เครือข่ายสิทธิมนุษยชนใน จชต. เพิ่มทักษะการเรียนรู้ทางกฏหมาย หวังเปิดช่องทางการเข้าถึงให้ประชาชน

เครือข่ายสิทธิมนุษยชนใน จชต. เพิ่มทักษะการเรียนรู้ทางกฏหมาย หวังเปิดช่องทางการเข้าถึงให้ประชาชน





ad1

เครือข่ายสิทธิมนุษยชนใน จชต. เพิ่มทักษะการเรียนรู้ทางกฏหมาย หวังเปิดช่องทางการเข้าถึงให้ประชาชน อย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

วันนี้ (1 มีนาคม 2566) ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดกิจกรรมการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายสิทธิมนุษยชนให้กับเจ้าหน้าที่และเครือข่ายภาคประชาชน โดยมีนายวิสันต์ ประเสริฐศรี ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ฯ พร้อมพบปะผู้เข้าร่วมประกอบด้วย นิติกรและเจ้าหน้าที่ของอปท. เจ้าหน้าที่ยุติธรรม สำนักงานกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า อาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนภาคประชาสังคม จำนวน 80 คน เข้าร่วม

สำหรับกิจกรรมดังกล่าวมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 3 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมสยามออเรียนทัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้เพิ่มทักษะการเรียนรู้และบทบาทที่สำคัญจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฏหมาย ความรู้ความสามารถในสายวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจกฎหมายสิทธิมนุษยชน สร้างเครือข่ายการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนและเปิดช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาคทั่วถึงและ ปกป้อง คุ้มครองสิทธิประชาชนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ

อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมการส่งเสริมความรู้กฎหมาย ศอ.บต. ดำเนินการภายใต้แผน การปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ประเทศไทยได้ตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจ ภายใต้กลไก Universal Periodic Review (UPR) หรือกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเป็นกลไกภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รอบที่ ๓ ในหมวดที่ 4 การอำนวยความยุติธรรมข้อ ๒๐๒. ซึ่งมีมาตรการป้องกันการกดขี่และการปฏิบัติที่โหดร้าย อันเกิดจากผู้บังคับใช้กฎหมาย

ซึ่งการส่งเสริมความรู้กฎหมายสิทธิ มนุษยชนให้กับประชาชนถือเป็นมาตรการหนึ่งที่ ศอ.บต. สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการ ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ ที่ไทยได้ตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจโดยการปฏิบัติงานกับกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ อันเกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่มีความซับซ้อน และเชื่อมโยงกันหลายมิตินั้น จำเป็นต้องส่งเสริมความรู้ความเข้าใจกฎหมายสิทธิมนุษยชนตามหลักกฎหมายสากลอนุสัญญาต่างๆ ที่ประเทศไทยเป็นภาคี สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับปัญหาการละเมิด สิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาณและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี

 โดยเมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ๒๕๕๕ มีผลใช้บังคับดังนั้นการส่งเสริมความรู้กฎหมาย ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนา ศักยภาพความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนยังเป็นการส่งเสริมความเข้าใจในบริบทของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้การทำงานในบทบาทด้านกฎหมาย และการอำนวยความเป็นการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น