบบอย่างของชาวมาลายู ที่อ.สายบุรี ซึ่งเรื่องนี้มองว่า การออกหมายจับต้องมีพยานหลักฐานที่ชัดเจน ซึ่งถ้าหากว่าพยานหลักฐานไม่ชัดเจน อัยการก็จะไม่สั่งฟ้อง ส่งผลให้จะตอบคำถามกับประชาชนไม่ได้  แต่ถ้าไม่ฟ้องก็จะถูกผู้บังคับบัญชาตำหนิ ตนจึงไม่สั่งฟ้องตามผู้บังคับบัญชาสั่ง เพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ จุดตรงนี้น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้พล.ต.ต.นรินทร์ มีรายชื่อในการโยกย้ายนอกวาระในระดับนายพลที่ผ่านมา ทำให้เจ้าตัวต้อง ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ เพื่อให้ตรวจสอบในเรื่องการใช้กระบวนการยุติ ธรรมในเรื่องการสั่งคดีว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่

และได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมาธิการการทหาร ในเรื่องการประชุมชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการทหารเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ในเรื่องการจัดชุมนุมที่สายบุรีว่า พล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ รวมถึงผู้ที่ไปชี้แจงในวันดังกล่าวได้ชี้แจงเป็นไปตามหลักกฎหมายหรือไม่ และมีเรื่องใดที่ทำให้เกิดความเสียหาย และมีการรายงานว่าการชี้แจงของผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานีไม่เป็นไปตามนโยบาย และอีกเรื่องการเข้าควบคุมคดีของผู้บังคับบัญชาในคดีความมั่นคงทำให้การสอบสวนไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ พล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนจึงได้สั่งคดีไม่เป็นไปตามที่ผู้บังคับบัญชาที่มาควบคุมคดีนี้ต้องการ เพราะหากพิจารณาไม่รอบคอบสั่งคดีไม่มีมาตรฐานตามกฎหมาย อาจจะถูกฟ้องกลับจากผู้ต้องหาในคดีก็เป็นด้ และคดีนี้พนักงานอัยการได้สั่งคดีแนวทางเดียวกันกับพล.ต.ต.นรินทร์  บูสะมัญ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนได้สั่งคดีไว้ 

ด้านพล.ต.ต.นรินทร์ บูสะมัญ บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี เปิดเผยว่า ตนได้เข้าทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี 2532 กว่า 33 ปีไม่เคยออกนอกพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เลย และอยู่ในสถานีตำรวจมาโดยตลอด จนกระทั้งมาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปัตตานี ได้เพียง 1 ปี 3 เดือน จนมีคำสั่งโยกย้ายนอกวาระ ตนก็ตั้งขอสังเกตว่า การโยกย้ายนอกว่าระ ต้องเป็นผู้ที่ถูกตรวจสอบข้อเท็จจริง มีเพียงตนเองที่ย้ายในตำแหน่งเดียวกัน แต่ไม่มีเงื่อนไขใดๆเลย และตำแหน่งที่ผมไปอยู่เป็นตำแหน่งที่ไม่ได้สัมผัสประชาชน จึงตั้งขอสงสัยว่าเกิดสาเหตุเรื่องอะไร เพราะมาดูเรื่องของการจัดการพื้นที่ ตัวเลขของการจัดการคดียาเสพติด เมื่อปี 65 ที่ผ่านมา ก็ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ทุกเดือน ในเรื่องอื่นก็ไม่มีปัญหา ใดทั้งสิ้น แต่เรื่องหนึ่งที่อาจจะเป็นสาเหตุ คือการโต้แย้งกับผู้บังคับบัญชา ในเรื่องขอข้อกฎหมาย โดเยเฉพาะในเรื่องที่เป็นปัญหา มี เรื่องใหญ่ คือ เรื่องการชุมนุม ที่อ.สายบุรี ซึ่งเรื่องนี้ได้มีการแถลงที่กรรมาธิการทหารไปแล้ว  กับคดีอีกเรื่องหนึ่งก็คือ คดีความมั่นคง ที่เกิดล่าสุด มันเป็นช่วงขณะที่มีการพิจารณาโยกย้าย เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.65 พอดี 

ในช่วงนั้นคดีนี้ ตนเองก็มีการวางแผน การสอบสวนไว้แล้ว แต่ก็มีผู้บังคับบัญชาระดับภาค เข้ามาควบคุม และให้มีการดำเนินการ ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้งหมด และมีแนวนโยบายว่า จะต้องมีการสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งหมด ซึ่งตนเองก็หนักใจในเรื่องนี้ และมีการวางแผนเรียบร้อยแล้ว และคิดว่าการสั่งคดีน่าจะสั่งได้ แต่เมื่อเป็นเช่นนี้ การสั่งคดีของตน ค่อนข้างมีปัญหามาก และตนเชื่อว่าอัยการสั่งไม่ฟ้อง แน่นอน เพราะตนเองมีการทำวิจัยร่วมกับทางอัยการ ในการวิเคราะห์คดีความมั่นคง ในการวิเคราะห์คำพิพากษา ทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ทำให้เราเข้าใจแนวคิดของทางอัยการกับศาล และตนเองก็ทำคดีในแนวนี้มาตั่งแต่ ปี 2547 เราจึงได้คิดรูปแบบในกระบวนการสอบสวน ที่รัดกุมขึ้น และสามารถตอบชาวบ้านได้ว่า มีความผิดจริง แต่เมื่อดูคดีที่ผ่านมา ค่อนข้างมีปัญหาอย่างมาก และอัยการสั่งไม่ฟ้องแน่นอน และถ้าตนสั่งฟ้องตามที่ผู้บังคับบัญชาให้สั่งฟ้อง ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้อง ผมจะตอบชาวบ้านได้อย่างไร เพราะมีจำนวนหลายคน มีผู้ต้องหาทั้งหมด 12 คน สามารถสั่งฟ้องได้แค่บางคน ซึ่งน้อยมาก และตนจะบอกชาวบ้านได้อย่างไร ซึ่งอาจะถูกฟ้องกลับ และอาจจะเป็นประเด็นเงื่อนไข ในพื้นที่ก็ได้ นี้คือความหนักใจของตน แต่ถ้าผมสั่งไม่ฟ้องผู้บังคับบัญชาอาจจะตำหนิ 

แต่ตนคิดว่าน่าจะชี้แจง ในหลักการด้านกฎหมายแก่ผู้บังคับบัญชาได้  ก็เลยดำเนินการสั่งไม่ฟ้อง เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ที่ผ่านมา ก็มีการพิจารณาโผ การโยกย้ายออก ผู้บังคับบัญชาพอรับทราบว่า  ตนสั่งไม่ฟ้องไป ก็เกิดความไม่พอใจอย่างมาก และมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สนองนโยบาย ตนก็เข้าใจดี และพร้อมที่จะชี้แจงต่อผู้บังคับบัญชา  แต่ไม่มีการเรียกไปชี้แจง จนกระทั้งโผรายชื่ออกมา ตนถูกพิจารณาโยกย้ายไปที่  ผู้บังคับการกฎหมายและคดี ภาค 9 ซึงเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้สัมผัสประชาชน พอทราบว่าไม่ได้สนองนโยบาย 2 เรื่องนี้ ก็มาวิเคราะห์ตนเอง จนกระทั้ง วันที่ 29 ธ.ค. พนักงานอัยการ ก็มีความเห็นทางคดี สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา และได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งหมดแล้ว ฉะนั้นเรื่องนี้การตัดสินใจของตน ก็เป็นแนวคิดเดียวกันกับอัยการว่า  การสั่งฟ้องบางคดีมันไม่เกิดประโยชน์ 1 ถ้าศาลยกฟ้อง ทำให้ที่เราดำเนินการไปทั้งหมด เสียหายหมด ไม่สามารถทำอะไรได้ แต่ถ้าสั่งไม้ฟ้อง เราสามารถดำเนินการใหม่ได้ และการดำเนินการก็สามารถที่จะทำต่อได้ และขณะเดียวกัน ทางราชการก็ไม่ต้องชดใช้เยียวกับจำเลย ที่ถูกควบคุมตัวไป ก็เป็นการเซฟเงินของทางราชการ จำนวนมหาศาลเหมือนกัน ซึ่งตนเองก็มีการวิจัยในเรื่องนี้มาตลอด ซึ่งเมื่อเห็นว่าอัยการสั่วไม่ฟ้อง ตนถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งถ้าหากว่าไม่ยึดแนวทาง 

และผู้บังคับบัญชายังคิดอยู่อย่างนี้  กระบวนการยุติธรรมใน 3 จังหวัด น่าจะไปไม่รอด จะแย่มาก ก็เลยได้ยื่นเรื่องให้กับทางด้านกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และ การตำรวจ ซึ่งมีหน้าที่ในการวิจัย การศึกษา กระบวนการตรงนี้โดยเฉพาะ และเรื่องนี้ควรให้คณะกรรมาธิการซึ่งเป็น องค์กรส่วนกลางในการสอบข้อเท็จจริง และจะดูซิว่า ระหว่างตน กับแนวคิด กระบวนการยุติธรรมใครถูกใครผิด และจะเป็นบรรทัดฐานต่อไป และพร้อมที่จะพิสูจน์ตนเอง พร้อมที่จะว่าไปตามความจริง ถ้ามีความผิดก็น้อมรับทุกกรณี เช่นเดียวกันกับกรรมาธิการการทหาร ที่ตนได้ตัดสินใจและได้ทำไป ตนได้ยื่นร้องขอความเป็นธรรมกับกรรมาธิการการทหาร อีกครั้งหนึ่งว่า ผู้ที่ได้ร่วมชี้แจ้งในวันนั้น มีใครที่ชี้แจ้งให้เกิดความเสียหายต่อรูปคดีบ้าง จะได้ทราบกันเลยว่า ความจริงเป็นอย่างไรทั้ง 2 เรื่อง ซึ่งความจริงตรงนี้มีผลต่อการโยกย้ายตนไหม มันคงมีผลในระยะยาวมากกว่า 

แต่นะตอนนี้ ตนจะถูกย้ายหรือไม่ถูกย้าย มันก็เป็นเรื่องของผู้บังคับบัญชาแล้ว  ถ้าตนถูกย้ายก็จะอุทธรณ์ตามขั้นตอน กฎหมาย และมีการเยียวยา ที่จริงแล้วการเยียวยาของตน เดือนตุลามคนนี้ ผมจะได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ตาพรบ.ใหม่ ก็คือ ได้ขึ้นรองผู้บัญชาการโยอัตโนมัติอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการเยียวของตนก็ไม่ได้มีผลอะไรมากมาย และไม่รู้ว่าจะมีการเยียวยาตนตอนไหน ตนจึงเชื่อว่าสาเหตุก็มาจาก 2 เรื่องนี้ และตนอยู่ในพื้นที่กว่า 30 ปี ก็ไม่เคยสร้างเงื่อนไข ตนชอบในกระบวนการยุติธรรม ถ้าทำเรื่องนี้ให้ถูกต้องจริงๆ ก็สามารถชี้แจงให้กับผู้บังคับบัญชาได้ และชี้แจงต่อชาวบ้านได้  การโต้แย้งเรื่องกฎหมายเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้ามองว่าเป็นเรืองขัดแย้ง เมื่อไหร่ ความเสียหายก็เกิดขึ้น