เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ความมหัศจรรย์ 7 จุด“สู่มรดกโลก”

เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ความมหัศจรรย์ 7 จุด“สู่มรดกโลก”





ad1

เที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ความมหัศจรรย์ 7 จุด“สู่มรดกโลก” The Magical Si Thep to World Heritage The Ancient Town of Sithep and its associated Dvaravati monumentsการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พาสื่อร่วมสัมผัสมรดกโลกล่าสุด

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ซึ่งเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อ พ.ศ. 2447-2448

เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้สะดวก จึงมีความเป็นไปได้ว่า นี่อาจเป็นต้นน้ำหรือจุดก่อกำเนิดของอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมนำสู่อาณาจักรข้างเคียง เช่น ศิลปะทวารวดี เป็นต้น สันนิษฐานว่ามีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายต่อเนื่องจนถึง อารยะธรรมสมัยทวารวดีและขอม ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 8 ถึง 18

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย (Thailand Tourism Award) ประจำปี 2543 จำนวน 2 รางวัลคือ รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยมและรางวัลสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านอินเทอร์เน็ตดีเด่น

สถานที่ตั้ง เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 107 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอวิเชียรบุรีประมาณ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ2พัรไร่เศษ มีกำแพงเมืองที่ก่อด้วยดินล้อมรอบ และมีคูเมืองนอกกำแพง มีประตูเมืองทั้งสี่ทิศ ภายในเมืองมีปรางค์สมัยลพบุรีอยู่สององค์ เรียกว่า ปรางค์องค์พี่และปรางค์องค์น้อง ทางทิศเหนือนอกกำแพงเมืองออกไปมีสระน้ำสองแห่ง ชื่อสระแก้วและสระขวัญ ในสมัยก่อนเมืองศรีเทพต้องส่งส่วยน้ำจากสระทั้งสองนี้ เพื่อนำไปใช้ทำน้ำพิพัฒยสัตยา เพราะถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์จนถึงปัจจุบัน

โบราณสถานและสถานที่สำคัญ กรมศิลปากรได้ดำเนินการ สำรวจ ขุดค้น ศึกษา และพัฒนาบรรดาโบราณสถานและโบราณวัตถุในเมืองศรีเทพตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ได้ทำการบูรณะและบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างให้มั่นคงถาวร และแบ่งพื้นที่สำคัญออกเป็นสองส่วน ได้แก่ เมืองใน และเมืองนอกเมืองใน มีพื้นที่ประมาณ 1.87 ตารางกิโลเมตร (1,300 ไร่) ผังเมืองค่อนข้างกลม ภายในตัวเมืองมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลอนลูกคลื่น พบโบราณสถานกระจายตัวอยู่ 48 แห่ง ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาและ ศาสนาฮินดู มีรูปแบบศิลปกรรมในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) และวัฒนธรรมเขมรโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 16-18) โบราณสถานที่สำคัญ อาทิ เขาคลังใน ปรางค์ศรีเทพ และ ปรางค์สองพี่น้อง ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมืองค่อนไปทางทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมีสระน้ำโบราณทั้งขนาดใหญ่ และเล็กอีกจำนวนกว่า 70 แห่ง

เมืองนอก มีพื้นที่ประมาณ 2.83 ตารางกิโลเมตร (1,589 ไร่) ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองใน ผังเมืองค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน พบโบราณสถาน 64 แห่ง มีสระน้ำโบราณจำนวนมาก นอกคูเมืองกำแพงเมืองโบราณยังพบโบราณสถานอีก 50 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ อาทิ เขาคลังนอก ปรางค์ฤๅษี กลุ่มเขาคลังสระแก้ว และสระแก้ว และเขาถมอรัตน์

ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3) ปรางค์ศรีเทพ เป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะขอมหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเขมรทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย บริเวณสระแก้วสระขวัญ สระแก้วจะอยู่นอกเมืองไปทิศเหนือ ส่วนสระขวัญจะอยู่ในบริเวณเมืองส่วนนอก สระน้ำทั้งสองสระนี้มีน้ำขังตลอดปี และเชื่อกันว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ มีการนำน้ำทั้งสองสระนี้ไปทำน้ำพิพัฒน์สัตยา ตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงปัจจุบัน

โบราณสถานเขาคลังใน ชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้ายปรางค์สองพี่น้อง ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่ หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช

ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนต่อนครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผัง ในรูปของศาสนสถานศิลปะเขมรแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย

เขาคลังนอก เป็นมหาสถูปที่พึ่งขุดพบใน พ.ศ. 2555 มีลักษณะหลงเหลือเป็นฐานขนาดสูง 5 เมตร ก่อด้วยศิลาแลงเขาถมอรัตน์และถ้ำ  เขาถมอรัตน์ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกนอกของเมืองโบราณศรีเทพห่างออกไปประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ที่มีรูปลักษณ์เฉพาะ เป็นที่ตั้งของถ้ำถมอรัตน์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานที่ดัดแปลงจากถ้ำหินปูนธรรมชาติโดยพบประติมากรรมสลักนูนต่ำ ดังนี้ พระพุทธรูปประทับยืนบนฐานดอกบัว ปางแสดงธรรม พระโพธิสัตว์ พระพุทธรูปปางสมาธิ รวมทั้งหมด 11 องค์ ลักษณะของภาพแกะสลักนั้นคล้ายกับศิลปะเขมรแบบกำพงพระ คาดว่าสร้างตามคติความเชื่อในพุทธศาสนานิกายมหายาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14

ราว พ.ศ. 2505 กรมศิลปากรได้รับแจ้งว่ามีการทำลายและขโมยชิ้นส่วนของพระพุทธรูปแกะสลักไปจากถ้ำ ได้แก่พระเศียรและพระหัตถ์ ภายหลังสืบทราบว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของนายจิม ทอมป์สัน หลังเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้เดินทางไปตรวจสอบก็พบว่าพระพุทธรูปจำหลักที่มีอยู่ถูกสกัดเอาเศียรและมือไปจนหาที่สมบูรณ์ไม่ได้ จึงเข้าแจ้งความต่อนายอำเภอวิเชียรบุรี สุดท้ายหลังการต่อรองและเข้าเจรจาต่อหลายครั้งนายทอมป์สันยินยอมคืนสมบัติรวม 28 ชิ้นแก่กรมศิลปากร หนึ่งในนั้นคือเศียรพระโพธิสัตว์ศรีอารยเมตไตรย ซึ่งถูกโจรกรรมจากถ้ำเขาถมอรัตน์ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่อยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครอาคารหลุมขุดค้นทางโบราณคดี  จัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์และโครงกระดูกช้างที่ได้ขุดค้นทางโบราณคดีเมื่อ พ.ศ. 2531โบราณสถานอื่น ๆ

นอกจากโบราณสถานหลักแล้วยังมีโบราณสถานย่อย ๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เช่น ทิศใต้ของเขาคลังใน พบโบสถ์ก่อด้วยศิลาแลง พบใบเสมาหินบริเวณใกล้หลุมขุดค้น และพบโบราณสถานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสสมัยทวารวดี ซึ่งได้มีการก่อสร้างทับในระยะที่รับเอาศาสนาพราหมณ์เข้ามา จึงเห็นได้ว่าบริเวณเมืองชั้นในเดิมน่าจะเป็นเมืองแบบทวารวดีและมีการสร้างสถาปัตยกรรมเขมรในระยะหลังเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ทางทิศใต้ยังพบอาคารมณฑปแบบทวารวดีขนาดใหญ่ และมีการพยายามเปลี่ยนแปลงให้เป็นเทวาลัยเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพประมาณต้นศตวรรษที่ 18 แต่ไม่สำเร็จ และทางทิศตะวันตกของเขาคลังนอก พบกลุ่มโบราณสถานที่มีลักษณะเป็นกำแพงอิฐล้อม ซึ่งกำลังดำเนินการขุดค้น ณ ต้นปี 2565 เป็นต้น และที่พลาดไม่ได้คือไอติมรูปโบราณที่ใครได้มาเยือนต้องชิมถ่ายรูปเชคอินกัน

การเดินทาง เมืองศรีเทพอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ประมาณ 130 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 21 (เฉลิมพระเกียรติ-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00–16.30 น. โทร. 0-56921-322, 0-56921-354 จากกรุงเทพเมื่อมาถึงสามแยกพุแคให้เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 21 (เฉลิมพระเกียรติ-หล่มสัก) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 102 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 2211 ไปอีกประมาณ 9 กิโลเมตรจะเห็นป้ายบอกทางเข้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพอยู่ด้านขวามือ

นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดให้มาเยี่ยมเยือนด้วยตาสร้างความภาคภูมิใจว่าประเทศไทยยังคงมีสิ่งดีๆที่ทั่วโลกล้วนยอมรับ ขึ้นทะเบียนโดยUNESCO "มหัศจรรย์ แสง สี ณ ศรีเทพ สู่มรดกโลก"(The Magical SI THEP to World Heritage)  เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างการรับรู้แก่สาธารณชน ถึงความสำคัญและความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ อีกทั้งเป็นการส่งต่อการอนุรักษ์ไว้ให้ถึงชนรุ่นหลัง และการแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยสู่ระดับสากล