คนไม่ดังไม่มีน้ำหนัก!อดีตนายกอบต.สวมส้อยทองหนัก 100 ร้องขอความเป็นธรรมปมพ่ายคู่แข่ง 1 คะแนน

คนไม่ดังไม่มีน้ำหนัก!อดีตนายกอบต.สวมส้อยทองหนัก 100 ร้องขอความเป็นธรรมปมพ่ายคู่แข่ง 1 คะแนน





ad1

อุทัยธานี- อดีตนายก อบต.สวมสร้อยทองคำหนัก 100 บาท ไหว้ศาลหลักเมือง ขอความเป็นธรรม ยื่นหนังสือร้องศูนย์ดำรงธรรม แพ้คะแนนเสียงฝายตรงข้าม 1 คะแนน ลั่นคนไม่ดังไม่มีน้ำหนัก ถึงต้องสวมสร้อยมาให้มีน้ำหนัก

เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.66 ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจาก นางสาวจุฑาภัค หรือ นางสุลี หนองไผ่ อายุ 52 ปี บ้านเลขที่ 75 หมู่ 5 ต.เกาะเทโพ อ เมือง จ.อุทัยธานี ได้สวมสร้อยคอทองคำ และข้อมือ น้ำหนักกว่า 100 บาท พร้อมธูป เทียน ดอกไม้ เดินทางมายังศาลหลักเมืองอุทัยธานี  เพื่อกราบไหว้ ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ความเป็นธรรม ขอพูดความเป็นจริง ต่อหน้าศาล พร้อมหากพูดไม่จร้งพร้อมท้าสายบานฝ่ายตรงข้าม และในวันนี้ที่สวมสร้อยคอ 100 บาท มาเนื่องจากตนเองได้ยืมญาติพี่น้องมาใส่โดยตนเองไม่มีตังค์ไม่มีตำแหน่งเลยเสียงไม่ดัง

จึงต้องจัดใส่ทองน้ำหนักกว่า 100 บาทเพื่อมาร้องขอความเป็นธรรมให้มีน้ำหนักเหมือนทอง พร้อมกับเดินทางเข้ายื่นหนังสือ ที่ศาลากลางจังหวัดอุทัยธาน ไปยังศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดอุทัยธานี เพื่อขอความเป็นธรรมในเรื่องผลของการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาโดยวินิจฉัยของกกต.อุทัยธานี ไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่และไม่ตรงกับพยานและหลักฐานที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ พร้อมกับเอกสารที่ส่งมาล่าสุดล่าช้า

โดยนางสาวจุฑาภัค หรือ นางสุลี หนองไผ่ อดีตนายก อบต.เกาะเทโพ ได้อ้างว่า จากกรณี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพ อ.เมืองอุทัยธานี ได้มีหมู่บ้านจำนวน 6 หมู่บ้าน ได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเทโพขึ้น โดยมีผู้สมัครนายก อบต.เกาะเทโพ จำนวน 2 คน เบอร์ 1 ได้แก่นางสาวจุฑาภัค หรือ นางสุลี หนองไผ่ หรือผู้ร้องเรียนผู้สื่อข่าว และ เบอร์ 2 ได้แก่ฝ่ายตรงข้ามหรือนายกคนปัจุบัน โดยผู้สมัครครั้งนี้มีเพียง 2 คน

ล่าสุด ในวันที่รับผลการนับคะแนนยังไม่เป็นทางการ นางจุฑาภัค หรือนางศุลี ได้ดูโดยรอบแล้ว ผลคะแนนของตนเองได้รับคะแนนมาอันดับหนึ่ง โดยรวมหลายพื้นที่ในเกาะเทโพ แต่แล้วหลังจากการนับคะแนนอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าตนเองนั้นได้แพ้คะแนนเสียงจากเบอร์ 2 เพียง 1 คะแนน ซึ่งสร้างความสับสนและไม่พอใจให้กับตนเองมาก และตนเองคิดว่าต้องมีอะไรที่ซ่อนเร้นมากกว่านี้ โดยครั้งนั้นนางจุฑาภัค หรือนางสุลี ได้อ้างว่า คณะนั้นตนเองพร้อมพวกได้คัดค้านต่อหน้าหน่วยการเลือกตั้งแล้ว แต่ถูกปฏิเสธ จากคณะกรรมการหน่วยเลือกตั้งในที่นั้น ซึ่งอยู่ในพื้นที่โดยรวม ไม่ให้ถ่ายภาพบันทึกภาพ ตนเองจึงหวาดกลัว ต่อมาตนเองจึงได้ทำหนังสือยื่นร้องต่อกกต.จังหวัดอุทัยธานี เพื่อขอตรวจสอบและความเป็นจริงที่เกิดขึ้น และสร้างความไม่พอใจให้กับตนเองเป็นอย่างมาก

ล่าสุด หลังที่ตนเองได้ยื่นหนังสือให้กับทางกกต.จ.อุทัยธานีแล้ว แล้วมีหนังสือส่งมาเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เรื่องแจ้งผลการพิจารณา อ้างถึงผลคำร้องฉบับวันที่ 8 ธ.ค.64 ได้ยกคำร้องของตนเอง ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดทำคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเลือกตั้ง และครั้งล่าสุด ตนเองได้รับหนังสืออีกครั้งในวันที่  22 พฤษภาคม 2566 ได้มีหนังสือมาอีกฉบับ โดยสำเนาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือกตั้ง จาก กกต.จ.อุทัยธานี มีมติให้ยกคำร้องของตนเอง หลังจากนั้นตนเองได้อ่านเอกสาร และคำวินิจฉัย ไม่ตรงกับพยานและหลักฐาน ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

ซึ่งวันนี้ ตนเองได้เดินทางมายังศาลหลักเมืองอุทัยธานี  เพื่อกราบไหว้ต่อศาลหลักเมือง และขอพูดความเป็นจริงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์  หลังจากนั้นจึงนำเอกสารไปยื่นยังศูนย์ดำรงค์ เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา 

ต่อมาทางด้าน นางสาวจุฑาภัค หรือ นางสุลี  พร้อมกับผู้สื่อข่าวได้เดินไปสอบถามยัง กกต.จ.อุทัยธานี  เพื่อสอมถาม พร้อมนำเอกสาร ขอคำชี้แจ้ง กับ กตต.ของผลการเรื่องตั้งที่ผ่านมา และเอกสารคำวินิจฉัยที่ส่งกลับมา  โดยได้สอบถามกับ

นางสาวพูนศรี สุขเสวก รองผู้อำนวยการสำนักงานการเลือกตั้งจังหวัดอุทัยธานี กล่าวว่า ครั้งนี้ตนเองได้ขอรับเอกสารจากนางจุฑาภัค หรือนางสุลี ไว้ก่อน เพื่อขอพิจารณาหารือกับผอ.กกต.อุทัยธานี เพื่อขอตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ทางนางสาวพูนศรี หรือรองผอ.กกต.อุทัยธานี ยังได้เปิดเผยอีกว่า หากชาวบ้านทั่วไปหรือประชาชนอยากจะร้องเรียน เรื่องการนับคะแนนผลการเลือกตั้ง ขอให้คัดค้านตั้งแต่วันนับคะแนนที่หน้าคูหาดังกล่าว