เตรียมชงกรมข้าวมอบที่ดินให้กรมท่าอากาศยานลุยเนรมิตรสนามบินพัทลุง 1,400 ไร่

เตรียมชงกรมข้าวมอบที่ดินให้กรมท่าอากาศยานลุยเนรมิตรสนามบินพัทลุง 1,400 ไร่





ad1

“สนามบินพัทลุง” ติดเครื่องเครื่องเดินหน้า “ที่ดิน” เรื่องที่ 1,400 ไร่ ของศูนย์วิจัยข้าว พัทลุงสร้างสนามบินมอบ ชงข้อมูลเสนอกรมข้าวมอบที่ดินให้กรมท่าอากาศยาน  ระบุ พัทลุงพร้อมแล้วโครงการพื้นฐานคมนาคม  ทั้งถนน รถไฟทางคู่ ท่าเรือ เชื่อมถึงท่าเรือน้ำลึกสงขลา-สตูล

ผศ.ดร.กุณฑล ทองศรี กรรมการบริหารศูนย์นวัตกรรมระบบราง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คณะทำงานโครงการพื้นฐานคมนาคมผลักดันสนามบินพัทลุงที่ผ่านมา เปิดเผยว่า มีความก้าวหน้าของโครงพื้นฐานเพื่อการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ ฯลฯ ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติแถบลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาอย่างยั่งยืน ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่ง การบริหารจัดการสินค้าสู่ท่าเรือน้ำลึกสงขลา-สตูล ในอนาคตได้อีกด้วย

เช่น โครงการก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองทิศเหนือด้าน อ.ควนขนุน อ.เมือง จ.พัทลุง ถนนวงแหวนเลี่ยงรอบเมืองถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 41-ถนนเลียบทะเลสาบสงขลา ถนนเลียบทะเลสาบสงขลา ในช่วงระหว่าง อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว และ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง  และจะเชื่อมต่อโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลา  ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง - ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา ซึ่งเป็นโครงการของกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม  “จะเป็นการรองรับสนามบินพัทลุง  ซึ่งอนาคตพัทลุงจะมีความสมบูรณ์แบบทั้งถนน รถไฟทางคู่ และท่าเรือ”

ผศ.ดร.กุณฑล กล่าวว่า โครงการสนามบินพัทลุง ผ่านขั้นตอนการศึกษาความเป็นไปได้ในโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานพัทลุงรายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) เลือกพื้นที่ของศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง เนื้อที่ประมาณ 1,496 ไร่ เป็นพื้นที่ราบลุ่มใกล้กับทะเลสาบสงขลา และลุ่มน้ำทะเลสาบเป็นพื้นที่รอยต่อระหว่าง จ.พัทลุง สงขลา  และ จ.นครศรีธรรมราช ใช้งบประมาณโครงการก่อสร้าง 2,143,710,620.90 บาทขณะนี้เข้าสู่ขั้นตอนการการออกแบบสนามบินพัทลุงสู่การเจรจากับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อนำที่ดินในพื้นที่ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง มอบให้กรมท่าอากาศยาน ก่อสร้างสนามบินพัทลุงส่วนที่ดินศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ทาง จ.พัทลุง จะหาที่ดินทดแทนจะใช้พื้นที่ไม่มากในการศึกษาวิจัย เนื่องจากปัจจุบันได้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ สามารถลดปริมาณการใช้พื้นที่ในการดำเนินการได้

“ทั้งนี้ที่ผ่านมาได้ประสานนายนริศ ขำนุรักษ์  รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อนำเสนอนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์”

สำหรับเป้าหมายสนามบินพัทลุง จะเป็นสนามบินพาณิชย์ทั่วไป สามารถร่นระยะการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ จ.พัทลุง และจังหวัดใกล้เคียงอ.ชะอวด อ.จุฬาภรณ์ อ.หัวไทร และ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช อ.ระโนด อ.กระแสสินธุ์ และ อ.สทิงพระ จ.สงขลา

นายกิตติพิชญ์ กลับคุณ ประธานหอการค้าจังหวัดพัทลุง  เปิดเผยว่า ความคืบหน้าในการก่อสร้างสนามบินพัทลุง ทางนางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา 5 คณะเพื่อดำเนินการขับเคลื่อน โดยมีหอการค้าจังหวัดพัทลุงเป็นหลัก พร้อมกับหน่วยราชการ เช่น จังหวัดพัทลุง คลังจังหวัด ฯลฯ   โดยคณะทำงานมี 5 คณะ 1. คณะศึกษาระยะทางรัศมีสนามบิน  2. คณะศึกษาโลจิติกส์  3. คณะศึกษาความเป็นไปได้  4. คณะศึกษาเศรษฐกิจเกี่ยวกับสนามบิน  และ 5. คณะศึกษาเกี่ยวสิ่งแวดล้อม

และทั้งนี้ทั้งหมดจะมีการนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจจังหวัดพัทลุง (กรอ.)  ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 นี้ซึ่งจะได้นำข้อสรุปในการก่อสร้างสนามบินพัทลุง ขึ้นไปนำเสนอกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ทั้งนี้ในการนำเรื่องการขอสร้างสนามบินพัทลุง จะต้องมีข้อมูลหลักฐานสนับสนุนที่มีน้ำหนักจึงจะเกิดความเชื่อมั่นต่อการลงทุน  

“ในส่วนทางภาคเอกชนต่างมีความเห็นที่สอดคล้องต้องกันว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีสนามบินพัทลุง ส่วนที่จะลงทุนก่อสร้างไม่ใช่ว่าจะสร้างกันได้ในระยะใกล้ ๆ นี้ เพราะจะต้องมีงบประมาณ แต่ให้ได้สนามบินพัทลุงโดยสทริคไว้ก่อนจะสร้างพื้นที่ตรงไหนจุดไหน”  นายกิตติพิชญ์ กล่าว.

โดย...อัสวิน  ภักฆวรรณ