รองเลขาธิการ ศอ.บต. หารือพัฒนาโจทย์วิจัย “ยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน”ใต้

รองเลขาธิการ ศอ.บต. หารือพัฒนาโจทย์วิจัย “ยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน”ใต้





ad1

รองเลขาธิการ ศอ.บต. หารือพัฒนาโจทย์วิจัย “ยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน” ประจําปีงบประมาณ 2566 ย้ำวิจัยต้องเชื่อมโยงการสร้างงานสร้างอาชีพ ต้องเป็นวิจัยที่ไม่ขึ้นหิ้ง

ที่ ห้องประชุม 122 คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นายชนธัญ  แสงพุ่ม รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และนายจักรพงษ์  อภิมหาธรรม ผอ.กองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน (กสพ.) พร้อมเจ้าหน้าที่ ศอ.บต. เข้าร่วมประชุมหารือการพัฒนาโจทย์วิจัย กรอบการวิจัย “การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน” ประจําปีงบประมาณ 2566 ร่วมกับ รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม  รองผู้อํานวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และ รศ.ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ รักษาการรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและการเงิน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้เกิดการยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่ชายแดนที่ไปสู่การเพิ่มมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ชายแดน และการยกระดับเมืองและชุมชนชายแดนที่นําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ําของคนในพื้นที่ชายแดน โดยเกิดเมืองชายแดนที่ประสบความสําเร็จในการพัฒนาตามเกณฑ์ที่กําหนดโดยใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

กรอบการวิจัย “การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน” ประจําปีงบประมาณ 2566 นี้ ได้วางเป้าหมายการพัฒนาเมืองชายแดนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตจากการจ้างงาน สร้างรายได้ การสร้างเศรษฐกิจ หมุนเวียนในพื้นที่ชายแดนประเทศไทย โดยการสร้างเศรษฐกิจฐานรากรองรับความเปลี่ยนแปลงการสร้างพื้นที่ เศรษฐกิจพิเศษชายแดนให้เข้มแข็งด้วยการใช้จุดแข็งของพื้นที่ทั้งทรัพยากรพื้นถิ่น ตัวคน กลไกในพื้นที่รวมถึงภูมิ ปัญญาในพื้นที่จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนและยกระดับเศรษฐกิจของเมืองที่ สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ การยกระดับวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มสหกรณ์ การเพิ่มโอกาสให้ เศรษฐกิจฐานราก การสร้างมูลค่า การพัฒนาและปรับใช้ประโยชน์ที่ดินให้มีประสิทธิภาพ การเพิ่มมูลค่าการค้า การลงทุนควบคู่ไปกับการเตรียมรับผลกระทบที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการสนับสนุนการร่วมลงทุนระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในพื้นที่ในโครงการพัฒนารวมถึงกระตุ้นให้เกิดปัจจัยจูงใจให้เกิดการลงทุนจาก ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อันจะนําไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการยกระดับด้านพื้นที่เศรษฐกิจ ในพื้นที่ต่อไปเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนในประเทศ

รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า “งานวิจัยที่ ศอ.บต. จะร่วมมือกับ บพท. และ ม.อ.ในครั้งนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ และงานวิจัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ไม่อยากให้เป็นงานวิจัยที่ขึ้นหิ้ง แต่อยากให้เป็นงานวิจัยที่สามารถเชื่อมโยงการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่ได้ สิ่งที่งานวิจัยต้องศึกษาให้ได้คือ จะทำอย่างไรให้สามารถกระตุ้นคนในพื้นที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของการแปรรูปสินค้า ต้องเกิดกลุ่มแปรรูปที่มีมาตรฐานและมีฮาลาล มีความพร้อมในการผลิต สามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ โดยในระยะสั้น ระยะกลาง วางเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้มีอาชีพให้ได้ ส่วนกรอบระยะยาวอยากให้เกิดอุตสาหกรรมที่เกิดจากการดำเนินการในระยะสั้นระยะกลางและดำเนินการต่อเนื่องไปสู่การดำเนินการในระยะยาว ทั้งนี้ งานวิจัยต้องสามารถเชื่อมโยงงานในลักษณะต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ และหน่วยงานวิจัยกับหน่วยงานขับเคลื่อนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนงานไปได้ เช่นที่ผ่านมา โครงการปูทะเลโลกของ ศอ.บต. ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถขยายผลไปในเรื่องการท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ด้วย”

ด้าน รศ.ดร.ปุ่นฯ รอง ผอ.บพท. กล่าวที่ประชุมตอนหนึ่งว่า “การมาประชุมในครั้งนี้ บพท.มีความตั้งใจจะร่วมขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจชายแดนใต้ร่วมกับ ศอ.บต. และหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ และเห็นตรงกันกับ ศอ.บต. ในการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ประชาชนเป็นตัวตั้งในการศึกษาวิจัย และในระยะแรกวางเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจนให้มีอาชีพให้ได้”