พ่อเมืองศรีสะเกษเร่งยกระดับผ้าทอเบญจศรีด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างรายได้ชุมชนมั่นคง

พ่อเมืองศรีสะเกษเร่งยกระดับผ้าทอเบญจศรีด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างรายได้ชุมชนมั่นคง





ad1

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น.    นายสำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาบุคลากร สินค้าและบริการก้านการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ “กิจกรรมยกระดับผ้าทอเบญจศรีด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อเป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอดภูมิปัญญารวมทั้งพัฒนาและยกระดับผ้าทอพื้นเมืองศรีสะเกษ โดยสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้แก่คนในชุมชน เยาวชนคนรุ่นใหม่ และผู้ที่สนใจให้รักษาต่อยอดไปได้อย่างยั่งยืน โดยประกอบด้วย 5 กิจกรรมหลัก ดังนี้

                          สำรวย เกษกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
      
- กิจกรรมหลักที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ กิจกรรม ยกระดับผ้าทอเบญจศรีด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
     
- กิจกรรมหลักที่ 2 การยกระดับผ้าทอเบญจศรีด้วยนวัตกรรมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
      
- กิจกรรมหลักที่ 3 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการพัฒนา โดยการจ้างผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์มาให้ความรู้ เช่น ชุดสตรี ชุดบุรุษ เครื่องประดับ กระเป๋า เฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งบ้าน ฯลฯ

                        น.ส.วริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ
      
- กิจกรรมหลักที่ 4 การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เช่น แท็ก กล่องบรรจุภัณฑ์ ถึงบรรจุภัณฑ์ ป้ายติดที่ผลิตภัณฑ์ 
- กิจกรรมหลักที่ 5 กิจกรรมการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การพัฒนาศักยภาพบุคลากร สินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยว เช่น การจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ โดยเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมสืบสาน
ประเพณีของจังหวัดศรีสะเกษ

โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
      
1. เพื่อยกระดับผ้าทอเบญจศรีให้เป็นแหล่งเรียนรู้นวัตกรรมอัตลักษณ์เฉพาะของจังหวัดศรีสะเกษ
      
2. เพื่อเสริมสร้างโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาดแก่กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP 
      
3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ

โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีความพร้อมในการพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีนวัตกรรมและพร้อมจะเป็นศูนย์เรียนรู้ผ้าทอเบญจศรีของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 6 กลุ่มๆ ละ 10 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 60 คน ในระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

นอกจากยังมี นางสาววริศรา โสภาค พัฒนาการจังหวัด หัวหน้ากลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน วิทยากร แขกผู้มีเกียรติ และผู้เข้าร่วมโครงการฯ ร่วมในการฝึกอบรมฯ   ณ ห้องวโรบล โรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน