ฝนทิ้งช่วงภัยแล้งลามสวนยางพารา-สวนผลไม้ขาดแคลนน้ำยอดใบเหี่ยวเฉากระทบผลผลิต

ฝนทิ้งช่วงภัยแล้งลามสวนยางพารา-สวนผลไม้ขาดแคลนน้ำยอดใบเหี่ยวเฉากระทบผลผลิต





ad1

สัญญาณอันตราย ภัยธรรมชาติ-แล้งจัด”  ผวา สวนยางพารา ผลไม้ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ขาดแคลนน้ำ ยอดใบพับเหี่ยวเฉาส่งผลต่อผลผลิต

นายดรีน ช่วยพริก ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านด่านโลด ต.แม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง เปิดเผยว่า จากภาวะแห้งแล้งจัดมาร่วม 2 เดือนเศษจนถึงขณะนี้ส่งผล ให้พืชผัก สวนผลไม้ สวนยางพารา ได้รับผลกระทบแล้งยาวโดยเฉพาะยางพาราน้ำยางหดตัวไปประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ จากที่มีรายได้ประมาณ 500 บาท / วันบางครัวเรือนมาเหลืออยู่ที่ 100 บาทเศษ / วัน

ส่วนทางด้านผลไม้ ชาวสวนทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ต่างกังวลหากฝนไม่ตกลงมาบ้างก็จะส่งผลกระทบต่อการผลิตโดยเฉพาะเกษตรกรรากหญ้าที่ไม่มีทุนเรื่องน้ำ จะกระทบทำให้ผลไม้ไม่ได้รับผลผลิตจะไม่มีรายได้  จากที่ไม่มีต้นทุนทำแหล่งน้ำ โดยซื้อเครื่องสูบน้ำ แป๊ปน้ำ ฯลฯ ตามลำห้วย ลำคลองเพื่อนำน้ำมาใช้  ส่วนเกษตรกรระดับกลางและบน ก็จะไม่มีผลกระทบมากนัก

เกษตรกรชาวสวนยางพาราสวนผลไม้ หมู่ 7 บ้านควนอินนอโม ต.ตะโหมด อ.ตะโหมด จ.พัทลุง กล่าวว่า ในเดือนพฤษภาคม 2566 นี้ ถ้าฝนไม่ตกลงมาบ้างก็จะส่งผลกระทบอย่างเลี่ยงไม่พ้น จะทำให้ยอดผลไม้พับ ส่วนที่ออกดอก เช่น ทุเรียน ดอกก็จะพับเหี่ยวเฉาได้รับความเสียหาย

ซึ่งโดยเฉพาะชาวสวนทุเรียนระดับกลาง ระดับบน ต่างใช้สร้างแหล่งน้ำ เครื่องสูบน้ำ สตริงเกอร์ รดน้ำทุเรียนทุกวัน แต่ชาวสวนระดับรากหญ้าได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีเงินลงทุน สร้างแหล่งน้ำ อุปกรณ์การใช้น้ำ เพราะมีราคาที่สูง  จากส่วนใหญ่จะเป็นชาวสวนยางพารา เพราะยางพาราราคาตกต่ำมาต่อเนื่อง และผลผลิตน้ำยางสดก็ปริมาณน้อยมาก จึงมีรายได้ที่ต่ำมาก  

“ในช่วงหน้าแล้งจัดนี้ หากมีฝนตกลงมาบ้างเดือนละ 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง ก็จะไม่มีผลกระทบมากนัก”.

เกษตรกรรายเดิม ยังกล่าวอีกว่า ส่วนเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมาเกษตรกรทั้งชาวสวนยางพารา สวนผลไม้ก็ไม่ได้รับผลิต ไม่มีรายได้เท่าที่ควร  ได้รับผลกระทบจากฝนตกยาวต่อเนื่องตลอดทั้งปี และยังประสบกับน้ำท่วมใหญ่อีกด้วย.