เศรษฐกิจทรุด ยางพาราตกต่ำ ฉุดกำลังซื้อฐานรากฝืดเคือง ร้านค้าโชว์ห่วยทยอยปิดกิจการ

เศรษฐกิจทรุด ยางพาราตกต่ำ ฉุดกำลังซื้อฐานรากฝืดเคือง ร้านค้าโชว์ห่วยทยอยปิดกิจการ





ad1

เกษตรกรชาวสวนยาพาราภาคใต้กำลังเผชิญกับวิกฤติ น้ำยางหดตัวกว่าครึ่ง ราคาไม่หวือหวา แถมยังโดนปรากฎการณ์"เอลนีโญ"ทำให้ดินเสื่อมสภาพ ทั้งขาดธาตุอาหาร โรคใบร่วง ทำให้รายได้หดหาย คนฐานรากขาดสภาพคล่องทางการเงิน การค้ารายเล็ก รายย่อยทยอยปิดกิจการหนีขาดทุนเนื่องจากขาดกำลังซื้อ

นายจรงค์ เกื้อคลัง อดีตผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองปด เจ้าของสวนเกษตรผสมผสานบ้านยางขาคีม หมู่ 6 บ้านยางขาคีม ต.ทุ่งนารี อ.ป่าบอน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า สภาพการเงินเศรษฐกิจฐานรากพื้นที่รอบนอกอยู่ในภาวะฝืดเคืองมาก สภาพไม่พอต่อการยังชีพ หนี้ครัวเรือนไม่สามารถชำระได้ตั้งดอกเบี้ยและเงินต้น ส่วนที่จะทำการค้าเพื่อหารายได้เพิ่ม พร้อมที่จะเปิดแต่พร้อมที่จะปิด

เพราะอาชีพส่วนใหญ่งานหลักและรายได้หลักของคนในพื้นรอบนอกมาจะเป็นยางพารา และบางรายมีรายได้วันละ 100 บาท 150 บาท และ 150 บาท เพราะปริมาณน้ำยางสดหดตัวมากกว่าครึ่ง จากภัยร้อย หรือภาวะเอลนิโญ โรคยางใบร่วง ดินสภาพเสื่อมขาดธาตุอาหาร จึงส่งผลต่อรายได้จากยางพาราเป็นอย่างมาก

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้า จ.พัทลุงตอนใต้ กล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้ประกอบการร้านข้าวต้ม เมื่อเศรษฐกิจค่อนข้างดีขายข้าวต้มได้ไม่ต่ำกว่าคืนละ 10,000 บาท มาตอนนี้เหลือ 2,000 บาท ส่วนแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ ที่ขายได้ 1,000 บาท / วัน จะเหลือเกือบ 500 บาท ตลอดจนร้านน้ำชากาแฟ และการค้าภาพรวม ๆ แล้วยอดขายตกไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ซึ่งเป็นดัชนีตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจในพื้นที่

แม้ค้าทำขนมครกรายหนึ่ง กล่าวว่า แต่เดิมเคยทำขนมครกประมาณวันละ 3 กก. ตอนนี้เหลือประมาณ 2 กก. ขายให้กับลูกค้าน้ำชากาแฟ รายะละ 10 บาท 20 บาท ส่วนการค้าขายรายย่อยที่เปิดหน้าร้าน และแผงลอยตามถนนสายหลัก ๆ และพ่อค้าแม่ค้าที่ทำขนมค้าส่งตามร้าน ตลาด และตามร้านกาแฟ ไม่ยั่งยืนต่างปิดทยอยปิดตัวลง

"ปัจจุบันสภาพการเงินจะกระเตื้องขึ้นเป็นบางช่วง เช่น ช่วงสิ้นเดือนการค้าจะมีรายได้จากการซื้อสินค้าจากบัตรสวัสดิการของรัฐรายละ 300 บาท รายได้จากผู้สูงอายุ 600-700 บาท รายได้จากเงินสิ้นเดือนจากข้าราชการประจำ ข้าราชการบำนาญ พนักงานลูกจ้างประจำทั้งภาครัฐและเอกชน รายได้จากรัฐช่วยเยียวยาของรัฐ เช่น คราวประสบอุทกภัยน้ำท่วม 5,000 บาท และจะมีรายได้จากช่วงหาเสียงเลือกตั้ง สส.ทั่วไปเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา"

เจ้าของสวนยางพาราในจังหวัดพัทลุง รายหนึ่ง กล่าวว่า ชาวสวนยางพารารายได้จะตกต่ำมาก จนมีการโค่นกันแล้วหันมาปลูกสวนทุเรียนกันเพิ่มขึ้นตามลำดับ ประมาณว่าอีกหลายปีข้างหน้าจะส่งต่อผลราคา

“พูดถึงสวนยางพารารายได้ตกต่ำมาก เพราะมาจากหลายปัจจัย แต่ถึงอย่างไรสวนยางพาราเป็นพืชการเกษตรที่ดูแลรักษาง่ายกว่าพืชตัวอื่น ๆ ซึ่งตอนนี้พืชการเกษตรที่ราคาดีจะกระจะกระจุก คืออยู่ในกลุ่มผลไม้ทุเรียนที่กำลังออกสู่ตลาดในขณะนี้”

ขณะที่ นายกำแพง แก้วสุวรรณ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง กล่าวว่า สวนทุเรียน ในจ.พัทลุง ปี 2566 ได้ผลผลิตประมาณ 3,500 ตัน ส่วนใหญ่จะเป็นทุเรียนสายพันธุ์หมอนทอง ซึ่งจะเริ่มออกปลายเดือนมิถุนายน 2566 และปริมาณมากกลางเดือนกันยายนไปจนถึงตุลาคม 2566 และทุเรียนปีนี้จะมีผลผลิตตลอดทั้งปี เพราะมีการทำสวนทุเรียนทวายหรือทุเรียนนอกฤดู

“หมอนทองเฉลี่นราคาประมาณ 150 – 160 บาท ราคา ณ ที่แปลง ส่วนทุเรียนออกผผลิตในขณะนี้อจะเป็นทุเรียนพื้นเมืองราคา ณ ที่แปลงประมาณ 50 บาท /กก. ภาพรวมเฉลี่ยราคาทุเรียน จ.พัทลุง อยู่ที่ 100 บาท / กก. สาเหตุว่าเพราะมีทุเรียนหลายสายพันธุ์รวมถึงทุเรียนตกเกรดด้วย โดยผลผลิตมีประมาณ 3,500 ตัน ราคา 100 บาท จะเป็นเงินประมาณ 350 ล้านบาท”.

 โดย...อัสวิน ภักฆวรรณ