ศรีสะเกษเดินหน้าโครงการ Waste to Energy สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ศรีสะเกษเดินหน้าโครงการ  Waste to Energy สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน





ad1

ศรีสะเกษ-รองผู้ว่าฯศรีสะเกษเปิดโครงการ Waste to Energy สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

เมื่อวันที่ 16 มี.ค.2566 ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ นายสุรศิษฐ์ อินทกรอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดโครงการ Waste to Energy สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2566 ซึ่ง สนง.พลังงานจังหวัดศรีสะเกษร่วมกับสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ   โดยนายวิชิต  ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ นายธานนท์ โสภิตชา  ผอ.สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ  นายมงคล  เพิ่มผล นายช่างเทคนิคอาวุโส รักษาราชการแทนพลังงานจังหวัดศรีสะเกษ นายกมล  ชัยกันทะ ท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ

                              สุรศิษฐ์ อินทกรอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

และนายแสวง  เชื้อทอง นายกองค์กาบริหารส่วนตำบลหมากเขียบ นำผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหาขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจาก 217 แห่ง ของจังหวัดศรีสะเกษ  เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 400 คน  ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจและจิตสำนึกในการร่วมบริหารจัดการขยะเกิดรูปแบบการบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะของพื้นที่  เพื่อขับเคลื่อนแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติและแผนปฏิบัติการด้านขยะ เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร เช่นการคัดแยก การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และการนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อผลักดันการพัฒนาการผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยแบบครบวงจร และเพื่อเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงนทดแทนตามยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ ต่อไป

                                  วิชิต  ไตรสรณกุล นายกอบจ.ศรีสะเกษ

นายมงคล  เพิ่มผล นายช่างเทคนิคอาวุโส รักษาราชการแทนพลังงานจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า ปัจจุบันมีขยะปริมาณที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งเกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นขยะกลายจึงเป็นปัญหาหนักที่ทุกประเทศต้องเผชิญอย่างหลีกเสี่ยงไม่ได้ โดยสถานการณ์ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยในปัจจุบันได้เริ่มเข้าสู่ขั้นวิกฤตที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน จากข้อมูลในปีพ.ศ.2564 กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 มีปริมาณขยะมูลฝอย รวมทั้งสิ้น 3,074 ตันต่อวัน และจังหวัดศรีสะเกษ มีขยะมูลฝอยมากถึง 835 ตันต่อวัน และถูกกำจัดอย่างถูกต้องเพียง 135 ตันต่อวัน จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการโครงการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการร่วมแรงร่วมใจในการบริหารจัดการขยะและพัฒนาการผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยแบบครบวงจร

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสรีสะเกษ สำนักงานพลังงานจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษและสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดศรีสะเกษ  จึงได้บูรณาการเปิดตัวโครงการ Waste to Energy สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เพื่อบริหารขยะมูลฝอยเป็นไปตามแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝ่อยของประเทศ ตามนโยบายของรัฐบาลและจังหวัดศรีสะเกษ ตามกลยุทธ์ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ คือ การลดปริมาณและคัดแยกขยะมูลฝอย ณ แหล่งกำเนิดการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บ ขนขยะมูลฝอย และการเพิ่มศักยภาพแประสิทธิภาพการกำจัดขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป

นายสุรศิษฐ์ อินทกรอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้กำหนดยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงานในประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและทดแทนมากขึ้น ให้ชุมชนมีการพึ่งพาตนเองในการพัฒนาพลังงานเพื่อสนองความต้องการตามศักยภาพของพื้นที่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2  ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร  และจังหวัด อำนาจเจริญ ได้รับอนุมัติโครงการ Waste to Energy ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามยุทธศาสตร์ชาติ

ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 จำนวน 2,889,300 บาท  และจังหวัดศรีสะเกษได้รับงบประมาณโครงการภายใต้กรอบวงเงินจำนวน 488,400 บาท เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกในการร่วมบริหารจัดการขยะ เพื่อให้เกิดรูปแบบการบูรณาการความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาขยะของพื้นที่  เพื่อขับเคลื่อนแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติและแผนปฏิบัติการด้านขยะ  เพื่อร่วมส่งเสริมการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ทั้งในการคัดแยก การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่และการนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง

 และเพื่อผลักดันการพัฒนาการผลิตพลังงานจากขยะมูลฝอยแบบครบวงจร เพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทนตามยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย เป็นเยาวชนสถานศึกษา 16 โรงเรียน จำนวน 3,200คน  ผู้แทนส่วนราชการและท้องถิ่น จำนวน 200 คน และแกนนำและเครือข่ายด้านพลังงาน จำนวน 16 คน ในระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี ในระหว่างเดือนตุลาคม 2565 สิ้นสุดเดือนกันยายน 2566 นี้

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน